เปรียบเทียบผลการฉีดยาชาระหว่างวิธีฉีดใต้ผิวหนังครั้งเดียวกับวิธีดั้งเดิม


ปกรณ์ นาระคล, ธวัชชัย เทียมกลาง, วัชระ ปิ่นประภากรณ์
โรงพยาบาลขอนแก่น

วัตถุประสงค์
- เพื่อเปรียบเทียบผลการฉีดยาชาระหว่างวิธีฉีดใต้ผิวหนังครั้งเดียวกับวิธีดั้งเดิม

วิธีการศึกษา
- การศึกษานี้เป็น Randomized double-blinded study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่บาดเจ็บบริเวณนิ้วมือที่ได้รับการรักษาที่แผนก อุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 80 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 ราย สุ่มผู้ป่วยเพื่อเลือกวิธีฉีดยาชาและสุ่มแพทย์ผู้ทำหัตถการ วัดผลความชาด้วยวิธี pin-prick sensation หลังฉีดยาชาที่เวลา 3 และ 5 นาที ตามลำดับ และวัดความสำเร็จของการทำหัตถการ รวมทั้งระยะเวลาของการผ่าตัดด้วย

ผลการศึกษา
- กลุ่มศึกษาทั้ง 2 กลุ่มนั้น มีการกระจายตัวของประชากรที่ไม่แตกต่างกันไม่ว่าด้านเพศ อายุ ตำแหน่งของบาดแผล ลักษณะบาดแผล หัตถการที่ทำ ตลอดจนแพทย์ผู้ทำหัตถการก็มีการกระจายที่ใกล้เคียงกันและผลการฉีดยาด้วย วิธีดั้งเดิมและวิธีใหม่นี้มีเพียงการชาที่ด้านฝ่ามือ ในเวลา 3 นาทีเท่านั้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการชาหลังฉีดยา 5 นาที รวมทั้งความสำเร็จในการทำหัตถการ ทั้งสองวิธีนั้นต่างก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด



จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร


หมายเลขบันทึก: 69688เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท