ครู กับ การเห็นคุณค่าตนเองของนักเรียน


นักเรียนพร้อมที่จะทำให้ความคาดหวังของครูเป็นผลสำเร็จเมื่อนักเรียนชอบครูและนักเรียนรู้ว่าครูก็ชอบนักเรียน

  จากการวิจัยพบว่า     นักเรียนที่เห็นคุณค่าตนเองสูง    จะมีปัญหาทางพฤติกรรมน้อยและ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูง

ครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง ในการที่จะสร้างเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเอง  ในการเสริมสร้างให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองนั้น    นอกจากจะสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้นักเรียนแล้ว ยังทำให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น     เพราะครูสามารถสร้างสัมพันธภาพ ที่อบอุ่นและใกล้ชิดกับนักเรียนได้   โดยอาศัยคุณลักษณะ   3  ประการของครู คือ          
      
1.  การยอมรับความเป็นตัวตนของนักเรียน           
      
2.  ความจริงใจ
    
3.  ความร่วมรู้สึก    
การยอมรับ
   หมายถึง   การชอบผู้นั้นอย่างจริงใจ ให้การยกย่อง และยึดถือความเชื่อที่ว่า คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้     คนแต่ละคนต่างกันเพราะเขามีที่มาที่แตกต่างกัน    
ความจริงใจ
  หมายถึง  การเป็นตัวตนที่แท้จริงโดยไม่เสแสร้ง    
ความร่วมรู้สึก
  หมายถึง  การที่เราสามารถจะเข้าใจว่าเราจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราเป็นอีกบุคคลหนึ่ง โดยการพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ที่แฝงอยู่ภายใต้คำพูดของคนๆนั้น เมื่อนักเรียน    รู้ว่า ครูเข้าใจความรู้สึกของตน นักเรียนจะยอมรับการชี้นำของครู  นักเรียนมีแนวโน้มอยากทำอะไรให้ดีขึ้นเมื่อนักเรียนชอบครูและนักเรียนรู้ว่า ครูก็ชอบนักเรียน

ครูควรสำรวจพฤติกรรมของตนในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ดังนี้
 

*  ท่านใช้อากัปกริยาแบบปิด เมื่อพูดคุยกับนักเรียน เช่นใช้มือกอดอก นั่งไขว่ห้าง หรือไม่
*  ท่านสบตากับนักเรียนหรือไม่
ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำหรือไม่
น้ำเสียงของท่านแข็งกระด้างหรือไม่
ท่านใจลอย ว้าวุ่นใจหรือไม่
ท่านคาดเดาความรู้สึกของนักเรียนขณะพูดคุยอยู่กับท่านได้หรือไม่

ท่านถอดความจากคำพูดของนักเรียนเพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกร่วมได้หรือไม่
* นักเรียนรู้ว่าท่านเป็นคนแบบใดหรือไม่
 *  ท่านสื่อให้รู้ว่าท่านให้ความสนใจ และยอมรับตัวตนของนักเรียนในฐานะ  
     บุคคลคนหนึ่งหรือไม่
*ท่านเปลี่ยนความคิดเชิงลบให้เป็นเชิงบวกได้หรือไม่

 ท่านใช้ถ้อยคำในเชิงบวกอย่างหลากหลายหรือไม่    
ท่านสื่อให้นักเรียนรู้ว่า ท่านมั่นใจในความสามารถในการเรียนของนักเรียน     
   หรือไม่
* ท่านสื่อว่าท่านคาดหวังว่านักเรียนจะประพฤติตนอย่างเหมาะสมหรือไม่
*   ท่านสื่อให้รู้ถึงความคาดหวัง โดยไม่ใช่ การออกคำสั่งและ การสั่งสอน

   ได้หรือไม่
* ท่านกระตุ้นให้นักเรียนคิดอย่างอิสระได้หรือไม่
            
ถ้าครูหมั่นสำรวจตนเอง  ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง  พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ  มีความใกล้ชิดกับนักเรียน รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ไม่ละเมิดสิทธิส่วนตัวของนักเรียน   เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับบ้านของนักเรียน     โดยครูทำให้นักเรียนไว้วางใจว่าครูสามารถรักษาความลับของเขาได้ ครูได้พบนักเรียนทุกวัน (มีกิจกรรมในการพบที่ไม่ซ้ำซาก)
          
ครูที่จะสามารถทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองได้นั้น    สัมพันธภาพ ระหว่างครูและนักเรียนจะต้องเป็นไปอย่างดีเยี่ยม       ครูจะต้องใช้ศักยภาพของตนอย่างรอบด้าน      ประกอบกับความเสียสละ    แรงกาย    แรงใจ อย่างเต็มที่        จนกระทั่งนักเรียนเห็นว่าครูยอมรับในคุณค่าของพวกเขา      ผลตอบแทนที่ครูจะได้รับก็คือ    การได้เห็นพัฒนาการของนักเรียนทั้งด้านพฤติกรรม    ความคิด   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ตลอดจนความรู้สึกดีๆที่นักเรียนมีต่อครู   และนักเรียนพร้อมที่จะทำให้ความคาดหวังของครูเป็นผลสำเร็จ                *****************************************************************                แนวคิดจากหนังสือ  เสริมสร้างการรู้ค่าตนในห้องเรียน  (Enhancing Self-Esteem in the Classroom)     เขียนโดย เดนิส ลอว์เรนซ์      แปลโดยนักแปลเครือข่ายกรมวิชาการ

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 69673เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
   ครูมีความรักความจริงใจต่อนักเรียนหรือไม่เพียงใด  เป็นสิ่งที่นักเรียนสัมผัสได้ทางความรู้สึกส่วนลึก   พฤติกรรมของครูที่ปฏิบัติต่อนักเรียนจึงไม่สามารถปกปิดเขาได้เลย  ถ้าเขาได้สัมผัสความรัก  ความเมตตา  จะเป็นความอบอุ่นที่เขาจะตราตรึงและรักคุณครูเชื่อฟังคุณครูคนนั้นตลอดไป  ในทางตรงกันข้ามถ้าเขาสัมผัสกับความเสแสร้งเขาก็จะจารึกทางด้านลบกับคุณครูท่านนั้นเช่นกัน

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ว่ามีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่สับสน ไม่สามารถรับรู้และมองเห็นคุณค่าของตนเอง อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางครอบครัว และประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำลายตนเอง ทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อมทางสังคมโดยไม่รู้ตัว และรู้เท่าไม่ถึงการ มีพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องของคุณค่าทางความรู้สึก ได้ทำร้ายและทำลายความรู้สึกเคารพคุณค่าตนเองของเด็กๆที่รัก โดยเข้าใจผิดว่าเป็นวิธีการที่ทำด้วยความหวังดี เช่นการเปรียบเทียบเด็กกับคนอื่นให้เขารู้สึกด้อย โดยหวังว่าเด็กจะมีแรงฮึดแข่งขัน โดยลืมไปว่าเด็กได้สูญเสียความศรัทธาในตนเองไป และยิ่งกว่านั้นผู้ปกครองทำลายความรุ้สึกที่ดีของเด็กเพื่อระบายอารมณ์ส่วนตัว ครูเป็นที่พึ่งทางหนึ่งของเด็ก แต่ครูจำนวนมากก็รู้เท่าไม่ถึงการ เช่นเดียวกับผู้ปกครอง เด็กไทยจำนวนมากจึงสับสน และมีพฤติกรรมเบียงเบนไปหลายๆทาง ทั้งการพึ่งสิ่งเสพติด ความรุนแรง และความฟุ้งเฟ้อทางสังคม

ประเด็นนี้ เป้นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดที่เราควรเอาใจใส่

ดีใจที่มีผู้พูดเรื่องนี้ ผู้เขียนโดยส่วนตัวเห็นว่า เรื่องการสร้างความศรัทธาในตนเอง และการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นทางแก้ปัญหาเยาวชนที่ถูกทาง และจำเป็นต้องได้รับการดำเนินการให้เป้นจริงเป็นจังที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท