วงสนทนาว่าด้วยการเลือกตั้ง


เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

เมื่อวานหลังเลือกตั้งและวันนี้ก่อนใส่บาตร ผมได้ซักถามถึงการเลือกตั้งกับอาจารย์ รปศ. เกี่ยวกับการเลือกตั้งหลายคนบอกว่าเป็นกึ่งเผด็จการและความไม่ครบส่วน กล่าวคือ ๑) ในใบเลือกตั้งไม่มีช่องสำหรับให้เลือกที่จะไม่ออกเสียง ๒) กรณีที่เราเลือกไม่ครบทั้ง ๘ คน (กรรมการฝ่ายคณาจารย์) บัตรไม่น่าจะเสียเนื่องจากเป็นสิทธิ์ที่เราพอใจจะเลือกใครก็ได้ ๓) ไม่ควรบังคับให้เลือกทั้ง ๘ คน

   ในส่วนตัวผม ผมก็คิดไปอีกทางคือไม่ยึดติดกับรูปแบบที่คนเขาทำ และเข้าใจใหม่ว่า ที่นี่เขาเป็นอย่างนี้ ที่โน้นเขาเป็นอย่างโน้น ที่นั้นเขาเป็นอย่างนั้น แม้การบังคับเลือกในความรู้สึกผม ผมไม่เห็นด้วย อีกอย่างหนึ่ง บางคนเกรงว่า การไม่เลือกประธานจะเป็นผลให้บัตรอื่นเสียด้วย จากข้อสรุปของการพูดคุย พบว่า ๑) อะไรคือประชาธิปไตย เราคือส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย เราจะทำอย่างไรกับตัวเรา ๒) กติกา ความเป็นกลางที่สุดคืออะไร ทุกคนเห็นความสำคัญของกติกานั้นอย่างไร เหมือนกันหรือแตกต่างกันออกไป ในข้อนี้กติกาน่าจะยุติได้ด้วยความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ (เอกฉันท์ในความหมายนี้คือ ไม่มีคนใดแม้แต่คนเดียวคัดค้าน เพราะถ้ามีการคัดค้านไม่ถือว่าเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น เอกฉันท์จึงไม่ใช่เสียงข้างมาก ถ้าเป็นเสียงข้างมากเราน่าจะใช้คำว่า พหุฉันท์)

   เราผู้เป็นอาจารย์อย่าสำคัญตัวว่า เรารู้ทุกอย่างและเข้าใจถูกต้องทุกอย่าง คำว่าถูกต้องแน่ใจหรือไม่ว่า "นิรันดร์" นอกจากนั้น แบบอย่างที่ดีเป็นอย่างไร ผู้เป็นอาจารย์จำนวนหนึ่งที่เป็นมาหลายปี มิได้เป็นแบบอย่างที่ดี (ตามสังคม) ให้กับผู้ใหม่ได้ ข้อนี้น่าตระหนัก จะได้ไม่ต้องคร่ำครวญกันว่า พวกน้องๆ ไม่แสดงความเคารพ....เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

คำสำคัญ (Tags): #บันทึกความคิด
หมายเลขบันทึก: 69626เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องถามว่าประชาธิปไตยของใคร

ถ้าคนส่วนใหญ่ เขาว่า ก็น่าจะเป็นประชาธิปไตย

แต่สมัยใหม่ เขาว่า คนตัวใหญ่ถึงจะเป็นประชาธิปไตย

ทำไมเราถึงไม่ได้เป็นคนส่วนใหญ่และคนตัวใหญ่น้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท