การส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ4


สุขนิสัยและสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพที่จะต้องมุ่งปรับเปลี่ยนและรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จของแนวคิดการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

การลดพฤติกรรมเสี่ยง-สุขนิสัยและสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ

           ไม่ว่าการเข้าใจและแรงขับเคลื่อนในนโยบายหรือยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนเข้าสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจะมีมากเพียงใดก็ตาม แต่หากไม่มีความเข้าในถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนไปสู่พฤติกรรมแห่งการส่งเสริมสุขภาพแล้ว  แนวคิดเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพก็ดูเหมือนไร้ค่า และไร้ผล จะมีก็เพียงคำพูดและคำบรรยายที่สวยหรูเพียงอย่างเดียว               

          สุขนิสัยและสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพที่จะต้องมุ่งปรับเปลี่ยนและรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จของแนวคิดการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพให้เกิดสุขภาวะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จของแนวคิดการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่

         1.       พฤติกรรมการกิน

                 เป็นพฤติกรรมที่สำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง  การรณรงค์เรื่องโภชนาการที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด ชนิดของอาหาร วิธีการปรุง ความสมดุลของอาหารการลดเค็ม การงดการเติมผงชูรส จำนวนปริมาณแคลอรี่ที่พอเหมาะและอื่นๆจำเป็นต้องได้รับการรณรงค์อย่างต่อเนื่องในชุมชน

         2.       พฤติกรรมดูแลความสะอาดส่วนบุคคล 

                 เป็นสิ่งที่ต้องให้ความรู้และรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนในชุมชนเพื่อลดโรคผิวหนังและแพร่กระจายของการติดเชื้อราทางผิวหนัง

         3.       พฤติกรรมการขับถ่าย

                 สุขนิสัยการใช้ส้วมของคนไทยได้รับการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและโครงการหลายอย่างได้รับการตอบสนองที่ดีในระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมาทำให้ปัจจุบันการไม่ใช้ส้วมของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ต่ำและประชาชนมีความรู้สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม การรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และการปรับปรุงคุณภาพส้วมก็จำเป็นในอีกระดับหนึ่ง

         4.       พฤติกรรมการออกกำลังกาย

                การออกกำลังกายเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ การรณรงค์และการค้นหาวิธีออกกำลังกายที่สนุกและทำได้เป็นประจำ 30 นาทีต่อ3วันในหนึ่งสัปดาห์จะทำให้มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพที่ได้ผลอย่างที่สุด

         5.       พฤติกรรมการพักผ่อนและผ่อนคลายด้านจิตใจ 

                เป็นสิ่งที่ต้องจัดการรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมการผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะในชุมชนทุกวันนี้มีปัญหามากมายส่งผลต่อความสามารถของชุมชนเช่นพฤติกรรมการเรียนรู้ ความอ่อนโยน ความเป็นมิตร ความสามัคคี และสุขภาพทางร่างกาย

         6.       พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด 

                การเสพยาเสพติดเป็นสิ่งที่ต้องไม่ให้มีในชุมชนอย่างเด็ดขาด ส่วนสิ่งเสพติดอื่นๆที่เป็นพฤติกรรมดั้งเดิมต้องค่อยๆรณรงค์และให้ความรู้ค่อยเป็นค่อยไปจนประชาชนในชุมชนสามารถละเลิกได้

         7.       พฤติกรรมการบริโภคสิ่งไม่คุ้มค่ากับเงินซึ่งมีประโยชน์น้อย

                เช่นน้ำอัดอม หมากฝรั่ง ขนมใส่สีและปนเปื้อนสารเคมีเป็นต้น เป็นสิ่งที่ควรรณรงค์ไม่ให้ชาวชุมชนและเด็กๆในชุมชนต้องเป็นเหยื่อของการโฆษณา เพราะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยและบั่นทอนต่อสุขภาพในส่วนต่างๆของร่างกายในระยะยาว

         8.       พฤติกรรมการดูแลสายตา หู ช่องปาก

                การทนุถนอมสายตาและ หู อาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ความจริงปัญหาเรื่องตาเช่นต้อกระจก หูตึงเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในชุมชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันได้หากรณรงรงค์ให้ประชาชนดูแลอย่างถูกวิธี

          9.       พฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว

                เช่น ขยะ แหล่งน้ำ  เป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้ชาวชุมชนที่สุขนิสัยที่ดีในการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในบริเวณบ้านและสิ่งแวดล้อมของส่วนรวม

          10.    การดูแลสภาพบ้านเรือนและรอบบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพที่น่าอยู่ 

                 เป็นสุขนิสัยที่หากชุมชนสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะทำให้ชุมชนน่าอยู่อาศัยแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมการรักความสะอาดซึ่งเป็นพื้นฐานของการส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย 

                                                            มีต่อ

หมายเลขบันทึก: 69569เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท