ชีวิตจริงอินเทอร์น : รางวัลโนเบล กับ การสอนให้ศิษย์คิดสร้างสรรค์


หน้าที่ของคนที่เป็นครูไม่ใช่เพียงแค่สอนให้ศิษย์รู้วิชาเท่านั้น หากแต่ยังต้องเตรียมการณ์ให้กับลูกศิษย์ด้วยว่าสังคมในอนาคตที่ลูกศิษย์ของตนต้องเผชิญนั้นเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนี้ครูจึงต้องเป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้ในเรื่องต่างๆ ตลอดจนสนใจความเป็นไปของโลกด้วย

การได้รับฟังความคิดจากท่านผู้รู้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสร้างภาพเกี่ยวกับอนาคตได้ดีขึ้น เป็นการ “คว้า” ความรู้จากภายนอกเข้ามาช่วยทบทวนและตรวจสอบวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทางโรงเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน

อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองที่สนใจในแนวทางของโรงเรียนอยู่แล้ว ให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น เพราะมีแนวคิดและงานวิจัยทางการแพทย์มาสนับสนุนว่าสอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง

นพ.อุดม เพชรสังหาร ได้นำเสนอคุณลักษณะของคนที่สังคมอนาคตต้องการ ไว้ว่า
- เป็นคนที่แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีความรู้รอบด้าน
- คิดเป็น คิดอะไรใหม่ๆได้ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดโดยใช้เหตุผลรอบด้าน คิดเชื่อมโยง และคิดสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้
- จัดการความคิดเป็น จัดระบบความคิดเป็น และใช้ประโยชน์จากความคิดได้
- อยู่ร่วมกับคนอื่นได้

ข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การศึกษาวิจัยเพื่อหาคุณลักษณะร่วมของผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล ตั้งแต่คนที่ ๑ – ๒๐๐ ที่ทางมูลนิธิโนเบลจัดทำขึ้นเมื่อปี ๒๐๐๑ นั้น ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า

คนที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ คือคนที่
- กล้าคิดอะไรใหม่ๆโดยสิ้นเชิง
- กล้าตั้งคำถามกับ “ความรู้” หรือ “ทฤษฎี”ที่มีอยู่ก่อน
- สร้างความเข้าใจในสิ่งนั้นๆจากมุมมองของหลายๆศาสตร์

Nobel Foundation, 2001
Culture of Creativity

เมื่อได้รู้อย่างนี้แล้วจึงหันกลับมาทบทวนหลักการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเพลินพัฒนา ว่ากำลังเดินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับอนาคตอย่างไร หรือไม่

๑. จัดการศึกษาอยู่บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู โดยผสมผสานหลักการ แนวคิด และนวัตกรรมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
๒. ให้เด็กแต่ละคนเกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ อย่างสมดุลรอบด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
๓. สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือกระทำ ได้สัมผัส จับต้องของจริง เพื่อกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสรับรู้ ให้มีความเฉียบคมฉับไว
๔. ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อเป็นฐานในการเชื่อมโยงความรู้ โดยคำถึงถึงธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยเป็นหลัก
๕. ส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์
๖. สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
๗. สร้างโอกาสให้เด็กได้ค้นพบ และเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง
หลักการทั้ง ๗ ข้อนี้ สอดรับกันได้ดีกับเป้าหมายการสร้างคนให้กับสังคมในอนาคต และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์ให้เติบโตเต็มตามศักยภาพ

ในการสร้างเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ ช่างประดิษฐ์คิดค้นอะไรด้วยตัวเองนั้น อาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา กรรมการที่ปรึกษาของโรงเรียนได้แนะนำว่า ต้องอาศัยครูกระตุ้นความคิด ด้วยการตั้งคำถามในลักษณะที่เปิดกว้าง ชี้ชวนให้ตอบอย่างอิสระ ไม่มีคำว่าผิดหรือถูก ตามแบบอย่างที่นักการศึกษาชาวตะวันตกเรียกว่า Divergent Thinking ซึ่งตรงกันข้ามกับคำถามซึ่งต้องการการตอบคำถามอันเป็นข้อมูลเดียว หรือ Convergent Thinking ดัง ๒+๒ เป็น ๔

ดังนั้น ท่านจึงได้แนะนำให้ทางโรงเรียนเพลินพัฒนา จัดกระบวนการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับการฝึกให้เด็กคิดเป็นมากขึ้น แทนที่จะให้ความสำคัญกับเนื้อหาอย่างที่เคยเป็นมา

หมายเลขบันทึก: 69500เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่าดีใจแทนเด็กโรงเรียนเพลินพัฒนาจังเลยที่มีคุณครูคอยจัดกระบวนการเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กได้ใช้แสดงความสามารถให้คนอื่นรับรู้

ขอโอกาสนี้ สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าคะ ขอให้ครูใหม่มีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขตลอดปีและตลอดไปคะ

ผมดีใจมากครับที่คุณครูมีอุดมการณ์ เพราะส่วนหนึ่งของการสอน คือ การเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ของลูกศิษย์ด้วย....แต่จะปรับใช้อย่างไรกับกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและมีศักยภาพเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

เพลินพัฒนากับกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่การคิดเป็น

        เป็นกระบวนการที่ทำให้ชีวิตผู้คนแกร่งขึ้นอย่างมีความหมาย  

            ยินดีกับการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบคุณสำหรับทุกข้อคิดเห็นนะคะ และขอฝากความปรารถนาดีมายังทุกท่านเนื่องในดิถีขึ้นปีใหม่ที่จะถึงด้วยค่ะ สำหรับข้อแนะนำของ คุณ น.เมืองสรวง นั้น เป็นเรื่องที่คุณครูทุกคนพยายามทำกันอยู่ และเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของดิฉัน และฝ่ายวิชาการ ที่ต้องทำหน้าที่ในการ"คว้า" ทั้งความรู้และสถานการณ์ปัจจุบันมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กให้มากที่สุดค่ะ หากมีประเด็นใดที่อยากจะแนะนำ เชิญได้ทุกเมื่อนะคะ เพราะทุกความเห็น และทุกมุมมองที่มีต่ออนาคต ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของเด็กๆทั้งสิ้นค่ะ

Mai, Guess who?

 

ดีใจจังที่เจอเธอในนี้

 

ฉันเพิ่งได้ฤกษ์มาเขียน  หลังจากมาเปิดบ้านทิ้งไว้เสียนาน

 

บทความเยี่ยมมาก ๆ เลย

 

ต้องขอแวะมาเติมความรู้ด้วยบ่อย ๆ แล้ว

 

ยิ่งตอนนี้กำลังติดขัดเรื่องทฤษฎีสังคมวิทยาอยู่

 

เพราะเราไม่ได้เรียนตรีและโทด้านนี้มาไง

 

แต่ซ่าจะมาต่อเอกด้า่นนี้

 

เลยเฉาไปตามระเบียบ  ฮี่ ๆ 

 

คราวนี้่รู้แล้วว่าจะถามใครดี ฮิ ๆ 

 

สวัสดีจ้า,

 

จ๋อม 

 

ป.ล.  สำหรับเรื่องบทความนี้  ฉันว่าสิ่งที่คนที่ได้รัีบรางวัลโนเบลทุกคนมีร่วมกัน  คือ

"คนที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ คือคนที่
- กล้าคิดอะไรใหม่ๆโดยสิ้นเชิง
- กล้าตั้งคำถามกับ “ความรู้” หรือ “ทฤษฎี”ที่มีอยู่ก่อน
- สร้างความเข้าใจในสิ่งนั้นๆจากมุมมองของหลายๆศาสตร์"

 นี้นั้น  พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงมีทุกข้อเลยนะ  ใหม่ว่าไหม?

 

ยินดีที่ได้พบกันในมุมนี้จ้ะ และเห็นด้วยกับจ๋อมทุกข้อที่กล่าวมา แล้วแวะมาอ่านอีกนะ อยากมีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อยอดความคิดออกไปอีกเรื่อยๆ ตอนนี้อยู่เมืองไทยหรืออยู่ญี่ปุ่นล่ะ แล้วพบกันใหม่นะ ใหม่

สวัสดีครับ

เข้ามาอ่านตามคำแนนำของหนูณัชรครับ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่น่าสนใจมาก ขออนุญาตมาเยือนเรื่อยๆนะครับ

     ตามคุณณัชร มาเหมือนกันค่ะ อยากให้มี รร.แบบนี้เยอะๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท