วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ตอนที่ 3 รู้จักดูให้เป็น รู้จักใช้ให้เป็น และรู้จักปรับให้เป็น


การพัฒนาตนเองให้เรียนรู้ เป็นความใฝ่ฝันที่ควรไปให้ถึง เพื่อเราจะได้ทำเป็นอย่างแท้จริง

                เวทีของการเรียนรู้  มีอยู่ทั่วทั้ง 76 จังหวัด ที่กรมส่งเสริมการเกษตรดูแลรับผิดชอบภายใต้การปฏิบัติงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ เพียงแต่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า...ตกลงแล้วเราจะเลือกงานทำให้กับตนเองอย่างไร? และเราจะเลือกเรียนรู้อะไร? ที่เป็นอาชีพของเราเอง               

               เมื่อวันที่ 1-2  ธันวาคม  2549  ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมงานมหกรรม KM แห่งชาติ ครั้งที่ 3  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 2  ธันวาคม 2549  ณ ไบเทค บางนา  กรุงเทพมหานคร  ทำให้ดิฉันได้ได้ไปดู ไปพบ ไปเห็น ไปฟัง และไปสัมผัส กับเนื้อหาสาระ ความรู้ และผู้คนที่อยู่หรือเกี่ยวข้องกับงาน จัดการความรู้ หรือ KM” โดยเฉพาะได้รับรู้การจัดกิจกรรมที่เป็นระดับประเทศเป็นการจัดงานใหญ่ ๆ ซึ่งตัวเราเองนั้นมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อยนิด               

               แต่การไปร่วมงานในครั้งนี้ ดิฉันไปอย่างคนมีหน้าที่ที่จะต้องทำโดยทั้งเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ หมายความว่า  ผู้ให้ คือ  ช่วยหน่วยงานจัดนิทรรศการ  เป็นผู้นำเสวนา Best Practice เรื่อง ส้มเขียวหวาน ของจังหวัดมุกดาหาร  และให้กำลังใจทีมงาน ซึ่งเป็นพวกเราเองและเพื่อน ๆ (คอเดียวกัน)  ส่วน ผู้รับ คือ ได้ฝึกตนเองในบทบาทของผู้นำเสวนาบนเวทีเรื่อง ส้มเขียวหวาน  ได้ฝึกถอดบทเรียนจาก Best Practice  ได้ประเมินผลตนเองกับเวทีเรียนรู้ต่าง ๆ (สากล)  ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้กับงานที่ทำด้านการจัดการความรู้กับหน่วยงานต่าง ๆ กับเพื่อนๆ และสมาชิก (คอเดียวกัน) และที่สำคัญคือ ได้ไปเปิดวิสัยทัศน์และสมองกับโลกภายนอกเพื่อเติมเต็มประสบการณ์ของตนเอง               

                เมื่อเสร็จสิ้นงานดังกล่าวผลพวงของประสบการณ์และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นได้นำไปใช้กับงานในทันที ซึ่งเรื่องแรกก็คือ  เรื่องการนำเสวนา (วันที่ 21 ธ.ค. 49... กับ Best Practice ของแปลงสินทรัพย์เป็นทุน    จังหวัดเชียงใหม่)  เรื่องที่สองก็คือ  เรื่องการจัดสวน (วันที่ 22 ธ.ค. 2549...กับ การเป็นผู้ช่วยจัดสวนหย่อมเล็ก ๆ ของคลินิกเกษตร    จังหวัดสุพรรณบุรี)  เรื่องที่สามก็คือ  เรื่องการสรุปผลงานปี 2549 เป็น แฟ้มสะสมประสบการณ์...สู่การเรียนรู้  เรื่องที่สี่ก็คือ  นำมาประกอบในการเขียนงานที่จะทำในปี 2550 “เรื่องการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในงานส่งเสริมการเกษตร  และ เรื่องที่ห้าก็คือ  นำแนวทางต่าง ๆ ที่ไปพบเห็นแต่ละรูปแบบและแต่ละลักษณะมาประยุกต์ใช้เป็นของตนเองเพื่อ สรุปบทเรียน ที่เกิดขึ้นกับการทำงานที่ผ่านมาเป็น “เรื่องคลังความรู้ของตนเอง                

                ฉะนั้น  การศึกษาดูงาน  การสังเกตการณ์  การปฏิบัติจริง  และการสนทนา  จึงมีประโยชน์ให้กับทุก  ๆ คน เพียงแต่ว่า คน ๆ นั้นจะรู้จักหยิบอะไรไปใช้บ้าง?   ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นของที่มีคุณค่าถ้าเรา รู้จักดูให้เป็น  รู้จักใช้ให้เป็น  และรู้จักปรับใช้ให้เป็น.

           (วันที่ 1-2 ธ.ค. 49  ณ  ไบเทค บางนา  กรุงเทพมหานคร...ตัวแบบเรียนรู้)

    49122601.gif              49122602.gif

     * นำเสวนาในงานมหกรรม KM แห่งชาติครั้งที่ 3 เรื่องส้มเขียวหวาน

        (วันที่ 20-21 ธ.ค. 49  ณ  จังหวัดเชียงใหม่)

          49122605.gif          49122606.gif

     * วิทยากรหลักเรื่องแปลงสินทรัพย์เป็นทุนรับผิดชอบกลุ่มสีม่วง จำนวน 40 คน

         (วันที่ 22 ธ.ค. 49  ณ  จังหวัดสุพรรณบุรี)

     49122604.gif            49122603.gif      

     * คลินิคเกษตร  ส่วนหนึ่งของงานครัวสายใยรักแห่งครอบครัว

หมายเลขบันทึก: 69489เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ
  • ห่างหายไปนาน แวะมาทักทายครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท