ข้อมูลส่วนตัว ขอกันได้ง่ายจัง ?


เมื่อวานมีกระดาษเวียน  1 แผ่น   เป็นกระดาษจริงๆ ค่ะ  ไม่ใช่หนังสือเวียน   เพราะไม่ระบุหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของ      ในกระดาษระบุว่าขอทราบข้อมูลเหล่านี้.....เพื่อทราบถึงสภาวะสุขภาพของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล     
.
ข้อมูลที่ว่าคือ   ชื่อ  อายุ   เพศ   น้ำหนัก   และส่วนสูง     แต่ละคนกรอกข้อมูลไป  บ่นไป   ว่าใครนะเป็นคนขอข้อมูล   และขอไปทำอะไร   (หมายถึงถ้าทราบข้อมูลพวกนี้แล้วจะทำอะไรต่อ)    ก็รู้ๆ  กันอยู่ว่า   ข้อมูลพวกนี้นะ   โดยเฉพาะ  อายุและน้ำหนัก   สาวๆ   เค้าไม่อยากจะบอกกันหรอก     (มันแสลงใจ) 
.
อันที่จริงน่าจะมีวิธีที่ดี   ที่จะจูงใจให้เจ้าของข้อมูล    กรอกข้อมูลให้ด้วยความเต็มใจ     อย่างเช่นจัดกิจกรรมวัดสมรรถภาพของร่างกายที่   ภาควิชาพยาธิวิทยาจัดขึ้นปีละครั้ง  (จัดมาสองปีแล้ว)      ขอชมคนกันเองว่า     เป็นกิจกรรมที่ดีมาก   ได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน  ทั้งอายุ  ส่วนสูง น้ำหนัก   ความหนาของผิวหนัง (ไขมันที่ซุกซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้า)   และทราบถึง "สมรรถนะทางกายภาพ"  ของผู้เข้าร่วมทดสอบ  ทุกคนเต็มอกเต็มใจ  เข้าร่วมการทดสอบและให้ข้อมูล   อย่างสนุกสนาน    เรียกว่าใครไม่ทำเป็นอัน "ตกเทรน"
.
อีกกิจกรรมหนึ่งที่ดี   (จัดโดยคณะแพทย์ ฯ)  คือ  "1  mile walk test"     มีการให้เดินเร็วเป็นระยะทาง 1 ไมล์   และวัดชีพจร   ก่อนและหลังเดิน     และนำข้อมูลไปคิดเป็น index โดยใช้อายุและน้ำหนักเป็นปัจจัยร่วมด้วย    กิจกรรมนี้เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่  ชอบกันมากค่ะ   เพราะได้ข้อมูลมาอวดกันว่า    ทดสอบแล้ว  ได้ดี   ปานกลาง   หรือต้องปรับปรุง  (มีการเกทับกัน  เป็นที่สนุกสนาน)
.
แม้จะสงสัยว่า   แบบสำรวจข้อมูลที่ว่าไว้ข้างต้น   เป็นการล้วง  ข้อมูล  "ส่วนตัว"   แต่ก็เห็นว่าหลายคนกรอกข้อมูลให้   (เพราะคิดว่าคนขอข้อมูลน่าจะเป็นคนกันเอง  คณะแพทย์ของเรา)   กรอกไปบ่นไปว่า    ต่อไปถ้าเค้าขอข้อมูล "สัดส่วน"    พวกเราจะหลวมตัวบอกไปมั๊ยเนี่ย........
หมายเลขบันทึก: 69391เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ทางโรงพยาบาล เป็นคนขอค่ะ เขามีนโยบายให้ภาควิชา/หน่วยงาน สร้างเสริมสุขภาพ และตัวชี้วัดที่เขาจะใช้วัดในปีงบประมาณ 2550 นี้ คือ BMI  เพราะ one mile walk test มีคนเข้าร่วมจำกัด  หมอเสนอให้เขาทำ วัดสมรรถภาพแบบภาคเรา เขาก็บอกว่า ทำกับคนทั้งโรงพยาบาลลำบาก เลยออกมาเป็น BMI ซึ่งใช้แค่น้ำหนักและส่วนสูงในการคำนวณ คุณ nidnoi ติงมาก็ดี หมอจะส่งเฉพาะตัวเลข โดยไม่แนบระบุชื่อเจ้าของข้อมูล ขอบคุณค่ะ  

มองทั้งแง่ความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยนะคะ ขนาดใช้เครื่องชั่งน้ำหนักก็ยังต้องทดสอบความเที่ยงตรงก่อนเลย

อ่านบันทึกแล้วนึกถึงเรื่องที่เคยเป็นกลุ่มตัวอย่างข้อมูลเรื่องไขมันค่ะ ปรากฏว่าเครื่องชั่งน้ำหนักของนักวิจัยชั่งได้เกินไป 2-3 กิโลเกือบทุกคน พอกลุ่มตัวอย่างได้มาคุยกันและเห็นว่าผลการวิจัยจะผิดพลาดโดยเฉพาะเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาสาขาการพยาบาลในหลายสถาบัน ก็รีบไปเรียนอาจารย์ท่านเจ้าของโครงการวิจัย ปรากฎว่า ท่านบอกว่า "เก็บข้อมูลไปหมดแล้ว ถ้าต้องมาชั่งน้ำหนักใหม่จะเสียเวลา เอางี้ จะลบออกคนละ 3 กิโลละกัน" ก็เลยเรียนท่านไปว่า งั้นขอถอนตัวจากโครงการค่ะ.ไม่เกรงใจค่ะ ...ยิ่งถ้าเป็นในหน่วยงานเดียวกัน บางทีเพราะความเกรงใจกันในเรื่องให้ข้อมูล มีใบอะไรมาก็ช่วยๆกรอกๆไป ...ถ้าเป็นการทำวิจัยถือว่า เชื่อถือไม่ได้เลยนะคะ  ผิดจริยธรรมด้วยค่ะ

เรียน อ.ปารมี

อันที่จริงพวกเรายินดีให้ข้อมูลค่ะ 
ขอเพียงว่า   บอกที่มาที่ไป   ทำอะไรเพื่ออะไร   ใครเป็นคนขอมา    เท่าก็โอ...แล้วค่ะ

แต่....อาจจะได้ข้อมูลที่ไม่ค่อยอัพเดด  นะคะ   เพราะบางคนก็บอกน้ำหนักที่ชั่งเมื่อหลายเดือนก่อน (ซึ่งเบากว่าตอนนี้หลายกิโล)

ขอบคุณ  อ.จันทรรัตน์ ค่ะ  ที่มาให้ข้อคิดที่ดี

โชคดีค่ะ   ที่การขอข้อมูลครั้งนี้ไม่ไช่งานวิจัย   แต่เป็นนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ  อย่างที่ อ. ปารมี บอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท