ท่านชอบอะไร??? “คิดก่อนทำ” หรือ “ทำไปคิดไป”


ผมมีโอกาสได้คุยกับท่านหนุ่มชุมพรว่า บล็อกของ สคส ที่ประสพผลสำเร็จอยู่อย่างมากในขณะนี้ เกิดจากการวางแผนของท่านมากน้อยแค่ไหน ท่านหนุ่มชุมพร ตอบว่า วางแผน 1% บังเอิญ 99%

จากการทำงานที่ผ่านมา ผมพบว่า มีหลายๆ คนทำงานประสพผลสำเร็จได้ดีมาก ดังที่ผมเขียนไว้ในกลยุทธ์สามก๊ก

ที่มีหลากหลาย และมีส่วนคล้ายคลึงกันคือ

คิดวางแผนล่วงหน้าก่อนการทำงานทุกท่าน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การทำงานที่น่าสนใจมาก

ผมอยากขอแนะนำให้ทุกท่านไปอ่านอย่างน้อยสัก 3 จบนะครับ  แล้วท่านจะรู้ว่าชีวิตของท่านจะทำให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร มีข้อคิดมากมายเหลือเกิน ทั้งหลักบู๊และบุ๋น 

แต่บางคนบอกว่า

ตอนนี้คิดอะไรไม่ออก แต่ขอทำไปก่อน ก็เลยมีความคิดใหม่ว่า ทำไปคิดไป ตามหลักการเรียนรู้เราเรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทำไปปรับไป 

ดังนั้น ผมเลยมานั่งคิดว่า 2 กรณีดังกล่าวนี้ อย่างไหนดีกว่ากัน  

ส่วนตัวผมเอง ผมยังยกย่องหลักการ คิดก่อนทำ เพราะมีความมั่นคง และชัดเจน วางแผนได้ง่าย จัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับทรัพยากรได้ง่าย  

แต่อย่างว่าล่ะครับ บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

 

โดยเฉพาะเรื่องที่เราไม่เคยทำมาก่อน มันเป็นเรื่องยากครับ ที่จะคิดไว้ล่วงหน้า

ดังนั้น ในกรณีนี้จึงอยู่ในหลักการของการ คิดไปทำไป เป็นขั้นๆ ไต่ระดับไปเรื่อย 

061201 066.jpg

 อย่างเมื่อวันก่อน ผมมีโอกาสได้คุยกับท่านหนุ่มชุมพรว่า บล็อกของ สคส ที่ประสพผลสำเร็จอยู่อย่างมากในขณะนี้ เกิดจากการวางแผนของท่านมากน้อยแค่ไหน

ท่านหนุ่มชุมพร ตอบว่า วางแผน 1% บังเอิญ  99 

เห็นไหมครับ ขนาดท่านหนุ่มชุมพร ท่านยัง คิดไปทำไป เลยครับ 

 ผมลองมานั่งทบทวนว่าเราควรจะมียุทธศาสตร์ทั้งสองอย่างทำแบบผสมปนเปกันไป ตามแต่เหตุการณ์ความเหมาะสมที่จะเกิดขึ้น  

แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า เราต้องเริ่มที่คิดก่อนทำ แล้วจึงผสมผสานด้วย ทำไปคิดไป 

แต่ขอร้องเป็นการส่วนตัวนะครับ อย่าทำแล้วค่อยคิดนะครับ  

เพราะไม่มีประโยชน์อันใด มีแต่ เสียใจกับผิดหวัง  

ท่านคิดอย่างไรครับ ช่วยชี้แนะแด่กระบี่มือใหม่หัดขับ ด้วยครับ.... 

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

หมายเลขบันทึก: 69389เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 06:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ในฐานะนิสิตด้อยประสบการณ์นะครับ โดยมากผมจะวางแผนคราวๆไว้ก่อนนะครับ ส่วนการคิดไปทำไปนั้นผมใช้ประจำอยู่แล้วในรายละเอียดของงานครับ เพราะงานทุกชิ้นไม่สามารถวางแผนให้เสร็จได้เลย โดยไม่มีการคิดเสริมในระหว่างการทำงาน

ผมเรียนอาจารย์แสวง เช่นนี้นะครับ ผิดถูกอย่างไรโปรดชี้แนะ

เรียน อาจารย์ ดร.แสวง   รวยสูงเนิน

การทำงานที่ดีเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์นั้นเราต้องมีการวางแผนงานล่วงหน้าครับ และต้องมีอย่างน้อย 2 แผนงานจึงลงมือปฏิบัติจึงจะก่อให้เกิดผลสำฤทธิ์ที่ดี ผมขออนุญาตคิดแบบเปิดเผยดังนี้ครับ

1. การวางแผนงานหลัก(แผนในจินตนาการหรือในอุดมคติ) ก็แล้วแต่จะเรียกก็แล้วกันนะครับในความหมายก็คือว่าการวางแผนการทำงานล่วงหน้าตามขั้นตอนเพื่อให้มาซึ่งความสำเร็จ ซึ่งเป็นการวางแผนจากประสบการณ์ หรือหากไม่มีประสบการณ์ ก็อาจจะได้จากการไป Review ทั้งจากอกสาร และผู้รู้ หลังจากนั้นเราจึงเขียนเป็นขั้นตอนออกมา จนกระทั่งสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ 

2. แผนปฏิบัติการ (Action plan) เป็นการนำแผนที่เราได้วางไว้อย่างสมบูรณ์แล้วลงสู่การปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนหลัก ซึ่งในการปฏิบัตินั้นหากแผนหลักเราวางไม่ดีพออาจจะทำงานลำบาก ดังนั้นเราก็จะต้องทำไปปรับไป แต่หากเป็นการวางแผนที่รัดกุม ละเอียดรอบคอบก็จะทำให้การดำเนินงานเป็ไปตามแผนหลัก และบรรลุตามวัตถุประสงค์ หรืออาจกล่าวโดยสรุปก็คือว่าแผนปฏิบัติการเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่น ทำไปปรับไปตามตามสถานการณ์ แต่ให้สอดคล้องกับกรอบใหญ่ที่เราวางไว้สุดท้ายก็จะบรรลุผลตามมา

สรุป ในการทำงานเพื่อให้บรรลุผลที่ดี ประหยัดทั้งเวลา และหลายๆ อย่างที่เป็นองค์ประกอบนั้น จะต้องมีการวางแผนก่อนการดำเนินการครับ และแผนที่ดีก็ควรเป็นแผนที่มความยืดหยุ่น (Flexible) ด้วย

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

คุณบีเวอร์ คุณอุทัย

ที่ท่านเสนอมานั้น

ถูกต้องแล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์ 

  • ทำแล้วค่อยคิด .. ผมกลัวมากครับ .. เลยรอดมาได้จนทุกวันนี้
  • คิดวางแผนก่อนทำ .. เชื่อว่าอันนี้แหละ ใช่เลย การ คิดไปทำไป เป็นสิ่งควรหลีกเลี่ยง (เคยนึกว่าการติดยึดกรอบ เป็นเรื่องดี)
  • ทำไปคิดไป  ...  เมื่อก่อนว่าไม่ดี  ตอนนี้ทำบ่อยขึ้น ครับ เช่น เลิกวางแผนการสอน ชนิด ตีตารางว่าจะเรียน-สอนอะไรกันบ้างในวัน เวลาไหน .. มาเป็น วางแนวทางว่าจะให้เกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาไหน โดยประมาณ และคิดทางเลือกว่า จะให้เกิดผลอย่างนั้นๆ ต้อง ทำงาน  อะไรกันบ้าง .. แล้วก็ไปคุยกับผู้เรียนว่าแค่ไหนจึงจะพอเหมาะพอดี แล้วจึงดำเนินการ ทำไปคิดไป  ภายใต้เงื่อนไข(บางทีก็โบราณๆ)ที่บังคับ กำกับเราอยู่ครับ

ครับผมก็ว่างั้นแหละครับ จะได้ไม่ต้องคิดมากเกินไปนะครับ คิดแต่พอใช้เป็นขั้นๆ

  • ผมก็ใช้ทั้งสองแบบเหมือนกันครับ คิด-ทำ-เทียบ
  • คิดก่อน แต่พอลงมือทำก็ปรับไปตามสถานการณ์-ยืดหยุ่นครับ 
  • แต่มีบ้างที่กิจกรรมเกิดขึ้นเองแล้วปิ้งแว้ปขึ้นมาก็ทำต่อไป โดยไม่ได้คิดก่อนก็มี แต่ไม่มากนักครับ

ก็ตรงกันครับ

ผมพยายามสกิดเตือนไว้ก่อนนะครับ

ผมเคยพลาด และไม่อยากให้คนอื่นพลาดตามครับ

  • เรียน อาจารย์ ดร.แสวง   รวยสูงเนิน
  • ขนาด ท่านหนุ่มชุมพร ยังวางแผน 1% บังเอิญ 99% ก็ต้องเชื่อ
  • คิด..ทำ...คิด....ทำ....คิด....ทำ.....(เหมือนไก่ กับ ไข่ นั่นแล...จะเริ่มอันไหนไม่สำคัญ)  

 

อาจารย์อรรณพ

ก็ลองดูนะครับว่าแบบไหนดีกว่ากัน ไม่ต้องเชื่อท่านหนุ่มชุมพรก็ได้ครับ

สำหรับหนูแล้วแต่สถาณการณ์ค่ะบางเรื่องก็คิดก่อนทำแต่ส่วนใหญ่จะทำไปคิดไปแต่พยายามแก้ไขตัวเองค่ะจะคิดก่อนทำให้ได้เหมือนอาจารย์

อันดับแรกต้องคิดก่อนทำ....หลังจากนั้นจึงทำไปคิดไป

ก็จะคิดก่อนค่ะ  ว่าจะทำอะไร คือ ตั้งเป้าหมายไว้ก่อน แต่ว่าจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไรนั้น  ส่วนมากจะเป็นคิดไปทำไปมากกว่าค่ะ 

แนวคิดดี มีสาระน่าสนใจ อยากให้คนคิดก่อนทำกันทุกคนครับ ถ้าทุกคนคิดก่อนทำ เรื่องไม่ดีต่างๆ คงลดลงไปเยอะ งานก็คงประสบความสำเร็จกันมากขึ้นครับ

คิดก่อนทำมีการว่าแผนไว้ก่อน คิดไปทำไปเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

 

เป็นยุทธศาสตร์การทำงานที่ทุกสว่นทุกองกรจะต้องมีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท