ฟื้นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ความรู้ที่เคยถูกเบียดผลัก: เกริ่น (1)


ความรู้หลักเข้ามาและเบียดผลักความรู้เหล่านี้ออกไปได้ ด้วยการกล่าวหาว่าเป็นความรู้ที่ไม่มีความประณีตหรือละเอียดพอ

     การแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามา การแพทย์แผนไทยเสื่อมถอย ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน หมดหาย อะไรดีไม่ดี ไม่ใช่คำตอบ แต่ที่ไม่ดีคือการเบียดผลัก ให้ศาสตร์หนึ่งศาสตร์ใด ตกขอบหายไป ด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ร้ายที่สุดคือการออกกฎหมายการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังผลให้เกิดการเร่งรัดเพื่อผลักศาสตร์เดิม ๆ ที่เป็นภูมิรู้ของบรรพบุรุษให้หายไปได้อย่างรวดเร็ว และอีกหลาย ๆ ปัจจัย หนึ่งในนั้นคือระบบการศึกษาในกระแสหลัก

     มิเชล ฟูโก นักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศส กล่าวไว้ประวัติศาสตร์ ทำให้ความรู้รองซึ่งเป็นความรู้พื้นบ้านที่ถูกกดทับไว้ ถูกแยกออกไปจากชุดความรู้ที่เป็นระบบในเรื่องความรู้ตามกระแสหลัก และความรู้รองเหล่านี้เป็นความรู้มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย จนทำให้ความรู้หลักเข้ามาและเบียดผลักความรู้เหล่านี้ออกไปได้ ด้วยการกล่าวหาว่าเป็นความรู้ที่ไม่มีความประณีตหรือละเอียดพอ

     ระบบการศึกษาในอดีต และปัจจุบัน ก็คอยซ้ำเติมครั้งแล้วครั้งเล่า ให้เรานักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์ รู้สึกดูถูกดูแคลนภูมิปัญญาเหล่านั้น อย่าง “ไปเชื่อได้อย่างไร” “ไม่เป็นวิทยาศาสตร์” “อ้างอิงจากใคร” “แห่งข้อมูล Inter หรือ Local” หรือ ฯลฯ ที่ละนิดทีละหน่อย สิ่งเหล่านี้ก็ค่อย ๆ เพิ่มพูนพอกเข้าไปในจิตใจ แต่ก็ยอมรับว่าในปัจจุบันกระแสการเบียดผลักเหล่านี้ ได้ค่อย ๆ อ่อนแรงลง เกิดการยอมรับกันมากขึ้น ซึ่งอาจจะยังดูน้อยเกินไป แต่ก็มีทีท่าว่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้



ความเห็น (12)

ภูมิปัญญาไทยถูกเบียดขับให้ตกขอบเพราะระบบการศึกษาสอนให้เราเชื่อตะวันตกมากกว่าเชื่อว่ามีดีในตัวเอง  กว่าจะรู้ตัวก็เกือบสาย 

ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมแรงร่วมใจ ปลุกพลังภูมิปัญญาไทยให้ตื่นมาอีกครั้ง อย่าท้อเพราะเมื่อสำเร็จ  ผลงานจะมีคุณค่าและงดงามเกินบรรยาย

เรียน คุณพันดา เลิศปัญญา ครับ

     ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ บันทึกนี้จะต่อกันเป็น Series เน้นเรื่องราวที่ไปพบไปเห็นจากพื้นที่ที่จดบันทึกไว้ก่อนหน้าบ้าง และก็ที่ได้เห็นเพิ่มขึ้นอีกบ้าง
     คาดหวังว่าจะเป็นแรงกระเพื่อมบ้างแม้เพียงแผ่วเบาก็เถอะ

เมื่อคืนนั่งคุยกับพี่เรื่องลูกเขาเป็นเหาติดมาจากโรงเรียน ดิฉันก็เลยบอกว่า เมื่อตอนเด็กดิฉันก็เคยเป็น ทวดก็เลยเอาใบน้อยหน่าขยี้กับน้ำแล้วนำมาหมักไว้ที่ศีรษะพักหนึ่งเหาก็จะตายและหมดไป พี่เขาก็บอกว่าเขาก็ทำแบบนั้นให้ลูกเหมือนกันและได้ผลดีเชียวค่ะ ก็เลยคุยกันได้นาน

ส่วนอีกเรื่องก็เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของจังหวัดประจวบค่ะ เขาทำครีมบำรุงผิวมีส่วนผสมของสมุนไพรคือน้ำมันมะพร้าวและว่านหางจระเข้ ใช้ดีเชียวค่ะกลิ่นก็หอมน้ำมันมะพร้าว ตอนไปซื้อกลุ่มแม่บ้านบอกว่าน้ำมันมะพร้าวจะช่วยให้ผิวไม่แห้งชุ่มชื่นอยู่เสมอ ยิ่งสรรคุณของว่านหางจระเข้ด้วยแล้วคงไม่ต้องพูดถึงนะคะ...อันนี้ใช้แล้วพิสูจน์ได้เลยค่ะ (ยิ้ม ๆ)

ขอสนับสนุนบันทึกนี้อย่างต่อเนื่องค่ะ เพราะเล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้านอันเป็นสิ่งที่เราควรยกระดับขึ้นมาเสียที ไม่ใช่นานวันจะลบเลือนหายไปเพราะลูกหลานไม่เห็นคุณค่าสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงค่ะ

  • สิ่งที่พบและทำให้ศาสตร์เดิมตกขอบ  หากใช้มองผ่านแว่นแนวทาง ศก.พอเพียง ก็อาจจะต้องบอกว่า "ให้รู้เท่าทัน" จะได้มีภูมิคุ้มกัน
  • ถึงเวลาแล้วครับที่เราจะไม่ตามก้นฝรั่งในทุกๆ เรื่อง เพราะไม่เช่นนั้น เราก็คงไม่สามารถ"พึ่งพาตนเอง" ได้เลย
  • ขอบพระคุณมากครับ

ยังมีดีๆที่ไหนอีกบ้างคะ  ช่วยกันเอาออกมาโชว์  และมาช่วยกันใช้  วันที่ 25-26 ม.ค.50 จะจัดมหกรรมเครือข่ายสุขภาพและการเรียนรู้วิถีใต้  ซึ่งสนับสนุนโดย สพช. ที่ โรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่าหาดใหญ่ส่งหนังสือเชิญผ่านสสจ.ทั้ง 14 จังหวัดได้รับกันบ้างแล้วยังก็ไม่ทราบ  ส่วนภาคอื่นๆก็จัดทุกภาคใครใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่นนะคะ  เหนือจัด 11-12 ม.ค.50ที่พิษณุโลก

               อิสานจัด 18-19 ม.ค.50 ที่ขอนแก่น

               ภาคกลางจัด มี.ค.50 ที่ชลบุรี

ส่วนใครที่อยู่ภาคใต้ขอเชิญมาร่วมกันเยอะๆนะคะที่หาดใหญ่ ภาคอื่นจะมาเที่ยวก็ไม่ขัดข้องคะ

                                       พยาบาลPCU

อาจารย์น้อง Vij

     ขอบคุณมากจริง ๆ ครับ เป็น คห.ที่เติมเต็มในประเด็นภูมิปัญญาให้เข้มขึ้นจริง ๆ สำหรับใบน้อยหน้า กับการจัดการเหานี่ดีจริง ๆ ครับ หากจะให้เข้มข้นอีก ใช้เมล็ดครับ แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าใบ ไม่ค่อยสะดวกด้วย
     น้ำมันมะพร้าวนี่เข้ายาได้หลายขนาน สรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะใช้ทั้งตัวมันเอง และเป็นตัวทำละลายยาออกมาอีกที

 

พี่สิงห์ป่าสัก

    ขอบคุณพี่มาก ๆ ครับ ใช่เลยครับ ต้องให้รู้เท่าทัน หนึ่งในประเด็นหลัก ๆ ตามแนวฯ ศก.พอเพียง

พี่พยาบาล PCU

     ได้รับหนังสือแล้วด้วยครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะอยู่ในโควต้าไหนครับ แต่น่าจะไดไปร่วมงานนะครับ ขอบคุณมากครับที่มาส่งข่าวให้ทราบอีกทางหนึ่งด้วย แล้วเจอกันนะครับ

 

 เมื่ออ่านแล้วก็ยังนึกถึงคำว่า win - win to happiness ของพี่ชายขอบอยู่ดีคะ    เพราะคงไม่มีศาสตร์ไหนที่ดีสุดกู่ หรือ แย่สุดขอบ  หากเรา นำส่วนดีมาผสมผสานอย่างลงตัว มาใช้ เติมเต็มให้กัน ทุกศาสตร์ยังคงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่ต้องไปเสียเวลา  สรรหากันใหม่  จริงไหมคะ  และ อย่าลืมนำศาสตร์นี้มาใช้กับชีวิตด้วยนะคะ

คุณก้ามปู

     ขอบคุณนะครับที่เข้ามา ลปรร.กันไว้ ใช่ครับ เราไม่ควรจะปฏิเสธศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งอย่างสุดโต่ง อย่างเช่นตัวอย่างครั้งหนึ่งที่แพทย์แผนปัจจุบันได้กระทำต่อการแพทย์พื้นบ้าน ทั้งยังสืบทอดผลมาจนถึงทุกวันนี้ วิเคราะห์ดูได้จาก พ.ร.บ.ประกอบโรคศิลป์ ซึ่งมีหลายประเด็น ในขณะเดียวกันวิธีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน บูรณาการเข้าด้วยกันอย่างให้เกียรติกัน น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณหนิง

     ผมทำ ส.ค.ส. ไว้ที่นี่ http://gotoknow.org/blog/trustfulness/70267 นะครับ ลองแวะไปชมและรับความสุขด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท