สหรัฐฯ เน้นย้ำความร่วมมือในการส่งเสริมเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ต


เสรีภาพบนอินเตอร์เน็ต

    

    21 ธ.ค. นาง Paula Dobriansky, Under Secretary กต.สรอ. ด้าน ประชาธิปไตย กล่าวว่า กต.สรอ. จะยกประเด็นเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ตเป็นประเด็นหนึ่งในการประเมินสถานะ ปท. ทั่วโลกในรายงานสิทธิมนุษยชนประจำปีครั้งต่อไปในปี 2550 โดยจะรายงานว่ารัฐบาลของ ปท. ใดจำกัดเสรีภาพหรือมีมาตรการที่ลงโทษในทางใดๆ ต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกกฎหมายบ้าง ทั้งนี้นาง Dobriansky กล่าวว่า สรอ. มีแผนการที่จะเพิ่มการหารือกับ ปท. พันธมิตรเพื่อผลักดันให้รัฐบาลของ ปท.ต่างๆ ปฏิบัติตามข้อผูกพัน รปท. ในการให้เสรีภาพประชาชนในการแสดงออกทางความคิดเห็น นอกจากนี้ นาง Dobriansky ได้กล่าวถึงขั้นต่อไปของโครงการ Global Internet Freedom Task Force (GIFT) ของ กต.สรอ. ซึ่งแรกเริ่มเป็นกลุ่มงานที่ริเริ่มโดยนางสาว Condoleezza Rice รมว.กต.สรอ. เพื่อเพิ่มการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และกระตุ้นให้มีแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงานภายในรัฐบาล สรอ. โดยที่ผ่านมาได้มีโครงการหลายโครงการของรัฐบาล รวมทั้งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน สรอ. ที่สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวออกมากขึ้นใน ปท. กำลังพัฒนาต่างๆ ด้วย ในโอกาสเดียวกันนี้ กต.สรอ.ยังประกาศว่า จะจัดการประชุมขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมอภิปรายแนวทางเพื่อส่งเสริมเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ตต่อไป

   

แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.uswatch.in.th/news.php?PID=1&ID=822

แนวความคิด

   จากสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐเอง เราไม่อาจปฎิเสธข้อดีของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตได้เลยเพราะปัจจุบันเราได้ยอมรับแล้วว่าเทคโนโลยีนั่นเองที่ก่อให้เกิดการพัฒนาแก้วหน้าของสังคมโลกและประเทศไทยของเราเองนั้นก็ได้รับผลพลอยได้ดีๆ จากการนำเทคโนโลยีจากหลากหลายสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีไฟฟ้า/โทรคม/ยานยนต์ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์และ Software  นั้นมาช่วยพัฒนาประเทศเราให้ก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน

   แต่ในขณะเดียวกันนั้นการที่เทคโนโลยีที่ดีนั้นหากมองไปก็เสมือนดาบสองคมเสมอ หากเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดีก็จะก่อผลดี แต่ในอีกทางหนึ่งการปล่อยปละละเลย ขาดการควบคุม รวมทั้งการกำกับดูแลที่ดีจากภาครัฐ อาจทำให้มีการนำเทคโนโลยีมาทำภัยต่อสังคมได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นภัยต่อประเทศเช่นภัยคุกคามจากนักเฮกเกอร์-ไวรัสที่โจมตีระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ-ภาครัฐ สื่อลามากทางอินเตอร์เน็ตที่ส่งผลร้ายต่อสังคมโดยรวม ตลอดจนไปถึงระหว่างบุคคลที่อาจเป็นคดีความหมิ่นประมาทกันได้อีกด้วย

    ผมคิดว่าการร่างกฎหมายใหม่ที่จะออกมานี้จะทำให้เราสามารถนำข้อดีและข้อเสียของจุดมุ่งหมายในการสร้างเทคโนโลยี มากำกับดูแลเพื่อก่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับทางภาครัฐบาลด้วยว่าจะมองเห็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างครอบคลุม ตามแนวโน้มที่ในอนาคตคนเราจะวิ่งเข้าหาโลกไซเบอร์กันมากขึ้นเรื่อยๆ

หมายเลขบันทึก: 69196เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท