การมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพแบบองค์รวม : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 1 ต.ชะไว อ.ไชโย จ.อ่างทอง


สุกัญญา จงเอกวุฒิ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยกระบวนการที่ทำให้ชมรมสร้างสุขภาพเข้มแข็ง และการให้บทเรียนแก่สังคม

ผลการศึกษา

- ชมรมสร้างสุขภาพบ้านชะไว ก่อกำเนิดมาจากการมส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดยาเสพติด สุขภาพจิต และสุขภาพกาย มีอิหม่ามบุญเสริม หนูทอง ผู้ใหญ่คอดียะห์ ทรงงาม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มต่างๆในชุมชน จัดทำโครงการสร้างพลังชุมชนต่อต้านยาเสพติด ปี 2542 – 2545 และโครงการแก้ปัญหาสุขภาพจิต ปี 2545 –2547

- การดำเนินกิจกรรมส่งผลให้เกิดการตื่นตัวดูแลสุขภาพ สามารถขจัดผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติดได้ รวมทั้งการสร้างสุขภาพแบบองค์รวม คณะกรรมการชมรมสร้างสุขภาพ มีผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มออกกำลังกาย ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มยุวมุสลิม กลุ่มแม่บ้าน อสม. กิจกรรม ของโครงการทุกกลุ่มมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ รับประโยชน์ และรับผิดชอบร่วมกัน ภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการมัสยิดอัลยุสรอสามัคคี และสภากาแฟผู้อาวุโส

- เกิด ผลที่เป็นสุขภาวะทั้งทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ หลอมใจคนในชุมชนมาร่วมสร้างปัญญา ภายใต้การนำของแกนนำธรรมชาติในชุมชน มีกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะเป็นหมู่บ้านสร้างสุขภาพอย่างแท้จริง และได้บทเรียนที่สำคัญ คือ การเผชิญปัญหาร่วมกัน การมีผู้นำที่เสียสละ ทุ่มเทการพัฒนา การทำงานเชิงระบบโดยมีโครงการและกิจกรรมรอบรับอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักศาสนาหลอมกับวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนเพื่อประสานและเชื่อมโยงคนกลุ่มต่างๆ ให้มามีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 69178เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

1241228836_m

727850228_m

          I Am Terror

ร่วมขบวนการ"ไร้การก่อ"กันเถอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท