สร้างแหล่งการเรียนรู้ บนเครือข่าย Internet


แหล่งการเรียนรู้ Internet webtemplate

ระหว่างวันที่ 19-22 ธันวาคม 2549 ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน ICT กับชาว กศน.สุโขทัย ในโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนางานการศึกษานอกโรงเรียน ในเรื่องการพัฒนา website โดยมีหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย คือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ   ห้องสมุดประชาชน มาร่วมกันพัฒนา website และสร้าง webpage ของหน่วยงาน เพื่อเป็นการเริ่มตัน ที่จะนำเอาข้อมูล สารสนเทศต่างๆ ของหน่วยงาน กศน. เผยแพร่ทาง Internet ผ่านทาง website ของ ศนจ.สุโขทัย โดยภาระกิจหลักในช่วง 4 วันนีคือ สร้าง webpage ของทั้ง  19 หน่วยงาน โดยพึ่งระบบ CMS (Content Management System) โดยใช้ระบบ web template ที่เราได้พัฒนาขึ้น

     ประเด็นสำคัญของสิ่งที่จะทำใน 4 วันคือ การนำเอา ICT มาเป็นเครื่องมือในการสร้างเวทีที่จะบรรจุเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้และอื่นๆ ของหน่วยงาน กศน. ของสุโขทัย โดยเน้นมาที่ Internet เป็นเวทีในการใช้งานดังกล่าว เมื่อมีเวทีแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ช่วยกันนำเอาตัวเนื้อหา มาใส่ไว้ใน Internet หรือเวที ดังกล่าว ดังนั้น เรื่องที่ทำ จึงมี 2 เรื่องคือ
     เรื่องที่ 1 ดำเนินการติดตั้งระบบให้เครื่อง Server สามารถเผยแพร่ website ทาง Internet ได้ ซึ่งไม่ยากนัก เพราะจังหวัดสุโขทัยได้ทำไว้แล้ว แต่ที่ต้องทำต่อเนื่องคือ เปิด website ของ 19 หน่วยงาน ซึ่งการทำงานเรื่องนี้ ก็ผ่านพ้นไปด้วยดี เพราะ สามารถติดตั้ง website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด 1 แห่งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 9 แห่ง ห้องสมุดประชาชน 9 แห่ง เสร็จเรียบร้อย
    เรื่องที่ 2 เรียนรู้วิธีการนำเอาเนื้อหา ใส่ใน website ทั้ง 19 แห่ง เรื่องที่ยากจึงมี 2 อย่างคือ จะใส่เนื้อหาอะไร และจะใส่อย่างไร โดยผู้ที่รับผิดชอบแต่ละหน่วยงาน จะต้องเป็นผู้หาเนื้อหามา พร้อมทั้ง มาเรียนรู้วิธีการนำเอาเนื้อหามาสร้างเป็น webpage แล้วนำไปไว้ใน server
     วิธีการที่นำมาใช้ คือสร้างระบบแบบง่ายๆ สำหรับการใช้งานขึ้นมาเรียกว่า web template คือ เป็น webpage ต้นแบบ ติดตั้งไว้ที่ server แล้วผู้ใช้งาน เพียงแต่พิมพ์เนื้อหา และ ใส่รูปภาพเข้าไปใน server ก็ใช้งานได้ ด้วยวิการที่ไม่ยุ่งยากนี้ ทำให้ ในเวลา 4 วัน เกิด website ของหน่วยงาน กศน. ในจังหวัดสุโขทัยขึ้น 19 website และสามารถที่จะเพิ่มเติมเนื้อหาที่ต้องการได้ตามที่ต้องการ
  

     การพัฒนางาน ICT ในลักษณะนี้ เท่ากับเป็นการขยายเครือข่ายการเรียนรู้ โดยขยายเข้าไปในเครือข่ายของผู้ที่เป็นผู้สร้างองค์ความรู้ และมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องเผยแพร่ความรู้ในเครือข่าย Internet ให้มีช่องทางการใส่องค์ความรู้เข้าไปในระบบ Internet ได้ง่ายขึ้น โดยใช้ทรัพยากร ที่แต่ละ ศนจ. มีอยู่แล้ว เท่ากับเป็นการขยายแหล่งการเรียนรู้ของ กศน. ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 69100เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เข้ามาเยี่ยมครับ เป็นแรงใจให้ท่านอาจารย์ศรีเชาว์ สร้างสรรค์งาน ICT แก่สถานศึกษากศน.ต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าต่อไปครับ
ว่าที่ ร.ต.จิรชัย บูรณะฤทธิ์ทวี

สวัสดีครับพี่ไม่ได้พบกันนานมาก พบกันอีกทีในบ้านนี้ รู้สึกภูมิใจครับที่ กศน.มีคน ICT ที่ตั้งใจและมุ่งมั่นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างพี่ศรีเชาว์

 ภูมิใจในตัวพี่มากครับ

จากยอดดอย

ขอบคุณครับ ไม่ได้พบกันเสียนาน ไม่ทราบว่ายังอยู่ที่ดอยตุงหรือเปล่า หรือย้ายไปเป็น ผอ. ที่ไหนแล้ว ลองมาใช้เวทีนี้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันบ้างนะครับ ได้ความรู้หลากหลายดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท