องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย


          ดิฉันเคยบันทึกเรื่อง ความสำคัญของสภามหาวิทยาลัย ไว้ครั้งหนึ่ง ที่นี่ 

          ดิฉันต้องกลับไปอ่านทบทวนดูอีกครั้งหนึ่ง เพราะอยากหาแนวคิดที่เหมาะสม ของ มาตรา ๑๘ ใน ร่าง พรบ.มน.

          ดิฉันลองทำตารางเทียบเคียงเรื่องนี้ระหว่าง  มทส. : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  กับของ มน.  จะได้ดังนี้ค่ะ

องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย

มทส.

มน.
1. นายกสภามหาวิทยาลัย 1. นายกสภามหาวิทยาลัย
2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง          - อธิการบดี          - ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย          - ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง          - อธิการบดี          - ประธานสภาพนักงาน          - ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
3. กรรมการจากสภาวิชาการ 2 คน   
4. กรรมการสภาฯ จากตัวแทนคณาจารย์ประจำ 5 คน 3. กรรมการสภาฯ จากตัวแทนคณาจารย์ประจำที่มีตำแหน่ง รศ.ขึ้นไป  3 คน
5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9 – 12 คน (จากบุคคลภายนอก และต้องมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 คน) 4. กรรมการสภาฯผู้ทรงคุณวุฒิ จากบุคคลภายนอก (โดยคำแนะนำของ ข้อ 2 และ 3 )  14 คน ( 1 ใน 14 ต้องมาจากที่ สกอ. เสนอ)
6. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัยเป็นเลขานุการ 5. อธิการบดีเป็นเลขานุการ
7. หัวหน้าสำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ  

          ที่น่าสังเกต คือ

  1. ในองค์ประกอบของสภาฯ ข้อที่ 2 มทส.ให้ความสำคัญกับการเลือกตัวแทนของสังคมและชุมชนด้วย  (ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย /ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย)
  2. โครงสร้างองค์กร ของ มทส. มีสภาวิชาการ อยู่ภายใต้สภามหาวิทยาลัย  ทำให้มีกรรมการจากสภาวิชาการเข้ามาเป็นกรรมการสภาฯด้วย
  3. กรรมการสภาฯ จากตัวแทนคณาจารย์ประจำ ของ มทส. ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ  และกำหนดจำนวนให้เป็นกรรมการมากกว่าของ มน.
  4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ มทส. กำหนดว่าจะต้องมาจากคนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งด้วย (ต้องมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 คน)

          ถ้าท่านลองอ่านหนังสือ เรื่อง  กระบวนทัศน์ใหม่ ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย ของ รศ.ดร.ไพฑูรย์  สินลารัตน์ หรือบางส่วนที่ดิฉันตัดตอนมาตาม Link ข้างบน  ท่านคงพอจะวิเคราะห์ได้ว่า องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย มน. ยังคงกระจุกตัวในระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย  มีการกระจายตัวลงมายังฐานล่างไม่มากนัก  และยังขาดตัวแทนภาคสังคม / ชุมชน ที่เป็นตัวแทนที่เลือกโดยกลุ่มของบุคคลเหล่านั้นเอง ไม่ใช่ตัวแทนที่คนในสถาบันเลือกกันมา 

บันทึกเพิ่มเติม วันที่ 24 ธ.ค. 49

          หลักการกลางในการร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยของรัฐในกำกับ
ข้อที่ 4   สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ข้อ 4.1  องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย  ควรประกอบด้วย จำนวนกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากบุคคลภายนอกมากกว่าบุคคลภายในมหาวิทยาลัย  กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากบุคคลภายนอกนั้น  ควรประกอบด้วย ผู้แทนหรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอ  และผู้แทนจากภาคเอกชน  ชุมชนหรือสังคม ตามความเหมาะสมและภูมิหลังของแต่ละมหาวิทยาลัย

          กระบวนการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย  และกรรมการสภามหาวิทยาลัยจะต้องเป็นกระบวนการสรรหาที่โปร่งใส  ตามข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัย  โดยมีคณะกรรมการสรรหาซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีผู้แทนจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมด้วย

         

หมายเลขบันทึก: 69042เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

 อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับบริหาร นโยบายของมหาวิทยาลัย อย่างที่อาจารย์เปรียบเทียบมา ได้ข้อสรุปยังครับ ว่าแต่ละสถาบันจะมีหลักการของตนอย่างไร

ดิฉันก็เช่นกันค่ะ หวังไว้เหลือเกินว่า ชาตินี้คงได้เห็นการเปลี่ยนแปลง (ในทางที่ดีขึ้น)  ทั้งในระดับสถาบัน และในระดับอุดมศึกษาของประเทศ  จริงๆ แล้วหวังอยากให้เปลี่ยนแปลงได้ทุกระดับการศึกษา  แต่ก็ทราบดีว่า หวังมากเกินไป  และอาจรออยู่ไม่ถึง....

ที่ใกล้ตัวที่สุด คือมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ที่ดิฉันทำงานอยู่  ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (กำลังจะทำประชาพิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.  ม.ในกำกับ) แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปค่ะ

ดิฉันจึงเห็นว่า  ประชาคม  ที่จะ พิจารณา+วิจารณ์  ในเรื่องนี้ทุกคน  ควรมีความรู้ให้มากพอ  และดิฉันอาจมีส่วนช่วยในการจัดการความรู้ในเรื่องนี้ได้บ้าง (ผ่านทาง Blog) 

หากเป็นไปด้วยดี มีข้อสรุปที่ชัดเจน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  ดิฉันคงได้มีโอกาสนำมาเทียบเคียงในลักษณะ  Before / After ให้ได้ทราบ ผ่านทาง Blog ในโอกาสต่อไป (อีกเช่นกันค่ะ)

 

 

บันทึกนี้ของอาจารย์กระตุ้นให้ผมสนใจเรื่องการออกนอกระบบขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ ขอบคุณมากที่มีอะไรดี ๆ มาฝากกันอยู่เป็นประจำ

ผมได้ร่วมงานกับ มทส. มาเป็นเวลา ๕ ปีครับ

จุดที่อาจารย์ได้ให้ข้อสังเกต โดยเฉพาะข้อ ๒ มีผลอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานของ มทส. ครับ โดยนายกสภาฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการพัฒนาการศึกษาโดยตรง ขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ ศูนย์สหกิจศึกษาของ มทส. ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสภาอุตสาหกรรมในการเป็นสถานประกอบการให้แก่หลักสูตรทั้งหมดของ มทส. หากขาดจุดนี้ไป สหกิจศึกษาของ มทส คงประสบความสำเร็จอย่างที่เป็นอยู่ได้ยาก มีหลายมหาวิทยาลัยที่พยายามผลักดันให้เกิดสหกิจศึกษาแต่ก็ยังไม่ครบวงจรหรือมีอุปสรรคในด้านความร่วมมือจากภาคเอกชน

ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีผู้บริหารเล็งเห็นรายละเอียดสำคัญเช่นนี้ครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท