มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 2 (1)


หากจะให้การวิจัยในประเทศก้าวหน้า สร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ นักวิชาการไทยจะต้องเปลี่ยน จากการเป็นผู้บริโภคความรู้ มาเป็นผู้สร้างสรรค์องค์ความรู้

         < เมนูหลัก >

         ตอน 2 (1)

         "ปฏิวัติวัฒนธรรม" เพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา

         สภาพที่การวิจัยในประเทศไทยล้าหลังมากเช่นนี้เป็นเครื่องบอกได้เป็นอย่างดีว่าเรามีวัฒนธรรมที่ขัดขวางความก้าวหน้าของการวิจัยอยู่มาก หากจะส่งเสริมการวิจัยให้ได้ผลจริงจัง ก็ต้องทำความเข้าใจ และแก้ไขปัญหาเชิงวัฒนธรรมให้ได้ ต่อไปนี้ เป็นวัฒนธรรมที่ควรมีการพิจารณาปฏิวัติ

         วัฒนธรรมผู้ผลิต – ผู้บริโภค

         วัฒนธรรมอย่างแรกที่ต้องมีการปฏิวัติ คือ “วัฒนธรรมผู้ผลิต-ผู้บริโภค” เนื่องจากคนไทยโดยทั่วไปมีฉันทะในการเป็นผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต และเรื่องขององค์ความรู้ก็เช่นเดียวกัน นักวิชาการไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค หรือใช้ความรู้ที่ผลิตมาจากต่างประเทศมากกว่าที่จะ พยายามผลิตขึ้นเอง

         หากจะให้การวิจัยในประเทศก้าวหน้า สร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ นักวิชาการไทยจะต้องเปลี่ยน จากการเป็นผู้บริโภคความรู้ มาเป็นผู้สร้างสรรค์องค์ความรู้

         ระบบแรงจูงใจต่าง ๆ จะต้องดึงดูดให้นักวิชาการทำงานสร้างสรรค์องค์ความรู้มากกว่าใช้ความรู้ที่ถ่ายทอดมาจากแหล่งอื่น หรือให้สมดุลกันระหว่างการสร้าง และการใช้องค์ความรู้

         การเปลี่ยนวัฒนธรรมจากเน้นการเป็นผู้บริโภค หรือผู้ใช้ความรู้มาเป็นผู้ผลิตความรู้จะต้องเริ่มที่ระบบการศึกษา ตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาลขึ้นมาจนถึงระดับมหาวิทยาลัย รูปแบบการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนจากแนวทางด้านซ้ายมือ ไปเป็นแนวทางด้านขวามือหรืออย่างน้อยก็ความสมดุลระหว่างแนวทางสองด้าน ดังนี้

         สอนให้เชื่อ สอนให้แย้ง

         เน้นหาคำตอบ เน้นตั้งคำถาม

         ท่องจำตามที่ครูสอน อภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

         เรียนจากตำราเท่านั้น เรียนจากของจริงในธรรมชาติและในสังคมด้วย

         เน้นการสอน เน้นการเรียน

         เน้นกิจกรรมของครู เน้นกิจกรรมของผู้เรียน

         อาจารย์คือผู้สอน อาจารย์เป็นผู้ยั่วยุให้นักศึกษาอยากรู้ และช่วยจัดอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

         สอนวิชาความรู้ สร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้

         การเรียนรู้รูปแบบใหม่ จะทำให้สมองของเด็กพัฒนาเต็มศักยภาพ และเป็นคนที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มีความสามารถในการเป็นผู้ผลิตองค์ความรู้ คือ เป็นผู้มีปัญญานั่นเอง

         ในวัฒนธรรมที่ให้คุณค่าแก่ผู้ผลิตองค์ความรู้ จะต้องกำหนดค่าตอบแทนผู้ทำงานสร้างสรรค์เชิงสติปัญญา ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในภาพรวมให้สูงกว่าปัจจุบัน คือ ใกล้เคียงกับการสร้างสรรค์ในภาคเอกชน

 

         บทความพิเศษ ตอน 2 (1) นี้ ได้จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ล.2788 (104) 9 พ.ค. 39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 6901เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2005 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท