การปฏิบัติงาน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2548


โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้
พื้นที่ปฏิบัติการ  ประกอบด้วย
1.       ชุมชนบ้านสระขาว  ม.16  ต.ละแม  อ.ละแม  จ.ชุมพร
2.       ชุมชนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลละแม     อ.ละแม   จ.ชุมพร
3.       ชุมชนบ้านในกริม  ม.8  ต.หาดยาย   อ.หลังสวน  จ.ชุมพร
4.       ชุมชนบ้านบากแดง  ม.12  ต.วังตะกอ  อ.หลังสวน  จ.ชุมพร
5.       ชุมชนบ้านเนินทอง  ม.11  ต.ตะโก   อ.ทุ่งตะโก  จ.ชุมพร
B                ชุมชนบ้านสระขาว
·               กิจกรรม/กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1. งาน “รินน้ำชา  เสวนาเรื่องชุมชน”   ได้จัดขึ้น ในวันที่  3  กุมภาพันธ์  2548  เพื่อหารายได้
มาก่อสร้างเพิ่มเติมศูนย์เรียนรู้  และเพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืช      มีการจัดการเรียนการสอนตามปกติ โดยได้ชักชวนผู้มาร่วมงานรินน้ำชา เดินดูแปลงรวบรวมพันธุ์พืช และดูการเรียนการสอนนักเรียนตามกลุ่มต่างๆ
2. การจัดการเรียนการสอน  หลักสูตรท้องถิ่น      “สมุนไพรกับวิถีชีวิตชุมชน”    มีขึ้นทุกวัน
พฤหัสบดี ของเดือน  แต่ในเดือนภุมภาพันธ์ ได้มีการจัดการเรียนการสอน  3  วัน  คือ วันที่  3 , 17 , 24   ส่วนในวันที่  10  นั้น ได้เว้นการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากนักเรียนที่เข้าร่วมหลักสูตรท้องถิ่น ได้มีกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือกับทางโรงเรียน ในวันที่ 7-9  ทางคณะกรรมการกลุ่มและคณะอาจารย์ของโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ประชุมหารือกันว่า สมควรจะงดเว้นการจัดการเรียนการสอนในวันที่  10   เนื่องจากให้นักเรียนได้พักผ่อน ซึ่งจะนัดหมายเรียนชดเชยกันในภายหลัง   ส่วนสาระการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  มีดังนี้
1)  แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง “ชนิดของสมุนไพร”   มีรายละเอียดของสาระการสอน  ดังนี้
-          ชื่อสามัญ / ชื่อท้องถิ่น ในแต่ละพื้นที่
-          ลักษณะสายพันธุ์ (รายละเอียดของโครงสร้าง)
-          จำนวนสายพันธุ์ / แหล่งของสายพันธุ์
-          ประโยชน์เฉพาะทาง
-          ผลข้างเคียงที่ควรรู้
-          การขยายพันธุ์ / การบำรุงรักษา
-          การเก็บเกี่ยวผลผลิต / การเก็บรักษา
-          คุณค่าของสมุนไพรแต่ละชนิด
ทางวิทยากรท้องถิ่น ได้นำตัวอย่างต้นสมุนไพรและแปลงรวบรวมพันธุ์พืชมาเป็นเครื่องมือใน
การสอนเพื่อให้นักเรียนได้เห็นของจริง  
2)  แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง “สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชน”   มีรายละเอียดของสาระการสอน  ดังนี้
-          ชี้ให้เห็นความสำคัญของสมุนไพรที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน

-          อธิบายการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างพืชสมุนไพรกับวิถีชีวิตชุมชน

                3. การประชุม / พูดคุย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ของสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืชฯ
                                การประชุมสมาชิก  ได้มีการประชุมทุกวันพฤหัสบดีแรก และวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน  เพื่อหาแนวทางร่วมในการทำกิจกรรมของกลุ่มฯ  ตลอดจนการนัดหมายลงแรงพัฒนา/ปรับปรุงแปลงรวบรวมพันธุ์พืช ตลอดจนศูนย์เรียนรู้
การพูดคุย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้     ระหว่างวิทยากรท้องถิ่น , ครูพี่เลี้ยงจากโรงเรียนบ้านทับใหม่,
ครูพี่เลี้ยงจากโรงเรียน ตชด.สิริราษฎร์ , ผู้ช่วยชุมชนโครงการดับบ้านดับเมือง , บุคคลที่สนใจ  ทุกครั้งหลังการจัดการเรียนการสอน  เพื่อประเมินผลการสอน และหาแนวทาง/นัดหมายวิธีการสอนของวันถัดไป
·       การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
หลังจากงาน     “รินน้ำชา  เสวนาเรื่องชุมชน”      ส่งผลให้กิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืช  เป็นที่รู้จัก
และยอมรับของคนในชุมชนและต่างชุมชนมากขึ้น ตลอดจนหน่วยงานที่เคยมาหนุนเสริม และบุคคลทั่วไป เห็นศักยภาพของทรัพยากรในท้องถิ่นและแกนนำชุมชน
                ในส่วนของกิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น “สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชน” นั้น  ก่อให้เกิดความรู้ที่เพิ่มสาระวิชาให้กับนักเรียน  (ตามแผนการจัดการเรียนรู้   2  เรื่อง  คือ เรื่อง “ชนิดของสมุนไพร “และ “สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชน”)
                ทางด้านวิทยากรท้องถิ่น  เห็นได้ชัดว่ามีความตื่นตัวเพิ่มขึ้น  จากการเตรียมการสอนโดยมีสื่อเป็นเครื่องมือในการสอน 
·       แผนงานต่อเนื่อง
- การจัดการเรียนการสอน  ควบคู่กับการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ทำไปเรียนรู้ไป)  เพื่อวาง
แนวทางให้กับการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป

                - การสร้างศูนย์เรียนรู้  เพื่ออำนวยการจัดการเรียนการสอน  เช่น การสร้างห้องเรียนรู้ , การสร้างห้องเก็บงาน/เอกสาร , การสร้างห้องน้ำ 

                - การศึกษาดูงาน  เพื่อเพิ่มทักษะ และเปิดโลกทัศน์ให้กับนักเรียนและวิทยากรท้องถิ่น

·       ความรู้ / ประเด็นที่น่าสนใจ
                 - การถ่ายทอดความรู้อย่างไร  ให้ผู้ฟังเข้าใจ  เช่น    วิทยากรท้องถิ่นจะใช้เทคนิคการสอนอย่างไร เพื่อสื่อความหมายให้นักเรียนรับรู้ได้ตรงกับสิ่งที่ตนเองอยากจะสื่อ
                
B                ชุมชนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลละแม
·       กิจกรรม/กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1. เวทีชุมชน    เรื่อง การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง   ซึ่งได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลละแม    มีประเด็น
พูดคุย ดังนี้
-          แนะนำศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลละแม   ให้ชาวประมงพื้นบ้านแหลมสันติ
และหมู่บ้านใกล้เคียงได้รู้จัก  และแจ้งแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในปี พ.ศ.2548
-          การแลกเปลี่ยนพูดคุยกับประมงพื้นบ้าน       ซึ่งทางชาวประมงพื้นบ้านได้ร่วมกับเครือข่าย
ต่างๆ จัดงานปิดอ่าว เมื่อวันที่  14-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 
-          ปัญหาและความต้องการของชาวประมงพื้นบ้าน    ในขณะนี้ ปัญหาที่ชาวบ้านประสพ  คือ

ปัญหาเรื่องการทำมาหากิน ที่ส่งผลมาจากสัตว์น้ำมีน้อยทำให้หากินยากขึ้น  /  ปัญหาค่าครองชีพเพิ่มขึ้น / ปัญหาหนี้สิน / ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย จากการไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องอาศัยพื้นที่ชายทะเล ซึ่งต้องบุกรุกที่ดินของรัฐ / ปัญหากับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ที่ขัดแย้งเรื่องที่อยู่อาศัย ทั้งๆที่ชาวบ้านอาศัยมานานก่อนจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้   ในส่วนของความต้องการ ชาวบ้านต้องการสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างมั่นคง / การจัดบ้านเรือนที่ถูกสุขลักษณะ / การฟื้นฟูประมงชายฝั่ง / การส่งเสริมอาชีพ

2.       สำรวจข้อมูลชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านแหลมสันติ
·       การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
-          เกิดข้อมูลชุมชน  
-          เวทีเรียนรู้  ที่แสดงถึงความรักความสามัคคีของคนในชุมชน  และความรักบ้านเกิด
-          เกิดแนวทางการพัฒนาชุมชน
·       แผนงานต่อเนื่อง

ด้านกิจกรรมของคณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดฯ

-          ประชุมคณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดฯ
-          ประชุมซักซ้อมความเข้าใจกับตัวแทนเกษตรกรประจำหมู่บ้าน

ด้านการร่วมกิจกรรมภาคีพันธมิตร  เรื่องการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง 

-  การประมวลข้อมูลความเดือดร้อนของพี่น้องประมงทั้งหมด  พร้อมทั้งให้คณะทำงานศึกษาข้อมูล 
ข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
·       ความรู้ / ประเด็นที่น่าสนใจ
-          กลไกการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
B                ชุมชนบ้านในกริม
·       กิจกรรม/กระบวนการ ที่ดำเนินการ
ติดตามงานและประสานงาน กับแกนนำและสมาชิกกลุ่ม  มีสาระการพูดคุย ดังนี้
-          ผลจากการชี้แจงโครงการต่อสมาชิกในชุมชน
-          แลกเปลี่ยนพูดคุยถึงสถานการณ์การเลือกตั้ง และปัญหาภัยแล้ง
-          แลกเปลี่ยนพูดคุยการเข้าร่วมเวทีนโยบายสาธารณะของแกนนำชุมชน
·       การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
เนื่องจากชุมชนบ้านในกริม เป็นชุมชนเปิดใหม่  เพิ่งได้จัดทำโครงการชุมชน  จึงยังไม่พบการเปลี่ยน
แปลงต่อชุมชน     มีเพียงแนวทางการจัดสวัสดิการของชุมชน
·       แผนงานต่อเนื่อง
-          แนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการ
-          แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืน
B                ชุมชนบ้านบากแดง
·       กิจกรรม/กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1.       ร่วมสังเกตุการณ์ การทำกิจกรรมของชุมชน 
-          การฝากเงิน / การให้กู้
-          การประชุมประจำเดือนของกลุ่ม
·       การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
ในส่วนของโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้  เนื่องจากชุมชนบ้านบากแดงเป็นชุมชนเปิดใหม่ 
เพิ่งได้จัดทำโครงการชุมชน  จึงยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงต่อชุมชน    
                ในส่วนของชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในโครงการ  SML  (หมู่บ้านนำร่อง)
·       แผนงานต่อเนื่อง
-          แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการทุน
·       ความรู้ / ประเด็นที่น่าสนใจ
-          มีภูมิปัญญาการปั้นดินเผา
B                ชุมชนบ้านเนินทอง
·       กิจกรรม/กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1.       ค้นหาแกนนำชุมชน
2.       เปิดเวทีแลกเปลี่ยนพูดคุยกับแกนนำชุมชน พร้อมทั้งชี้แจงโครงการ
3.       เปิดเวทีพูดคุยเพื่อพัฒนาโครงการ
·       การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
เนื่องจากชุมชนบ้านเนินทอง เป็นชุมชนเปิดใหม่  อยู่ในระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ
·       แผนงานต่อเนื่อง
-          เปิดเวทีพิจารณาโครงการ 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6899เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2005 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท