การจัดการความเสี่ยง - ทำอย่างไรหลังกิจการเกิดเพลิงไหม้


การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ และก็ยิ่งเป็นการยากสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่จะทราบว่ามีปัญหาอะไรรออยู่ในอนาคตบ้าง ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีกระบวนการอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ทราบว่าธุรกิจจะเผชิญปัญหาอะไร และจะหาทางป้องกันอย่างไรเพื่อป้องกันให้ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด

 

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ และก็ยิ่งเป็นการยากสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่จะทราบว่ามีปัญหาอะไรรออยู่ในอนาคตบ้าง ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีกระบวนการอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ทราบว่าธุรกิจจะเผชิญปัญหาอะไร และจะหาทางป้องกันอย่างไรเพื่อป้องกันให้ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด ดังนั้นกระบวนการวางแผนการบริหารและการจัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยในการตัดสินใจของบุคคลหรือธุรกิจเรา ในอันที่จะหาธุรกิจที่ดีที่สุด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

 

จากสมมุติฐานที่เพื่อนๆ ในห้องเรียนกฎหมายมหานคร, อาจารย์พันธุ์ทิพย์ และผู้ช่วยอาจารย์รัตน์ช่วยกันตั้งสมมุติฐานกัน มีให้เลือกอยู่ 3 หัวข้อ ในการจัดการความเสี่ยง มีดังต่อไปนี้

 

1.       ทำอย่างไร เมื่อกิจการเกิดเหตุเพลิงไหม้

2.       ทำอย่างไร เมื่อลูกหนี้ไม่จ่ายหนี้

3.       ทำอย่างไร เมื่อไม่มีเงินชำระหนี้

 

ข้าพเจ้าขอเลือกการจัดการความเสี่ยง โดยใช้ข้อที่ 1 คือ เราจะจัดการอย่างไร เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การเกิดเหตุเพลิงไหม้หรืออัคคีภัย หมายถึง ภยันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต สาเหตุของอัคคีภัยจนทำให้เกิดการลุกลามเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่นั้น อาจเกิดได้  2 ลักษณะใหญ่ คือ สาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากการตั้งใจ และสาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากการประมาทขาดความระมัดระวังหรือมิได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เราจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร

การจัดการหลังจากเกิดอัคคีภัย

ภายใน

1. ทำการระงับหรือบรรเทาความเสียหายโดยเร็วที่สุด และดำเนินการป้องกันไม่ให้ความเสียหายเพิ่มเติม หรือลุกลามออกไป

2. ตั้งสติและตรวจเช็คความคุ้มครองจากกรมธรรม์ที่เราทำไว้ และรีบติดต่อตัวแทนหรือบริษัท

3. รับรู้และจำแนกความเสียหาย ว่าอยู่ในระดับมาก ปานกลาง หรือน้อย มีผู้เสียชีวิตหรือไม่ เพื่อเตรียมข้อมูลคุยกับทางบริษัทประกันเรื่องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ธุรกิจเรามีประกัน และ ณ ที่นี้ธุรกิจของข้าพเจ้าได้ทำประกันอัคคีภัยไว้

4. ให้เก็บรักษาซากทรัพย์สินที่เสียหาย หรือรักษาสภาพแห่งความเสียหายไว้เพื่อรอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

5. เรียกประชุมพนักงานเพื่อพักงาน เจรจาต่อรองเรื่องค่าแรงในช่วงพักงาน

ภายนอก

1. ในกรณีที่เราเช่าอาคารในการประกอบธุรกิจให้ตรวจสอบพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร วิเคราะห์ว่าใครเป็นต้นเพลิง

2. ถ้ามีภาระหนี้สินกับสถาบันการเงินที่จะต้องผ่อนชำระ ไม่ว่าเป็นหนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ เราต้องไปขอประนอมหนี้ที่สถาบันการเงินในการผ่อนชำระ

3. ปรับแผนธุรกิจเพื่อฟี้นฟูธุรกิจให้เร็วที่สุด ทำแผนธุรกิจไปเสนอสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มเติมทุนในการปรับปรุงกิจการและรีบดำเนินธุรกิจให้เร็วที่สุด

การป้องกันและลดความสูญเสียจากอัคคีภัย

1.       ศึกษากฎหมายที่คุ้มครองการเกิดภัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

2.       การจัดระเบียบเรียบร้อยดี หมายถึง การป้องกันการติดต่อลุกลาม โดยจัดระเบียบในการเก็บรักษา สารสมบัติที่น่าจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้ถูกต้องตามลักษณะการเก็บรักษา สารสมบัตินั้นๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคารให้เรียบร้อย โดยไม่สะสมเชื้อเพลิงไว้เกินประมาณที่กำหนด เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ย่อมทำให้เกิดการติดต่อลุกลามขึ้นได้

3.       การตรวจตราซ่อมบำรุงดี หมายถึง การกำจัดสาเหตุในการกระจายตัวของเชื้อเพลิงและความร้อน เช่น การตรวจตราการไหลรั่วของเชื้อเพลิงต่าง ๆ พร้อมทั้งการควบคุมดูแลมิให้เกิดการกระจายตัวของความร้อนของเครื่องทำความร้อน

4.       การมีระเบียบวินัยดี หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย เช่น สถานที่ใดที่ให้มีไว้ซึ่งเครื่องดับเพลิง

5.       ความร่วมมือที่ดี หมายถึง การศึกษาหาความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยการฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง ตลอดจนการฝึกซ้อมในการปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้

6.       การเตรียมการรักษาความปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพิ่มความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำก่อนที่จะเกิด ซึ่งถ้าเกิดกับธุรกิจใดแล้วสิ่งที่เสียหายอาจเทียบไม่ได้เลยกับจ่ายเงินใช้เวลาในการรักษาความปลอดภัย

7.       พิจารณาเรื่องเบี้ยประกันวินาศภัยที่บริษัทประกันภัยคำนวณ เรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัย โดยปกติแล้วจะประกอบด้วย ความเสียหายแท้จริงที่คาดคะเนตามสถิติ  ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานบริษัทประกันภัย เงินสำรองสำหรับความเสียหายที่คาดไม่ถึง

การเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นทั้งความเสี่ยงที่เราสามารถเอาประกันภัยได้ และความเสียงภัยที่เอาประกันไม่ได้ โดยหลักการแล้ว ความเสียงภัยที่จะเอาประกันภัยได้ จะต้องมีลักษณะสำคัญหลายประการ จึงจะเกิดความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่จะเอาประกันภัยได้ การจัดการความเสี่ยงภัย นอกจากจะเกิดจากเพลิงไหม้หรืออัคคีภัย ข้าพเจ้าอยากเพิ่มเติมในขั้นตอนของการจัดการความเสี่ยงภัยขั้นพื้นฐาน ซึ่งโดยทั่วไป จะประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย กระทำได้ด้วยการศึกษา และพิจารณาว่ามีความเสี่ยงภัยใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น ความเสียหายต่อทรัพย์สินอัคคีภัย ความสูญเสียจากากรที่ธุรกิจหยุดชะงัก ความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

2. การหาวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงภัย วิธีการต่างๆ ในการจัดการความเสี่ยงภัยของบุคคลหรือธุรกิจโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น

     2.1 การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย สามารถทำได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงงานหรือ สาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น เช่น คนที่กลัวจะเสียชีวิตเพราะเครื่องบินตก ก็ตัดสินใจไม่นั่งเครื่องบินเลยตลอดชีวิต หรือเราอาจจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากการนั่งสองแถวได้โดยการเปลี่ยนไปขึ้นรถประจำทางหรือรถแท็กซี่แทน

     2.2 การลดความเสี่ยงภัย เราอาจจะลดความเสี่ยงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น โดยลดจำนวนครั้ง หรือลดความรุนแรง  ซึ่งโดยทั่วไปจะกระทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

          2.2.1 การป้องกันการเกิดความเสียหาย มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้น การป้องกันเช่นนี้ จะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงาน การตรวจ สภาพรถยนต์ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอการขับรถตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

          2.2.2 การควบคุมความเสียหาย มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น การควบคุมความเสียหายนี้จะกระทำในขณะหรือภายหลังจากทึ่มีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ

          2.2.3 การแยกทรัพย์สิน เช่น การตั้งโรงงานและโกดังไว้คนละสถานที่ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่หนึ่งที่ใด โอกาสที่เพลิงนั้นจะลามไปอีกที่หนึ่ง จะเป็นไปได้ยาก ทำให้ลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

     2.3 การรับเสี่ยงภัยไว้เอง คือ การรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยไว้เอง ในบางกรณีเราอาจแบกรับความเสี่ยงไว้เอง โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจจะรับไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ภัยมางอย่างอาจเล็กมากจนไม่จำเป็นต้องหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยงภัยเช่น ปากกา ดินสอ ซึ่งมีราคาไม่แพงเจ้าของก็ไม่สนใจว่า ทรัพย์สินดังกล่าวจะเสี่ยงต่อการแตกหัก หรือถูกหยิบฉวย ใป การที่ผู้เอาประกันรถยนต์เอาประกันภัยรถยนต์แบบมีความรับผิดต่อความเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับ ความเสียหายแต่ละครั้งนี้ ก็ถือว่า ความรับผิดต่อความเสียหายส่วนแรก DEDUCTIBLE นี้เป็นการรับภาระเสี่ยงภัยใว้เองบางส่วนเช่นกัน

     2.4 การโอนความเสี่ยงภัย เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ด้วยการโอนความเสี่ยงภัยที่เกี่ยวกับความเสียหายทางการเงิน และความรับผิดต่างๆ ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทนซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ

        2.4.1 ความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย หมายถึงการโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญาได้รับโอนความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติตามสัญญานั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทอื่นทำความสะอาดภายนอกอาคารสูงๆ

          2.4.2 การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย โดยวิธีนี้บุคคลที่มีความเสี่ยงภัยประเภทต่าง ๆ จะโอนความเสี่ยงภัย และความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นไปให้บริษัทประกันภัยในรูปของการเอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย ในรูปของสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่ได้รับการคุ้มครองตามสัญญา การประกันภัยนั้น

3. การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด ภายหลังจากที่บุคคลหรือธุรกิจนั้นได้ค้นหาวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยวิธีต่างๆ ที่คิดว่าเป็นไปได้แล้ว ในขั้นนี้ก็จะต้องศึกษาถึงโอกาสและความมรุนแรงของ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือหลายวิธีที่คิดว่าดีที่สุดร่วมกัน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินของบุคคลหรือธุรกิจนั้นประกอบด้วย เช่น หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีบ่อยครั้งและรุนแรงมาก บุคคลหรือธุรกิจก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงกิจการหรืองานนั้น ๆ เสีย ถ้าหากว่ามีความรุนแรงมาก แต่มีโอกาสที่จะเกิดนานๆ สักครั้ง อาจจะใช้การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัยในรูปของการเอาประกันภัย ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

4. การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้ หลังจากที่ได้เลือกวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยได้แล้ว ขั้นต่อไป จะต้องศึกษาถึงแนวทางปฏิบัติตามวิธีการเพื่อให้บรรลุผลตามแผนของการจัดการความเสี่ยงภัยที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว เช่น หากธุรกิจตัดสินใจที่จะรับเสี่ยงภัยไว้เอง ก็จะต้องมีมาตรการควบคุมความเสียหาย โดยการติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติแล้ว ก็จะต้องศึกษารายละเอียดว่าจะต้องติดตั้งที่ใด และทิ้งระยะห่างเท่าใด ควรจะใช้หัวฉีดแบบใดจึงจะเหมาะสมสำหรับบริเวณนั้นที่สุด หรือ ในกรณีที่เลือกวิธีโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัยก็จะต้องศึกษาถึงเงื่อนไข ข้อคุ้มครอง ในกรมธรรม์ประกันภัย ให้ตรงกับความเสี่ยงภัยที่ตนมีอยู่

5. ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดการความเสี่ยงภัยที่ได้ผลดีที่สุด จะต้องมีการติดตามประเมินผลการจัดการนั้นเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามข้อ 4 ว่าเป็นไปตามแผน หรือวิธีการที่ปฏิบัติไปแล้วหรือไม่ หากมีข้อที่ควรจะต้องแก้ไข ปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น ธุรกิจมีการขยายกิจการ มีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานทำให้ความเสี่ยงภัยบางอย่างเพิ่มขึ้น หรือลดลง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 68978เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท