กำเนิดมนุษย์...(7)


ชีวิตไม่พึ่งอสุจิ  

การสืบพันธ์ของคนหรือสัตว์โดยปกติต้องอาศัย การผสมกันระหว่างตัวอสุจิกับไข่ เมื่อผสมกันแล้วก็จะเป็นเซลล์ร่างกายและจะแบ่งตัวแบบไมโทซีสจนเติบใหญ่เป็นมนุษย์หรือสัตว์ แต่ในประวัติการบังเกิดมนุษย์มีอยู่หลายครั้งที่มนุษย์ไม่ได้ถูกกำเนิดโดยอาศัยเซลล์สืบสืบพันธุ์ อย่างกรณีของนบี อาดัม ที่ถูกสร้างขึ้นจาก  และฮาวาสร้างมาจากกระดูกซี่โครงของอาดัน ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางกรณีอัลลอฮฺสร้างมนุษย์โดยไม่ได้ใช้ทั้งดินหรืออวัยวะใดๆของมนุษย์เพศชาย อยางกรณีของนบีอีซา(อะลัยฮิสสาลาม ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)

อัลลอฮฺตรัสว่า...

إِذْقَالَتِ الْمَلآئِكَةُيَامَرْيَمُإِنَّاللّهَيُبَشِّرُكِبِكَلِمَةٍمِّنْهُاسْمُهُالْمَسِيحُ عِيسَىابْنُمَرْيَمَوَجِيهًافِيالدُّنْيَاوَالآخِرَةِوَمِنَالْمُقَرَّبِينَ ، وَيُكَلِّمُالنَّاسَفِيالْمَهْدِوَكَهْلاًوَمِنَالصَّالِحِينَ ، قَالَتْرَبِّأَنَّىيَكُونُلِيوَلَدٌوَلَمْيَمْسَسْنِيبَشَرٌقَالَكَذَلِكِ اللّهُيَخْلُقُمَايَشَاءإِذَاقَضَىأَمْرًافَإِنَّمَايَقُولُلَهُكُنفَيَكُونُ
(آل عمران: 45-47) 

ความว่า : จงรำลึกถึงขณะที่มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย ! แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีแก่เธอด้วยคำ(กะลิมะฮฺ)คำหนึ่ง(บุตร)จากพระองค์ ชื่อของเขาคือ อัลมะซีห์ อีซาบุตรของมัรยัม โดยที่เขาจะเป็นผู้มีเกียรติในโลกนี้และปรโลก และจะอยู่ในกลุ่มคนใกล้ชิด(อัลลอฮฺ) และเขาจะพูดกับผู้คนขณะอยู่ในเปล และในวัยกลางคน และจะอยู่ในหมู่คนดี นางกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์จะมีบุตรได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่มิได้มีบุรุษใดแตะต้องข้าพระองค์  พระองค์ตรัสว่า กระนั้นก็ตาม อัลลอฮ์จะทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ประสงค์ เมื่อพระองค์ทรงชี้ขาดงานใดแล้ว? พระองค์ก็เพียงประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็นขึ้นเถิด แล้วมันก็จะเป็นขึ้น (อัลกุรอาน สูเราะห์ อาลิอิมรอน 3/45-47)

มัรยัม มารดาของนบีอีซา ไม่เคยมีชายใดมาแตะต้อง นั่นหมายถึงนางตั้งครรภ์โดยไม่มีการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่ของนางกับเซลล์อสุจิของฝ่ายชาย แต่นางคลอดลูกออกมาเป็น อีซา ชายที่สร้างความมหัศจรรย์แก่ชาวโลก เป็นผู้เกียรติ เป็นคนดี และเป็นผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ

นบีอีซา ได้บังเกิดขึ้น เช่นเดียวกับ นบีอาดัม อัลลอฮฺได้ตรัสในสูเราะฮฺ เดียวกัน อายัติที่ 59 ว่า ...

 إِنَّ مَثَلَ عِيسَى عِندَ اللّهِ كَمَثَلِ آدَمَ خَلَقَهُ مِن تُرَابٍ ثِمَّ قَالَ لَهُ كُن فَيَكُونُ 

ความว่า : แท้จริงอุปมาของอีซานั้น ดั่งอุปมัยของอาดัม พระองค์ทรงบังเกิดเขาจากดิน และได้ทรงประกาศิตแก่เขาว่าจงเป็นขึ้นเถิด แล้วเขาก็เป็นขึ้น ขึ้น (อัลกุรอาน สูเราะห์ อาลิอิมรอน 3/59)

                  อาดัม เกิดมาไม่มีพ่อและแม่ ไม่อาศัยทั้งอสุจิและไข่ฮาวา เกิดมาไม่แม่ แต่เกิดจากอาดัมที่เป็นชาย ไม่ได้เกิดจากอสุจิและไข่ แต่เกิดอวัยวะส่วนที่เป็นกระดูกซี่โครงที่เต็มไปด้วยเซลล์ร่างกายที่มีโครโมโซมเต็มรูปอีซา เกิดมาไม่มีพ่อแต่มีแม่ ผ่านกระบวนการตั้งครรภ์เหมือนคนอื่นๆ แต่ไม่อสุจิมามาเป็นต้นกำเนิดของสืบพันธุ์

                  เซลล์ร่างกายของนางมัรยัมไม่ไม่โครโมโซม Y ซึ่งตามปกติแล้วผลผลิตที่ได้จากฝ่ายหญิงโดยไม่ผสมกับฝ่ายชายนั้นจะไม่เกิดเพศชาย แต่อีซาเป็นเพศชาย ดังนั้น อัลลอฮฺจึงยืนยันการบังเกิดอีซาก็เสมือนกับการบังเกิดอาดัม คือ เมื่ออัลลอฮฺต้องการสิ่งใดแล้ว จะบอกสิ่งนั้นให้เกิดก็จะเกิดขึ้นปัจจุบันมนุษย์สามารถเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยอสุจิได้หรือไม่ ..?

                   ด้วยความฉลาดและความสามารถของมนุษย์ที่อัลลอฮฺได้ประทานให้ มนุษย์สามารถดัดแปลงเซลล์ที่อยู่ในสิ่งชีวิต จนสามารถควบคุมการสร้างชีวิตใหม่แก่สิ่งมีชีวิตโดยไม่ผ่านกระบวนการที่เป็นปกติ เช่น สามารถควบการเกิดชีวิตใหม่ของสัตว์แกะโดยไม่อาศัยอสุจิ หรือ ที่เราเรียกว่า โคลนนิ่ง

                   โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึงการคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร
                  
การโคลนนิ่ง ทำได้โดยการเอาเซลล์ที่มีนิวเคลียสจากของสัตว์ (ไม่ใช่เซลล์สืบพันธ์) ที่เราต้องการโคลนไปวางใกล้ชิดกับเซลล์ไข่ของสัตว์ตัวเมีย ที่ได้ดูดเอานิวเคลียส (ที่มีสารพันธุกรรมออกทิ้งแล้ว) เสร็จแล้วเขาจะเอาเซลล์นั้นไปผ่านกระบวนการเชื่อม หรือหลอมส่วนทั้งสองเข้าด้วยกันโดยใช้กระแสไฟฟ้า (electric pulse) หลังจากนั้นก็เอาเซลล์นั้นไปพัก ให้มันแบ่งตัวจนได้เซลล์หลายเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์ต่างมีโครโมโซมครบ 46 ชิ้น และมีศักยภาพ ที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน เป็นทารกในมดลูกของสัตว์ตัวเมีย ที่เราเอาตัวอ่อนไปฝากไว้ให้ตั้งครรภ์ (surrogate mother) เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนดแล้วก็คลอดออกมาเป็นลูก[i] 

          นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อต ชื่อ เอียน วิลมุต ได้โคลนแกะ ดอลลี โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำ ซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้ว ก็นำเซลล์ที่ได้ ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนด ออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมากลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาว เจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการ[ii]                 

                   การโคลนนิ่งมนุษย์นั้น ยังไม่มีรายงานว่าได้มีการทดลองและประสบผลสำเร็จแล้ว ในทางทฤษฎีสามารถที่จะโคลนนิ่งมนุษย์ได้ แต่อาจทำให้เกิดปัญหาด้านจริยธรรมมากมาย...  ภาพแสดงการโคลนนิ่งมนุษย์ อาศัยเซลล์ร่างกายอาจจะได้จากผิวหนัง ผม  กล้ามเนื้อ ฯลฯ โดยดึงเอานิวเคลียสออกแล้วไปวางไว้ในไข่ที่ได้ดึงนิวเคลียสออกก่อนแล้ว ได้เซลล์ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมครบ 23 คู่ แล้วเกิดกระบวนการแบ่งเซลล์จนเติบใหญ่เป็นทารกต่อไป

           เรื่องการโคลนนิ่งนี้เป็นเรื่องใหม่ ในอิสลามไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ได้แต่อุลามาอฺและนักวิชาการมุสลิมได้มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างชัดเจนและเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสิ่งต้องห้าม ดร.ยูซุฟ กอรฎอวี ได้ให้ความเห็นว่าอิสลามไม่เคยกีดกั้นวิทยาการใหม่ๆ แต่วิชาการหรือการงานต่างๆจะแยกออกจากศาสนาและจริยธรรมไม่ได้ อย่างที่บางกลุ่มพยายามเรียกร้องให้ ระบบต่างๆ เช่นระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง รวมถึงระบบการศึกษาและวิชาการให้เป็นอิสระแยกออกจากศาสนา โดยอ้างว่าศาสนาเป็นตัวการขัดขวางความก้าวหน้า

                อิสลามไม่เคยแยกชีวิตออกจากศาสนา ทุกการงานและทุกเวลาจะต้องอยู่ภายใต้กรอบและขอบเขตของศาสนา การโคลนิ่งมนุษย์แม้จะเป็นเรื่องที่ประโยชน์อยู่บ้างในวงการแพทย์ แต่อันตรายและปัญหาด้านจริยธรรมจะตามมามีมากว่าประโยชน์ที่ได้ 

                 ส่วนการโคลนนิ่งสัตว์ สามารถทำได้แต่มีแม้ดังนี้
  1.  ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อมนุษย์จริงๆ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของใครบางคนหรือกลุ่มคนเท่านั้น
  2. ประโยชน์ต้องมีมากกว่ากว่าโทษหรือผลเสีย
  3. ไม่เป็นการทำร้ายสัตว์ ทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาว [i] 


[i]http://www.islamonline.net/servlet/Satellite?pagename=IslamOnline-Arabic-Ask_Scholar/FatwaA/FatwaA&cid=1122528601126


[i]นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 เมษายน 2540

หมายเลขบันทึก: 68974เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท