ธรรมาภิบาลเชิงบวก


ผมมองว่าสังคมไทยยังมีเยื่อใยความสัมพันธ์ระหว่างคน ยังมีการรักษาหน้า คือยังมียางอายนั่นเอง ดังนั้น การพัฒนาเรื่องธรรมาภิบาลตามก้นฝรั่งต้อยๆ ไม่น่าจะดีสำหรับสังคมไทย เราน่าจะพัฒนาระบบธรรมาภิบาลล้ำหน้าฝรั่งได้ โดยใช้จุดแข็งของสังคมตะวันออก และที่สำคัญ น่าจะใช้มาตรการเชิงบวกให้มากหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำสิ่งดีๆ มายกย่องและเผยแพร่ขยายผล

ธรรมาภิบาลเชิงบวก

        วันที่ ๑๔ ธค. ๔๙ ดร. ประพนธ์ ได้ไปร่วมประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เรื่องการพัฒนาธรรมาภิบาลในสังคมไทย     สคส. เรามีสูตรเด็ดเรื่องนี้อยู่แล้ว      คือการเอาเรื่องราวดีๆ (success story) ในเรื่องนั้นๆ มา ลปรร. และชื่นชมยินดีต่อกัน     คือเราใช้ ST (storytelling) คู่กับ AI (Appreciative Inquiry) เป็นเครื่องมือสำคัญ     แต่ทราบว่าในที่ประชุมเขาเน้นคนละแบบ     คือเน้นการสั่งการ และทำเป็นโครงการแบบปูพรม มากกว่า

        ผมพยายามไตร่ตรองต่อ ว่า ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นของนอก     ฝรั่งคิดขึ้นมาเป็นยาแก้โรคโลภมากในสังคม โดยเฉพาะวงการธุรกิจ     หรือโลกเงินนิยม ทุนนิยม วัตถุนิยมนั่นเอง      สังคมไทยเรายังไม่ได้เคลื่อนไปสู่สภาพความโลภขึ้นสมองอย่างฝรั่ง      เราน่าจะยังมีสิ่งดีๆ เหลืออยู่ ที่สังคมตะวันตกไม่มี      สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องมือธรรมาภิบาลเชิงบวก ที่รัฐบาลต้องการ  

        ในระดับชุมชน เรามีตัวอย่างการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์     กลุ่มสัจจะวันละบาท     ที่ชุมชนมีวิธีควบคุมกันเองทางสังคม  จึงไม่มีการโกงหรือเอาเปรียบกัน     นี่คือตัวอย่างของธรรมาภิบาลของจริงในมิติไทย    

        ผมมองว่าสังคมไทยยังมีเยื่อใยความสัมพันธ์ระหว่างคน     ยังมีการรักษาหน้า คือยังมียางอายนั่นเอง     ดังนั้น การพัฒนาเรื่องธรรมาภิบาลตามก้นฝรั่งต้อยๆ ไม่น่าจะดีสำหรับสังคมไทย     เราน่าจะพัฒนาระบบธรรมาภิบาลล้ำหน้าฝรั่งได้ โดยใช้จุดแข็งของสังคมตะวันออก     และที่สำคัญ น่าจะใช้มาตรการเชิงบวกให้มากหน่อย     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำสิ่งดีๆ มายกย่องและเผยแพร่ขยายผล

วิจารณ์ พานิช
๒๓ ธค. ๔๙ 

หมายเลขบันทึก: 68935เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ...
  • หลายๆอย่างที่เรา..เมืองไทยเล็กๆ...สังคมเล็กๆ..อยู่แบบพี่น้องอยู่แล้วไปเลียนแบบเมืองใหญ่ๆ..เมืองคนรวย..
  • แล้วทุกข์ก็ตามมา..เช่นความรู้สึกของคนไข้ที่แต่เดิมมีความไว้ใจ...นับถือ...ฝากผีฝากไข้ไว้กับแพทย์ด้วยเชื่อว่าแพทย์จะดูแลเต็มความสามารถอยู่แล้ว...
  • แต่เดี๋ยวนี้กลับต้องมาคอยจ้องว่าเขาทำตามวิชาชีพหรือไม่(จะว่าไปก็ดีตรงที่ได้คุณภาพแน่แท้..เพราะแพทย์ระมัดระวังขึ้น)..
  • จะฟ้องท่าเดียว...ต่างกับฝรั่งที่กำลังจะกลับมาเชื่อมั่นในผู้ให้การรักษา..จนการฟ้องร้องน้อยลง....
  • ตามก้นเขาจนไม่ดูบริบทตนเอง...น่าเศร้ายิ่งนักค่ะ

สังเกตุเช่นเดียวกับคุณกฤษณาค่ะ  เดี๋ยวนี้ผู้ป่วยและญาติ  ไม่เชื่อมั่นในผู้ให้การรักษา  ไม่ว่าจะระดับแพทย์หรือพยาบาล  เอะอะอะไรก็เรียกร้องสิทธิ  แต่หน้าที่ไม่ทำและยังขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้

ในขณะเดียวกัน  ทีมผู้รักษาก็ควรจะต้องปรับปรุงเช่นกัน  ในเรื่องของการเรียกศรัทธากลับมาให้ได้นะคะ

เห็นด้วยกึ่งหนึ่ง ( ขออนุญาตเลียนแบบ คำของคุณหมอวิจารณ์ ) กับการกำหนดกติกา เพื่อป้องกันตนเองและพวกพ้องในสถานการณ์ต่างๆเพื่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน  แต่ก็ยังไม่น่าจะใช่เลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท