เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจประดับยนต์ (เพลิงไหม้)


เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจประดับยนต์ (เพลิงไหม้)

               เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจประดับยนต์ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง เรื่องเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ อาคารสำนักงานของร้านจะทำอย่างไร

 

          ประการแรก   เมื่อรู้ว่าที่ร้านกำลังถูกเพลิงไหม้ต้องแจ้งไปยังสำนักงานดับเพลิงในท้องที่ ที่ใกล้ที่สุดให้เข้ามาดำเนินการควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกไหม้ไปยังพื้นที่อาคารข้างเคียง

         ประการที่ 2  แจ้งสถานการณ์เหตุการณ์เพลิงไหม้ ให้ผู้ถือหุ้นทุกคนทราบโดยด่วน               

               ประการที่ 3  ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ ที่เราอยู่ ให้ทราบเพื่อลงบันทึกประจำวันไว้ เพื่อที่จะส่งเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานเข้ามา ทำการตรวจสอบพื้นที่ หาสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ว่าเป็นเพราะเหตุใด เช่น เกิดจากไฟฟ้ารัดวงจร เกิดจากความประมาทหรือเกิดจากการรอบวางเพลิง เป็นต้น      

       ระการที่ 4 แจ้งไปทางบริษัทประกันภัย ที่ทางร้านทำประกันอัคคีภัยไว้ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองทรัพย์สิน เช่น ตึกอาคารร้านค้า สำนักงาน โรงงาน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง ติดตั้งตรึงตรา เครื่องจักรและสต๊อกสินค้า เป็นต้น        การประกันอัคคีภัยเป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ที่ให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง โดยทางร้านจะได้รับความคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย หรือสำหรับทำแสงสว่าง นอกจากนี้ยังคุ้มครองทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากความร้อน หรือควันอันเป็นผลมาจากเพลิงไหม้ ความเสียหายเนื่องจากน้ำหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ในการดับเพลิง          รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ดับเพลิงของเจ้าหน้าที่ เช่น การทำลายบ้านข้างเคียงเพื่อป้องกันมิให้ไฟลุกลามออกไปอีกด้วย  ทางร้านได้ทำประกันไว้ทั้ง สิ่งปลูกสร้างตัวอาคารสำนักงานและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง เช่น เครื่องตั้งศูนย์ล้อ เครื่องยกรถไฮดรอริก เครื่องถ่วงล้อ ปั๊มลม เครื่องกลึง เป็นต้น         เหตุที่ทางร้านต้องทำประกันวินาศภัยไว้ก็เพราะ อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ต่าง ๆ ที่อยู่ในร้านมีมูลค่าสูงพอสมควร        

         ประการที่ 5  หลังจากเพลิงสงบลงแล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาของสำนักงานเขตเพื่อเข้าตรวจสอบอาคาร เพื่อที่จะได้ทราบว่าอาคารสำนักงานนั้นยังปลอดภัย เพียงพอที่จะทำการบูรณะซ่อมแซมต่อไปหรือไม่  หรือต้องทุบทิ้งสร้างใหม่         

         ประการที่ 6  เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกคน ประเมินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งบุคคลและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  หลังจากนั้นต้องระดมทุนเพิ่มจากผู้ถือหุ้นเพื่อใช้ในการดำเนินการต่อไป             

               ประการที่ 7  ติดตั้งป้ายขนาดใหญ่แจ้งโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบว่าทางร้านจะปิดปรับปรุงเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 2-3 เดือน(กรณีสร้างสำนักงานใหม่ เป็น อาคารโครงเหล็ก) เป็นต้น      

        ประการที่ 8  แจ้งไปยังบริษัทคู่ค้าทั้งใน และนอกประเทศ ในส่วนของอุปกรณ์ตกแต่บางอย่างที่ต้องขอชะลอการสั่งนำเข้าในช่วงปิด-ปรับปรุง      

        ประการที่ 9  แจ้งขออนุญาตปลูกสร้างอาคารใหม่กับสำนักงานเขตในท้องที่ การขออนุญาตสำนักงานเขตในการต่อเติมหน้าร้านทางเข้าร้านในกรณีที่ต้องให้รถวิ่งผ่านส่วนที่เป็นทางเท้า          

         ประการที่ 10  จ้างผู้รับเหมาก่อสร้างมา ทำสัญญาก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ให้แล้วเสร็จไปตามข้อกำหนด                    

         ประการที่ 11  ระหว่างที่ทางร้านปิดปรับปรุงนี้ จะเช่าตึกในละแวกใกล้เคียงเปิดขาย สินค้า ที่สามารถให้บริการลูกค้าได้ไปก่อน ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ลงทุนสูง เช่น เครื่องตั้งศูนย์ล้อ จะงดให้บริการก่อน        

         ประการที่ 12  ในส่วนของลูกจ้างก็จะย้ายมาทำที่ร้านชั่วคราว        

          ประการที่ 13  หลังจากก่อสร้างอาคารใหม่แล้วเสร็จ จึงย้ายอุปกรณ์ พร้อมสั่งซื้ออุปกรณ์ สั่งสินค้ากับตัวแทนจำหน่าย แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งป้ายหน้าร้าน ทางอินเตอร์เน็ท นิตยสารรถยนต์ ว่าทางร้านได้ปรับปรุงแล้วเสร็จพร้อมที่จะให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ         อีกทั้งร้านใหม่ได้มีการติดตั้งระบบป้องกันไฟอย่างสมบูรณ์แบบมี สปริงเกอร์น้ำครอบคลุมทั่วพื้นที่อาคาร  ระบบตัดไฟอัตโนมัติ ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินยามไฟดับ เป็นต้น      

หมายเลขบันทึก: 68907เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท