การมองข้ามพหุปัญญา:ปัญญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


ความสนใจของนักเรียนที่จะเรียนให้จบวุฒิการศึกษาต่างๆ นั้น ทุกคนมีแต่เน้นที่จะเข้าไปเรียนในระดับการอุดมศึกษา จนแทบไม่มีใครให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษา
 

ในสังคมหนึ่งๆ เราจะมีคนที่มีความหลากหลายในทุกทาง ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ทั้งประเภทและรูปแบบ ที่เราเรียกว่าโครงสร้างของพหุปัญญาที่แตกต่างกันในแต่ละคน

 เท่าที่ผมสังเกตความสนใจของนักเรียนที่จะเรียนให้จบวุฒิการศึกษาต่างๆ นั้น ทุกคนมีแต่เน้นที่จะเข้าไปเรียนในระดับการอุดมศึกษา จนแทบไม่มีใครให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษา จึงทำให้มีการเปิดหลักสูตร เปิดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นมากมาย แต่แทบจะไม่ค่อยเคยเห็นสถาบันที่เน้นอาชีวศึกษามากนัก หรือมีก็น้อยเต็มที 

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ ก็คือ หลักการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนาทรัพยากรให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งมีโครงสร้างการทำงานเช่นเดียวกับกองทหารที่เราไม่จำเป็นต้องมีนายพลจำนวนมาก หรือนายร้อยจำนวนมาก แต่เราจำเป็นต้องมีพลทหารและนายสิบจำนวนมาก เป็นสัดส่วนอย่างน้อยก็สิบเท่าขึ้นไป เช่น ในหมู่หนึ่งควรจะมีนายสิบ 1 คน และพลทหาร 10 คน และในกองร้อยหนึ่ง ก็ควรจะมีนายทหาร 1-2 คน ที่เหลือก็เป็นนายสิบและพลทหารอีกเป็นร้อย จึงจะเป็นกองกำลังที่เป็นปกติ

 

ลองนึกดูสิครับ ถ้ากองร้อยหนึ่งมีนายร้อยอยู่ 50 คน มีนายสิบอยู่ 3 คน มีผลทหารอีก 5 คน จะรบกันอย่างไรครับ ใครจะเป็นหน่วยหน้า หน่วยหลังครับ ใครจะบัญชาใคร

 

นี่คือปัญหาของระบบการพัฒนาการศึกษาไทยครับ เราเน้นการพัฒนาบุคลากรระดับอุดมศึกษา เปรียบเสมือนเน้นการพัฒนานายทหาร แต่เราไม่เน้นการพัฒนาอาชีวศึกษา ที่เปรียบเสมือนการพัฒนากองกำลังฐานล่าง ที่จำเป็นพอๆกันกับยอดบน

 

ผมไม่ทราบว่า เรากำลังทำอะไรกัน ทำไมเราจึงต้องปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปแบบไม่มีแผนอย่างนี้ แล้วเราจะพัฒนาประเทศกันอย่างไร ผมไม่เข้าใจครับ ใครทราบช่วยอธิบายด้วยครับ

 

แนวทางที่อาจเป็นไปได้ก็คือการควบคุมอัตราการขยายตัวทางการศึกษา ของบุคลากรให้สอดคล้องกับความจำเป็นของการพัฒนาประเทศ โดยพิจารณาทั้งความต้องการของประเทศ และโครงสร้างทางพหุปัญญาของกลุ่มประชากร

 

แล้วในที่สุดเราจะได้บุคลากรที่มีความรู้เป็นสัดส่วนพอเหมาะ และมีความสามารถสูงเพราะมีการแข่งขันสูง ไล่ลงมาเป็นชั้นๆ จนทำให้เรามีคุณภาพประชากรสูงในทุกมุม ซึ่งแตกต่างจากในปัจจุบันที่ปล่อยตามสบาย ทำให้คนเรียนเปรอะไปหมด การแข่งขันแทบไม่มี จะมีบ้างก็เฉพาะบางสาขาเท่านั้น ทำให้คุณภาพของการศึกษาต่ำมากเพราะใครจะเรียนอะไรก็ได้ ตามใจชอบเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจว่าประเทศชาติต้องการคนที่มีคุณภาพในสัดส่วนต่างกันอย่างไร

 ลองคิดดูนะครับ วันนี้ยังไม่สายครับ แต่พรุ่งนี้ไม่แน่

 

หมายเลขบันทึก: 68896เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • คนไทยเป็นคน สบายๆคร้บ ไม่อยากให้ลูกลำบาก  จึงส่งให้ลูกเรียนในระดับอุดมศึกษา เพื่อที่จะได้ เป็นเจ้าคน นายคน  ครับ
  • วัฒนธรรม และความเชื่อ ที่เข้าใจผิดๆ ว่า ข้าราชการ แปลว่าเป็นเจ้าเป็นนาย และเข้าใจว่า คนที่เรียนอาชีวะ เป็นกลุ่มคน ใช้แรงงาน จึงไม่มีไครอยากเรียน ครับ
สังคมเราตอนนี้ผมว่าเป็น "สังคมคนหน้าบาง"  ทำอะไรก็อายไปซะหมด ไม่ชื่นชมกับอาชีพของตัวเองที่ทำอยู่ และชำนาญอยู่มากเสียด้วย มักจะชื่นชม ยอมรับคนที่มียศตำแหน่ง ศักดิ์และศรี (ที่บางคนก็แทบจะมีแค่ภาพลวงตา ไม่มีคุณค่าใดใดที่น่าชื่นชม) ดังนั้นแรงดึงดูดของการศึกษาจึงเป็นระบบอุดมศึกษาที่น่าสนใจมากกว่าอาชีวศึกษา เพราะเป็นบันไดก้าวแรก (ที่เค้าคิดว่ามันใช่) ไปสู่เป้าหมายของความ "มีหน้ามีตาในสังคม"     เห่อ!!มันเศร้าครับอาจารย์   แต่ผมว่าสุดท้ายเค้าก็จะเรียนรู้ปรับวิถีชีวิตได้เอง(มั้ง) !!!!!

 

   ถ้าพิจารณาเรื่องการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจแล้ว

น่าคิดมาก  แต่ที่สูญเสียมากกว่านั้นคือ..

กลุ่มที่ตกรถไฟขบวนสุดท้าย..ไปหลงคิดติดปริญญา

นึกว่า ปริญญาเป็นคำตอบสุดท้าย..

ที่แท้เพิ่งจะเปิดหน้าสารบัญเท่านั้น

ทุกมหาวิทยาลัยสามารถสอนได้ครึ่งเดียว

ของความรู้ความสามารถลูกศิษย์

นิสิตจะต้องเรียนต่อๆๆไป

การเข้าศึกษา..ก็เพื่อให้รู้วิธีค้นหาความรู้

ไม่ใช้ไปได้ยาวิเศษที่ระลึกรู้ได้โดยอัตโนมัติ

เพียงแต่การที่ได้เข้าศึกษาให้สอดคล้องกับตัวตน

สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ

ประเทศ สังคมโดยรวมก็ไม่ต้องได้รับผลกระทบจาก

การบริหารทรัพยากรบุคคลของชาติ

คุณอิทธิพล

เรื่องพหุปัญญา นี่น่าจะเป็นหลักนำในการพัฒนาทรัพยากรมนุบย์

เราน่าจะยอมรับกันได้ โดยไม่ต้องอายใคร

เพราะพหุปัญญาเป็นข้ออ้างที่ใครเถยงได้ยากครับ

แต่ชอบไม่ชอบนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

อาจจะเกี่ยว หรือไม่เกี่ยวกับพหุปัญญาก็ได้

เพราะบางทีคนก็ไม่รู้จักตัวเอง ทั้งหมด

ครูบาครับ

การสูญเสียทางเศรษฐกิจนั้นประมาณค่ามิได้แน่นอน แต่ใครจะจ่ายค่าโง่ตัวนี้ครับ ซึ่งได้แก่

  1. ค่าจัดหลักสูตร ที่ไม่ใช้ประโยชน์ หรือเรียนไปแล้วไม่ได้ใช้
  2. ค่าเสียหายที่ประเทศขาดแรงงานที่ควรจะมี
  3. ค่าสูญเสียคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ไม่ตรงกับพหุปัญญาของแต่ละคน
  4. ค่าสูญเสียชดเชยการเสียชีวิต จากการฆ่าตัวตาย เนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานที่ไม่ตรงกับพหุปัญญาของตัวเอง
  5. ฯลฯ

รัฐมนตรี หรือฝ่ายจัดการการศึกษากล้ารับผิดชอบไหม

ถ้าไม่กล้าก็หลบไปซะ หรือเปลี่ยนพฤติกรรมซะ ง่ายนิดเดียว ถ้าจะทำ

อย่าทนเป็นปูเสฉวนในกระดองเต่าเลยครับ ไม่สนุกหรอกครับ

   ความผิดพลาดที่ส่งผลให้เป็นอย่างที่นำเสนอในบันทึกนี้ ผมว่ามีหลายอย่างครับ  เช่น

  • การตีราคาค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรมให้กับคนทำงาน   มันเป็นความอัปยศ  อยู่ไม่น้อย ที่สังคมปล่อยให้คนที่ เหนื่อยแทบตาย  อยู่ได้ แต่ ลำบากจนแทบสุดทน  ในขณะที่กำหนดกันเอง  ว่ากันเอง ให้กลุ่มที่ ใช้สมอง  ใช้ความคิด ได้รับประโยชน์สูงกว่าพวกแรกราว  ฟ้ากับเหว  น่าจะรู้สำนึกกันได้บ้างแล้วว่าแท้จริงแล้ว 1 ปฏิบัติ นั้นมีค่าเหนือกว่า 10000 ความคิด(เฉยๆ) ชนิดที่เทียบกันไม่ได้เลย
  • เพราะเหตุดังกล่าว คนทั่วไปจึงเที่ยววิ่งหา ใบรับรอง ว่าตนไม่ใช่พวกที่ต้องปฏิบัติแล้วนา .. และนั่นคือที่มาของการ ขายดี ของหลักสูตรอะไรก็ได้ที่มีคำว่า บริหาร ติดอยู่ด้วย  ยังไม่ทันไรเลย บางทีก็เห็นท่าเดินไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเสียแล้ว  จะกินจะอยู่ก็ล้วนต้อง ไม่ธรรมดา  คนสอนบางคนก็มีส่วนปลูกฝัง ความหลง ข้อนี้อยู่ด้วย อนิจจา !
  • อาชีวศึกษา  ต้องมีข้าวของเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ การฝึกฝน ค่อนข้างมาก  ลงทุนสูง  จัดการศึกษาแบบ ค้ากำไรเกินควร จึงทำได้ยากครับ สู้แบบ เอาชื่อคนดัง มาแปะหน้าฉากเพื่อเรียกลูกค้า แล้วให้ ใครบางคนมาพล่าม เนื้อความตามตำราอันเป็นสรณะของผู้สอนไม่ได้   มันขลังกว่ากันเยอะเลยครับ
  • .. พอก่อนดีกว่าครับ จะพยายามไปหา มุมบวก มาเขียนกับเขาบ้าง  แต่ยอมรับว่า ทำได้ลำบากจริงๆ กับเรื่องแบบที่กำลังว่ากันอยู่ตอนนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท