การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แนวคิดและประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ๑๑


การเลือกเป็นข้าราชการหรือพนักงาน เป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่มหาวิทยาลัยมีความคาดหวังว่า ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานจะต้องทำงานให้มหาวิทยาลัยอย่างได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพเหมือนกัน ใช้เกณฑ์กำหนดภาระงานและเกณฑ์การประเมินเหมือนกัน ถ้าข้าราชการจะทำงานหนักและทำงานดีก็จะดีกับมหาวิทยาลัย ถ้าจะรับเงินเดือนต่ำกว่าก็ไม่ว่าเพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล

การมีคำตอบเพื่อลดความกลัวการเปลี่ยนแปลง

          การเปลี่ยนแปลงนำมาแห่งความไม่แน่นอน มนุษย์ทุกคนชินกับสิ่งที่รู้จักหรืออยากเห็นคำตอบในอนาคตที่ ชัดเจน โดยเฉพาะประโยชน์ส่วนตน จึงไม่อยากเปลี่ยนแปลง
          จนถึงเดือนมิถุนายน 2545 เป็นเวลา 3 ปี 8 เดือนหลังจากการเปลี่ยนสภาพของข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของมจธ.กลุ่มแรก มจธ.มีพนักงานประมาณเกิน 50% เล็กน้อย ไม่มีความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนสภาพของสายอาจารย์และสายอื่นๆ รวมทั้งอายุการทำงาน

          ผมได้สอบถามเหตุผลที่ข้าราชการยังไม่เปลี่ยนสภาพพบว่า มีเหตุผลหลัก 4 ประการ

  • ประการแรก เป็นเหตุผลส่วนตัวเช่น ต้องการทำงานให้ครบสิบปีเพื่อให้ได้บำนาญ ต้องการให้ได้ตำแหน่งทางวิชาการก่อนเพื่อเรื่องการขอตำแหน่งวิชาการจะได้ไม่ยืดเยื้อและจะได้ค่าตอบแทนสูงขึ้นในระบบใหม่ บางคนก็แจ้งว่าบิดามารดาไม่เห็นด้วย (เพราะบิดามารดาไม่รู้จักความหมายขององค์กรในกำกับรัฐบาล) นอกจากนั้น บางคนก็ให้เหตุผลว่าเป็นข้าราชการก็ทำงานหนักและทำงานดีได้
  • ประการที่สอง เป็นเหตุผลเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ เห็นว่าเงินเดือนไม่สูงพอที่จะจูงใจและทดแทนประโยชน์ที่เสียไปจากระบบราชการ เห็นว่าระบบสวัสดิการขาดความชัดเจน (เช่น บอกไม่ได้ว่าปีไหนจะได้สวัสดิการเพิ่มเติมเรื่องอะไร) เห็นว่าบัญชีเงินเดือนไม่ชัดเจน (กล่าวคือไม่เห็นขั้นเงินเดือนชัดเจนเหมือนระบบราชการ จึงคาดไม่ได้เหมือนระบบราชการว่าทำงานกี่ปีจะได้เงินเดือนเท่าไร)
  • ประการที่สาม เป็นเรื่องอนาคต กลัวว่ารัฐบาลจะไม่ให้เงินมหาวิทยาลัยในกำกับ นอกจากนั้น เห็นว่าสัญญาจ้างไม่จูงใจ ไม่ชัดเจนว่าจะเป็นพนักงานประจำไม่มีสัญญาจ้างกำหนดช่วงเวลาเมื่อใด
  • ประการที่สี่ มีความเป็นห่วงเรื่องความยุติธรรม ยังไม่มีความมั่นใจเรื่องระบบประเมินพนักงานและผู้บริหาร ไม่มีการเปิดเผยเงินเดือนให้สาธารณะรู้ จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินแล้วยุติธรรม

          ผมคาดว่าในส่วนของมจธ. ตัวเลขข้าราชการที่เปลี่ยนสภาพคงจะเข้าใกล้ 80% ภายในเวลาไม่เกินสิบปี หลังจากนั้น ข้าราชการคงจะลดลงเพราะการเกษียณอายุมากกว่าการเปลี่ยนสภาพ

 มีมาตรฐานเดียวในการทำงาน

          ผมได้พูดชัดเจนว่าการเลือกเป็นข้าราชการหรือพนักงาน เป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่มหาวิทยาลัยมีความคาดหวังว่า ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานจะต้องทำงานให้มหาวิทยาลัยอย่างได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพเหมือนกัน ใช้เกณฑ์กำหนดภาระงานและเกณฑ์การประเมินเหมือนกัน ถ้าข้าราชการจะทำงานหนักและทำงานดีก็จะดีกับมหาวิทยาลัย ถ้าจะรับเงินเดือนต่ำกว่าก็ไม่ว่าเพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล ได้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวมา 3 ปีแล้ว

ติดตาม ออกจากราชการประตูหน้า แอบเข้าประตูหลัง   ตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 68820เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท