การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แนวคิดและประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ๖


จุดเหมือนระหว่าง มทส.และ พระจอมเกล้าธนบุรีคือ ต่างเป็นมหาวิทยาลัยส่วนจุดต่างคือ มทส.เป็นองค์กรเกิดใหม่สามารถวางโครงสร้างและกติกาต่าง ๆได้ง่าย ในขณะที่พระจอมเกล้าธนบุรีมีเงื่อนไขต้น(Initial Conditions) และขีดจำกัด(Boundary Conditions)ประมาณ 40 ปี

การเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น

การเรียนรู้จากองค์กรไทย
          ระหว่างพ.ศ. 2535-2541 อาจารย์หริสได้สร้างทีมศึกษาประเด็นต่าง ๆ ที่จะประกอบเป็นร่างพระราชบัญญัติ มจธ.และระเบียบหลัก 3 กลุ่มของมหาวิทยาลัย ได้แก่

  1. ด้านวิชาการ
  2. ด้านบุคคล
  3. ด้านงบประมาณการเงินและทรัพย์สิน

           ศึกษาทั้งจากองค์กรในประเทศและจากต่างประเทศ


          มีคณะทำงาน 7 ชุด เพื่อดำเนินการดังนี้

  1. กลุ่มแผนงานและบริหารงานบุคคล
  2. กลุ่มการเงินทรัพย์การเงินและพัสดุ
  3. กลุ่มเชิงบริหาร
  4. กลุ่มเชิงวิชาการ
  5. กลุ่มสวัสดิการ
  6. กลุ่มกิจการนักศึกษา และ
  7. กลุ่มบริการสารสนเทศ

          มีคณะทำงานมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลทำหน้าที่บูรณาการให้เกิดภาพรวมโดยมีอาจารย์หริสเป็นประธาน คณะทำงานนมหาวิทยาลัยในกำกับชุดนี้ก็ยังทำงานอยู่จนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน 2545) เพราะมีเรื่องการสร้างกลไกบริหารที่จะต้องทำงานต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องบุคคลและเรื่องสวัสดิการ


          ขณะนั้นมีองค์กรในกำกับของประเทศไทยที่เพิ่งเกิดใหม่เพียง
4 องค์กรคือ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี-มทส.(พ.ศ. 2533)
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ-สวทช. (พ.ศ. 2535)
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย-สกว. (พ.ศ. 2535) และ
  • สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งชาติ-สวรส. (พ.ศ. 2535)

          มทส.และ สวทช.เป็นองค์กรวิชาการและเป็นองค์กรปฏิบัติจึงมีลักษณะคล้ายพระจอมเกล้าธนบุรีในบางลักษณะ

          ในขณะที่ สกว.และ  สวรส. เป็นองค์กรสนับสนุนการวิจัยไม่มีการปฏิบัติ

          จุดเหมือนระหว่าง มทส.และ พระจอมเกล้าธนบุรีคือ ต่างเป็นมหาวิทยาลัยส่วนจุดต่างคือ มทส.เป็นองค์กรเกิดใหม่สามารถวางโครงสร้างและกติกาต่าง ๆได้ง่าย ในขณะที่พระจอมเกล้าธนบุรีมีเงื่อนไขต้น(Initial Conditions) และขีดจำกัด(Boundary Conditions)ประมาณ 40 ปี

          จุดเหมือนของ สวทช.และ พระจอมเกล้าธนบุรีคือ ต่างเป็นองค์กรวิชาการ  มีพันธกิจด้านวิจัยบริการเหมือนกัน แต่สวทช.ไม่ใช่มหาวิทยาลัย

          อย่างไรก็ตามการคิดเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับของพระจอมเกล้าธนบุรีได้แนวแบบมาจาก มทส.และ สวทช. พอสมควรนอกจากนั้นได้การสนับสนุนจากผู้บริหารของทั้งสององค์กรคือ อาจารย์วิจิตร ซึ่งเป็นอธิการบดี มทส. อาจารย์ยงยุทธ เป็น ผู้อำนวยการ สวทช.

          อีกประการหนึ่งในช่วงนั้นอาจารย์อาวุโสของพระจอมเกล้าธนบุรีได้ไปร่วมก่อตั้งและบริหารองค์กรของ สวทช.ด้วย ได้แก่ อาจารย์หริส เป็นผู้อำนวยการ MTEC อาจารย์ปัญญา ศรีจันทร์ เป็นรองผู้อำนวยการ MTEC อาจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน์ เป็นรองผู้อำนวยการและต่อมาเป็นผู้อำนวยการ BIOTEC อาจารย์มรกต ตันติเจริญ เป็นรองผู้อำนวยการ BIOTEC และผมเป็นรองผู้อำนวยการ NECTEC พวกเราจึงเห็นว่า สวทช.ในฐานะองค์กรในกำกับที่เกิดใหม่เป็นอย่างไร

การเรียนรู้จากองค์กรต่างประเทศ
          พระจอมเกล้าธนบุรีได้ศึกษาการวางรูปแบบของการบริหารจาก
องค์กรต่างประเทศได้แก่ Michigan State University (เคยมีอดีตอธิการบดีมาให้คำแนะนำ) MIT (โดยการสนับสนุนของมูลนิธิศึกษา-พัฒน์) และมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย(โดยโครงการ Thai University Administrator Shadowing-TUAS ของทบวงมหาวิทยาลัย)


          ความสัมพันธ์กับ MIT มีค่อนข้างสูงและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยบทบาทของอาจารย์หริสและศิษย์เก่าMITในประเทศไทยที่ต้องการสร้างมหาวิทยาลัยไทยที่ดี เรามองว่า MIT เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก  รูปแบบโครงสร้างและระบบบริหารควรให้แนวคิดแก่พระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเล็ก โฟกัสและต้องการเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ติดตาม ความพยายามจนสำเร็จ   ตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 68800เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ยังมีคำถามที่ค้างคาใจในหลายๆ เรื่องครับ
  • ตัวอย่างเช่น เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบแล้ว จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยได้หรือไม่ สำหรับมุมมองของผม กับสุรนารี และพระจอมเกล้าธนบุรี ต่างเป็นมหาวิทยาลัยที่วางตัวเองเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางทางด้านเทคโนโลยีทั้งคู่
  • สุรนารีอายุมากกว่า ธนบุรี มาจากมหาวิทยาลัยเดิม แต่เท่าที่รู้ จากการประเมินล่าสุด จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย  สุรนารีอยู่อันดับ 3 พระจอมเกล้าธนบุรี อยู่อันดับ 4 ถือว่าใช้ได้ในฐานะมหาวิทยาลัยน้องใหม่ แต่ถ้าย้อนไปดูอันดับ 1 และ 2 ปรากฏว่าเป็นมหิดล และจุฬา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในระบบทั้งคู่ และ อันดับ  5 และ 6 คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเชียงใหม่ แต่ว่าทั้ง 4 มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ คือมีหลากหลายคณะวิชา
  • และถ้าเป็นอย่างนี้อีกสัก 10 ปี มหาวิทยาลัยในกำกับทั้งสองจะมีโอกาสแซงขึ้นไปยืนแป้นอันดับ 1 และ 2 หรือไม่ ทำไมมหาวิทยาลัยที่มีกลไก การกำกับที่ยุ่งยากกว่า การจัดการงบประมาณที่ยุ่งยากกว่า มีอาจารย์ที่มีเงินเดือนน้อยกว่า จึงดำเนินการเมื่อได้รับการประเมินแล้วดีกว่า ผมว่ามันน่าคิดนะครับ
  • แต่อีกประเด็นหนึ่ง ผมไม่ทราบว่า บัณฑิตที่จบจากสถาบันในกำกับ กับมหาวิทยาลัยในกำกับ จะได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน มากน้อยเพียงใด ซึ่งอันนี้ผมว่าก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาด้วย อย่าง นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ผมว่ารามคำแหง เค้าก็โอเค นะครับ

         มหิดล กับ จุฬา ต่างก็ไหวตัวเตรียมออกนอกระบบเหมือนกันนะคะ ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ของเรา ท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ท่านให้ความเห็นเรื่องนี้ไว้บ่อยทีเดียวค่ะ

         อีกอย่าง คุณภาพของบัณฑิตที่แต่ละมหาวิทยาลัยผลิต  น่าจะเป็นเรื่องที่หน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตใช้เป็นเครื่องพิจารณายอมรับหรือไม่ยอมรับ   มากกว่าจะพิจารณาว่าพวกเขาจบมาจากมหาวิทยาลัยนอกหรือในระบบ นะคะ

         หรืออีกนัยหนึ่งคือ การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ไม่ได้รับประกันว่า จะทำให้มหาวิทยาลัยนั้นๆ มีคุณภาพ หรือทำให้บัณฑิตเป็นที่ยอมรับ

         ระบบที่ดี แต่ถ้าการบริหารจัดการไม่ดี  ผู้นำไม่เก่ง  ก็ไปไม่รอดเหมือนกันค่ะ

          แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องปรับระบบนะคะ  ทุกสิ่งจะเกื้อกูลกัน เมื่อระบบดี  คนดี+เก่ง จะสามารถจัดการให้เข้าที่ได้ง่ายขึ้น ไม่ท้อแท้ล่าถอยไปเสียก่อน  ผลผลิตต่างๆ ก็จะดีตามกันมาเองแหละค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท