ชื่นชมนักวิจัยอุบัติเหตุจราจร : ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล


          อ.หมอไพบูลย์ เรียนมาทางด้านระบาดวิทยา   ทำงานอยู่ที่ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน   คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี   มาทำงานร่วมกับคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ   (NEBT- National Epidemiology Board of Thailand)   จนเปลี่ยนชื่อมาเป็นมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ-มสช.   (NHF- National Health Foundation)   และอ.หมอไพบูลย์ค่อยๆ จับเรื่องนโยบาย และยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร

          เป็นการจับภาพใหญ่   ภาพเชิงระบบ  ในการสร้างและใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน

          ในการนำเสนอเรื่องราวของความสำเร็จ ใน Lunch Talk ของสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๘ ธ.ค. ๔๙   ผมถามอ.หมอไพบูลย์ว่าทำมากี่ปี   ได้รับคำตอบว่า ๑๐ ปี   โดยที่ผมเป็นกรรมการ NEBT  และ มสช. มาโดยตลอด   และรู้สึกว่าอ.หมอไพบูลย์น่าจะทำมาประมาณ ๑๕ ปี

          หลักฐานความสำเร็จ    คือการที่ประเทศไทยจับเรื่องแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรอย่างจริงจังในระดับนโยบาย   และทำกันอย่างเป็นระบบ    และอ.หมอไพบูลย์ได้รับเชิญให้ร่วมเขียนหนังสือ  "Developing policies to prevent injuries and violence : guidelines for policy-makers and planners"   ขององค์การอนามัยโลก

          ในภาพใหญ่   อุบัติเหตุจราจร คร่าชีวิตคนไทย ปีละ ๑๓,๐๐๐ คน   บาดเจ็บปีละ ๑ ล้านคน   ความสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละกว่า ๑ แสนล้านบาท   และแนวโน้มยังไม่ลดลง

          ผมได้ความรู้ความเข้าใจว่า   นักวิชาการ/วิจัย   หากเข้าไปคลุกกับปัญหา   มีกลไกให้ได้รับโอกาสคลุกกับปัญหา   กับผู้ปฏิบัติในหลากหลาย sector ที่เกี่ยวข้อง   (ซึ่งในกรณีนี้คือ ตำรวจ, วิศวกรผู้ออกแบบถนน ไฟถนน สัญญาณถนน ฯลฯ, ฝ่ายการเมือง, ชุมชน/ผู้นำในพื้นที่, ชมรมผู้พิการ, ฯลฯ)   ก็จะสามารถผลิตผลงานวิจัย/วิชาการที่มีคุณค่า ทั้งทางวิชาการและทางการใช้ประโยชน์ได้

          อ.หมอไพบูลย์เป็นตัวอย่างของนักวิจัยที่ทำงานวิจัยแบบ  "กัดติด"

          Powerpoint ของการนำเสนอ  ดูได้ที่นี่  และ

วิจารณ์   พานิช
๒๐ ธ.ค. ๔๙

 

ศ. นพ. ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล กำลังเล่าเรื่องการวิจัยอุบัติเหตุจราจร ใน Lunch Talk

หมายเลขบันทึก: 68742เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท