การถอดบทเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (โมเดลปลาทู)


การถอดบทเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ โมเดลปลาทู AAR
การถอดบทเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After action Review - AAR)เทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  
แนวคิดในการดำเนินกิจกรรม (AAR ร่วมกับ NGT)

                AAR เป็นแนวคิดกระบวนการกลุ่มประเภทหนึ่งซึ่งใช้เพื่อการถอดความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ออกมาเป้นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge) ผ่านกระบวนการเล่าเรื่อง (Story Telling) ความสำเร็จเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่

                NGT เป็นแนวคิดกระบวนการกลุ่มประเภทหนึ่งซึ่งใช้ในการระดมความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม ตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการคือ

1)      เชื่อมั่นกับทุกความสำเร็จ/ความคิดเห็น

2)      สมาชิกแต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์เท่า ๆ กัน และ

3)      มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทุกความสำเร็จ/ความคิดเห็นเป็นข้อสรุปของกลุ่ม

  องค์ประกอบของการดำเนินกิจกรรม (โมเดลปลาทู ของ สคส.)               
1.    Knowledge Vision  ส่วนหัวและตา มองว่ากำลังจะไปทางไหน ต้องตอบให้ได้ว่า ทำ KM ไปเพื่ออะไร               
2.    Knowledge Sharing   ส่วนกลางลำตัว ส่วนที่เป็น หัวใจ ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน               
3.    Knowledge Assets   ส่วนหางที่สร้างคลังความรู้ 
การประยุกต์โมเดลปลาทูกับการดำเนินกิจกรรม AAR                ตัวอย่าง :

                1.    เป้าหมายของความรู้ (Knowledge Vision) มี 1 เป้าหมายคือ เทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพ

                2.    การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการเล่าเรื่องความสำเร็จเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยมีหลักการที่สำคัญคือ แนวความคิดชื่นชมและเห็นคุณค่าในความสำเร็จ (Appreciative Approach) ซึ่งกันและกัน และความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

                        แนวทางการเล่าเรื่องตามเป้าหมายที่ 1

1)      ความภาคภูมิใจหรือความสำเร็จเกี่ยวกับการสอนของท่านคืออะไร?

2)      วิธีการหรือกระบวนการที่ใช้เป็นอย่างไร?

3)      มียุทธวิธีใดบ้างที่ใช้เพื่อทำให้เกิดความสำเร็จ?

4)      อะไรคือเงื่อนไข ปัจจัย หรือสถานการณ์ ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ?

5)      ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น เกิดอะไร เกิดกับใครบ้าง และเกิดอย่างไร?

6)      ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างในความสำเร็จดังกล่าว?

                3.    คลังความรู้ (Knowledge Asset)  เป็นกระบวนการถอดความรู้จากเรื่องเล่าออกมาเป็นขุมทรัพย์ความรู้ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้ที่เป็น Best Practices หรือ Lesson Learned ส่วนมากจะเน้นความรู้ที่ตอบคำถามอย่างไร (How to) ทำไม (Why) มากกว่าการตอบคำถามว่าอะไร (What) 
การเตรียมงานสำหรับผู้รับผิดชอบกิจกรรมกลุ่ม

                1.    จัดเตรียมสถานที่ (จัดที่นั่งเป็นรูปตัว L หรือ วงกลม)

                2.    แจกเอกสาร (แนวทางการดำเนินกิจกรรม) และกระดานสำหรับ บันทึกการเล่าเรื่อง

                3.    ทบทวนความเข้าใจกระบวนการ AAR

                4.    สร้างบรรยากาศที่ดี และกระตุ้นให้เกิดการเล่าเรื่องทรงพลังที่เร้าใจ

                5.    บันทึกเรื่องเล่าลง Flip Chart

                6.    ระดมสมองเพื่อสรุปเป็นคลังความรู้ (Knowledge Asset)

หมายเลขบันทึก: 68627เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาต แชร์ความคิด .........

ถ้าชุมชนนักปฏิบัติเกิดแบบมีความผูกพันธ์กัน และกลมกลืนไปกับงานประจำได้

การบริหาร KM ในส่วนอื่นๆ จะไปได้ด้วยดี ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท