การณ์...เวลาเปลี่ยนไปเร็วจริงๆ (5)


"การดูแลสุขภาพร่างกายแบบช่างๆ"

            เนื่องจากสถานการณ์ในโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสทุกวัน กาลเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง ทุกวินาทีไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไร เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความรู้รอบด้านเป็นทุนทรัพย์ย่อมได้เปรียบ

            ทีมงานซ่อมบำรุงจึงขอตามกระแสกับเค้าบาง วันนี้ต้องละทิ้งการซ่อม บำรุง รักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆก่อน เพื่อที่จะมาซ่อม บำรุง รักษา สุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากอ่านบทความใน www.thaihealth.or.th และคิดว่านะจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆชาวบำราศ

            เนื่องจากช่วงนี้อากาศย่างเข้าสู่ฤดูหนาว(จริงๆ)กันแล้ว จึงขอแนะนำวิธีการดูแลรักษาสุขภาพโดยทั่วไปกันนะครับ การดูแลรักษาสุขภาพในช่วงฤดูนี้ ต้องดูแลให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น ตั้งแต่การรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม การทำความสะอาดร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย

            1.การรับประทานอาหาร ในฤดูหนาวควรเลือกรับประทานอาหารที่ร้อนปรุงเสร็จใหม่ๆ มีรสเปรี้ยวขมเล็กน้อยและรสเผ็ด เช่น แกงส้มดอกแค แกงขี้เหล็ก แกงป่า สะเดาน้ำปลาหวาน และน้ำพริก เป็นต้น

            2.การเลือกเครื่องดื่ม ควรจะเป็นเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น น้ำขิง ชาสมุนไพร เพื่อช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการไอ แก้หวัด ช่วยให้เสมหะอ่อนขับตัวออกได้ง่าย ป้องกันการเป็นหวัดได้อีกทางหนึ่ง

             3.การทำความสะอาดร่างกาย ควรอาบน้ำอุ่น เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรเป็นเสื้อผ้าที่หนา การอาบน้ำอุ่นจะทำให้ผิวแห้งง่ายกว่าอาบน้ำเย็น เพราะน้ำมันที่ผิวหนังจะถูกชะล้างออกไป รวมทั้งความชื้นของอากาศลดลง จะทำให้ผิวแห้งแตกและคัน ดังนั้นการดูแลผิวพรรณในฤดูหนาวจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ดูแลผิวพรรณ ได้แก่ น้ำมันงา ขมิ้นชัน ผิวมะนาว และผิวมะกรูด เป็นต้น

             การอาบน้ำอุ่นช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ในฤดูหนาวมักจะเป็นหวัด คัดจมูก คันตามผิวหนัง การนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการคัน ช่วยให้หายใจโล่งมาต้มอาบแทนการอาบน้ำเปล่า โดยใช้สมุนไพรที่หาง่ายๆ ดังนี้ครับ

             ยอดผักบุ้ง จำนวน 5 ยอด ใช้รักษาอาการคัดจมูก

            ใบมะกรูด จำนวน 3-5 ใบ แก้วิงเวียน ช่วยให้หายใจสบาย

            ใบมะขาม/ใบส้มป่อย 1 กำมือ แก้อาการคันตามร่างกายช่วยให้ผิวหนังสะอาด

           ต้นตะไคร้ จำนวน 3 ต้น บำรุงธาตุไฟ แต่งกลิ่น -หัวไพล จำนวน 2-3 หัว ลดอาการอักเสบ ปวด บวม

           ใบหนาด จำนวน 3-5 ใบ ช่วยบำรุงแก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย 

           หัวขิ้นชัน จำนวน 2-3 หัว สมานแผล แก้คันตามผิวหนัง

            การบูร จำนวน 15 กรัม แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

           หัวหอมแดง จำนวน 3-5 หัว แก้หวัดคัดจมูก นำสมุนไพรดังกล่าวมาต้มรวมกัน ผสมน้ำเย็นพออุ่นอาบ จะช่วยการไหลเวียนของโลหิต ลดการอักเสบของผิวหนัง ช่วยให้หายใจโล่ง สบายตัว

          ถ้าบ้านของท่านใดมีตู้อบสมุนไพรสำเร็จรูป ก็ใช้สมุนไพรใส่หม้อต้มน้ำหรือหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแล้วใช้ไอน้ำอบสมุนไพร ซึ่งในตู้อบสำเร็จรูปจะมีที่สำหรับให้ไอน้ำผ่านได้ดี และมีการระบายอากาศด้านบน (ศรีษะ)

          แต่ถ้าท่านใดไม่มีก็ใช้วิธีการแบบพื้นบ้านโดยหาวัสดุที่มีอยู่มาดัดแปลงแล้วใช้ผ้าคลุม ทำเป็นกระโจม โดยทำให้มีที่ระบายอากาศ ใช้หม้อต้มที่สำหรับให้ไอน้ำเข้าสู่กระโจมอย่าทั่วถึง แต่วิธีนี้ต้องระวังน้ำร้อนลวกกันด้วยนะครับ ข้อห้ามในการอบสมุนไพร -ผู้มีไข้สูงเกิน 39 องสาเซลเซียส -เป็นโรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด -มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดรุนแรง -สตรีมีประจำเดือน รวมกับมีไข้ ปวดศรีษะ -มีอาการอักเสบจากบาดแผล -อ่อนเพลีย (อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่) -ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ คลื่นไส้

          หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนชาวบำราศ และหนาวนี้ชาวบำราศคงห่างไกลจากโรคไข้หวัดกันนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #ดูแลสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 68582เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ไม่อ่านไม่รู้นะคะว่า "ธนู" รู้เรื่องสุขภาพดีขนาดนี้...อ้อ...ลืมไปว่ามีที่ปรึกษาดีด้วย
  • ขอบคุณครับพี่มอมผมอยากให้ทุกๆคนมีสุขภาพที่ดีครับ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท