การบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพระบบฐานข้อมูลอิเลคทรอนิคส์รายบุคคลด้าน ประชากรและบริการสุขภาพ ระดับตำบล (HCIS 18 แฟ้ม) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างมีนาคม 2547 – มีนาคม 2548


ลักษณา ศังขชาต

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลการศึกษา
– หน่วยบริการสาธารณสุข 227 แห่ง ส่งฐานข้อมูลในเดือนแรกได้ครอบคลุมร้อยละ 74 และเพิ่มขึ้นในเดือนสุดท้าย เป็นร้อยละ 89 แต่ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ด้านความทันเวลาในการส่งฐานข้อมูล พบว่าในเดือนแรก ส่งทันเวลา ร้อยละ 58 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ในเดือนสุดท้าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.014) และในส่วนของความครบถ้วนของแฟ้มที่ส่ง พบว่า ส่งได้ครบ 18 แฟ้มในเดือนแรก เพียงร้อยละ 16 เพิ่มเป็นร้อยละ 49 ในเดือนสุดท้าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.0001)

- การยกระดับคุณภาพข้อมูลอิเลคทรอนิคระดับตำบล ต้องอาศัยการบริหารจัดการระดับจังหวัด ในการติดตามประเมินสถานการณ์ปัญหาการทำงานของระดับพื้นที่ จัดการแก้ไขผ่านทางทีมดูแลระบบฐานข้อมูลระดับจังหวัดและอำเภอ ผนวกกับการอำนวยความสะดวกในการจัดช่องทางและจัดสรรเวลาการส่งข้อมูลอย่าง เหมาะสม เพื่อไม่ให้การดำเนินงานติดขัดล่าช้า

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 68563เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท