แผ่นวงล้อรู้ใจ


นลินี เนตรยัง
โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี

การทำการผ่าตัดผู้ ป่วยแต่ละรายใช้ผ้ายางปูเตียง เพื่อป้องกันเลือดและสารคัดหลั่งไหลเปื้อนปนเตียงอย่างน้อย 2 ผืนต่อครั้ง หลังใช้แล้วคนทำความสะอาดจะนำผ้ายางทิ้งลงถังสูง 70 cm และนำออกมานับเมื่อถึงเวลาส่งให้แผนกซักฟอกซัก มีจำนวนเฉลี่ย 30 ผืนต่อวัน การปฏิบัติเช่นนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ เสียเวลานับ และพนักงานเสียสุขภาพ มีโอกาสปวด จึงได้หาวิธีลดความเสี่ยงต่างๆดังกล่าว

วัตถุประสงค์
– ลดการแพร่กระจายเชื้อจากการตรวจนับผ้ายาง ลดระยะเวลาในการทำงาน เพิ่มความสะดวกในการทำงานและการสื่อสาร และป้องกันการปวดหลังของผู้ปฏิบัติงาน

วิธีดำเนินการ
ระยะที่ 1 ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยการตรวจนับด้วยฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดเป็นรูปตัว L คว่ำแนวตั้งเป็นหลักสิบ แนวนอนเป็นหลักหน่วย ใส่ตัวเลขให้สามารถเลื่อนไปมาตามจำนวนผ้ายางที่ใส่ลงไปในถัง ปัญหาคืออุปกรณ์ไม่มีความทนทาน

ระยะที่ 2
พัฒนาอุปกรณ์ตรวจนับ เป็น “แผ่นวงล้อรู้ใจ” ทำด้วยไม้ วงกลมด้านซ้ายมือเป็นหลักสิบวงกลมด้านขวามือเป็นหลักหน่วย เมื่อนำผ้ายางมาใส่ถังจะเลื่อนตัวเลขตามจำนวนผ้ายาง

ผลการดำเนินงาน
– การใช้แผ่นวงล้อรู้ใจ ที่พัฒนาในระยะที่ 2 ใช้เวลา 0.30 นาที ลดลงจากวิธีเดิมที่พัฒนาในระยะที่ 1 ซึ่งใช้เวลา 5 นาที ลดการแพร่กระจายเชื้อไม่ต้องนำผ้ายางออกมานับ เพิ่มความสะดวกในการทำงาน อุบัติการณ์การผิดพลาดจากการเลื่อนนับตัวเลขเท่ากับ 0 ตรวจสอบจากการมีผ้ายางหมุนเวียนใช้เท่าเดิมไม่ขาดหาย

- อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาการทำงาน ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน และลดระยะเวลาการทำงาน เป็นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในงานพัฒนา ผู้ปฏิบัติงานเป็นเจ้าของผลงาน เกิดความภาคภูมิใจในงานที่ทำ ก่อให้เกิดคุณภาพของงานและองค์กรโดยรวม

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 68562เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท