ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพตนเองของชาวปักษ์ใต้


มานพ กาเลี่ยง

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสงขลา

วัตถุประสงค์
– เพื่อศึกษาองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดูแลสุขภาพตนเองของชาวปักษ์ใต้

ผลการศึกษา
– องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทั้งในแง่ของความหมาย ประเภท และรูปแบบ/วิธี การ มีลักษณะสอดคล้องกับระบบการแพทย์ในสังคมไทย นอกจากนี้ชาวบ้านมีวิธีในการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้เชิงรุกในการดูแล สุขภาพตนเองโดยคำนึงถึงวิธีคิดแบบพึ่งตนเอง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน ส่วนปัญหาและอุปสรรคมีทั้งเกิดจากภาครัฐ ตัวหมอพื้นบ้าน กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนเกิดจากภาคประชาชนเอง ดังนั้นแนวทางการแก้ไขก็จะต้องดำเนินการแก้ไขทุกภาคส่วนพร้อมกัน

- ชาวบ้านมีวิธีในการดูแลสุขภาพตนเองบนพื้นฐานของความ เจ็บไข้ได้ป่วยว่า มิใช่เรื่องเฉพาะปัจเจกบุคคล โดยคำนึงถึงวิธีคิดแบบพึ่งตนเองในลักษณะขององค์รวม อันจะนำไปสู่การปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดดยเริ่มต้นที่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐให้การยอมรับวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน ในการดูแลรักษาสุขภาพ ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตนให้เกิดขึ้น รวมไปถึงความตระหนักในการดูแลตนเองของชาวบ้าน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายการดูแลรักษษสุขภาพที่ดำรงอยู่ ในชุมชนให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ต่อเนื่อง ยาวนานทั้งในระดับพึ่งตนเองและพึ่งพาบริการสาธารณสุขของรัฐ

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 68560เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท