R2R


จากงานประจำสู่ผู้ชำนาญการ

R2R จากงานประจำสู่ตำแหน่งผู้ชำนาญการ

 ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาผลงานเพื่อกำหนดตำแหน่ง "ชำนาญการ ระดับ ๖,๗-๘ โดยองค์ประกอบในการพิจารณา ที่ กม ( ปัจจุบัน คือ สกอ) กำหนดไว้น่าสนใจครับ โดยเฉพาะในประเด็นที่ แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ซึ่ง หมายถึง

  คุณค่าของผลงานบริการวิชาการที่นำเสนอ โดยพิจารณาว่า

 "ผลงานชิ้นนั้นๆ ว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง และ พัฒนางานที่เกี่ยวข้องได้มากน้อยเพียงใด เป็นงานสร้างสรรค์ และ มีความคิดริเริ่มมากน้อยเพียงใด"

 โดยมีรายละเอียดเพิ่มอีกสามประเด็น คือ

 ๑.การให้การศึกษา คือ การให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อเพื่อร่วมงาน หรือ สอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยต้องเกี่ยวกับวิชาชีพที่ขอ

 ๒.ข้อเขียนทางวิชาการ เป็นการเขียนบทความที่เกี่ยวกับวิชาชีพ หรือ บทวิเคราะห์ ที่เป็นที่ยอมรับ

 ๓.การวิจัย ที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการวิชาการที่มีคุณภาพดี

 ยังมีอีกสองประเด็นหลักคือ ปริมาณงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ และ คุณภาพงานในหน้าที่

 โดยสรุป การพัฒนางานประจำ หากปริมาณงานเพียงพอ คุณภาพงานดี รวมทั้งงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ซึ่งประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่า นำการจัดการความรู้ เข้ามาเป็นเครื่องมือเสริม เราจะได้ผู้ชำนาญการที่มีคุณค่าแน่นอน เนื่องจาก "ต้องมีการ แลก เปลี่ยน เรียน รู้" และ เผยแพร่จนผู้อื่นเป็นที่ยอมรับ แต่ต้องเป็นงานที่เกิดจาก " ประสบการณ์ ตรง จริง" เป็น นำ "ความรู้ฝังลึก" มาสู่ "งานวิจัย" เพื่อ "พัฒนา" ที่เรียกว่า "R2R" ครับ

 ปัจจุบัน ศูนย์บริการวิชการ ได้เรียนเชิญ ผู้มีประสบการณ์ ระดับผู้ชำนาญการ มาช่วยขับเคลื่อนงานของ "การจัดการความรู้ ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ การบริการวิชาการ นอกมหาวิทยาลัย"หลายเรื่องครับ และ เป็น กำลังเสริม เพื่อสร้างให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น " องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่มหาวิทยาลัย แห่งการวิจัย " ซึ่งผลงานเหล่านี้จะมาแสดงในงาน "นวตกรรม ๒๐๐๖" ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๙ นี้ครับ

JJ

หมายเลขบันทึก: 6855เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2005 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจที่ได้พบ blog ของท่านอาจารย์ เพราะขณะนี้กำลังมีความตั้งใจที่จะเริ่มทำการสะสมความรู้เพื่อจะขอตำแหน่งผู้ชำนาญการ ค่ะ  ขณะนี้ ทำงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ระดับ 6 คณะเภสัชฯ ม.น. รับผิดชอบงานวิชาการของ "หน่วยประสานการฝึกปฏิบัติงานและเสริมประสบการณ์วิชาชีพ"  ขอความกรุณาอาจารย์ให้ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการขอตำแหน่งผู้ชำนาญการ รายละเอียดของ 3 ข้อ ที่อาจารย์กล่าวไว้ คือ

1.การให้การศึกษา  ใช่เป็นการนำความรู้ที่เราได้ทำงานมาทั้งหมดประมวลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนรึเปล่าคะ (SOP) ควรมีความลึกซึ้งขนาดไหนจึงจะเหมาะสม ต้องอ้างอิง กฎ ระเบียบ คำสั่ง ด้วยหรือไม่ อย่างไร มีรูปแบบการเขียนที่เหมาะสมหรือไม่

2.การเขียนบทความ ทำงานสายสนับสนุน บทความทางวิชาการจะเขียนไปขอลงที่ไหน จึงจะน่าสนใจ และเป็นที่ยอมรับได้ล่ะคะ กลัวว่า ถ้าคนระดับอาจารย์ มาอ่านจะกลายเป็น "ขำขัน" ไปหน่ะค่ะ

3.การทำวิจัย  มีความกังวลในเรื่อง การกำหนดคุณค่าของงานวิจัย ในมุมมองของคนทำ กับคนอ่าน หน่ะค่ะ กลัวว่า เราคิดเห็นทางหนึ่ง  คนอ่านคิดเห็น อีกทางหนึ่ง

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่ทำให้รู้สึกเริ่มมีกำลังใจในการจะขอตำแหน่ง

เรียน ท่านแก้ม(แหม่ม)

 ขอตอบตามประสบการณ์ที่เคยเป็นกรรมการประจำคณะฯ และ ฐานะเป็นกรรมการบริหารงานบุคคลของ ม.ข ดังนี้ครับ

 ๑.การขอผู้ชำนาญการ คือ ผู้เชี่ยวในสิ่งที่เราทำจริงในงานครับ ควรจะประมวลเป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็น "สมฐานะเป็นผู้เชี่ยว ในเรื่องที่รับผิดชอบจริง พูดภาษาง่าย เป็นความรู้ฝังลึก ฝักราก เป็นประสบการณ์ตรงที่ทำให้เราทำงานที่เรารับ ชอบ และ รับผิด สำเร็จ ไม่ใช่ แค่เสร็จ ควรมีบทเสนอแนะจากสิ่งที่เราทำแล้วทุกคนยอมรับ มีอะไรสามารถอ้างอิงเราได้ครับ"

 ๒.ลงในวารสารของหน่วยงานเช่นของคณะเภสัชศาสตร์ มน. หรือ ลงของฝ่ายพัฒนาบุคลากร หรือ ลงที่ใดก็ได้ครับ เช่น ม.ข มี "วารสารศูนย์บริการวิชาการ ลงประเภท How to" ( Link) ส่งไปให้ดูก่อนก็ยินดีครับ

 ๓.วิจัยในเรื่องที่เรา รับผิดชอบซิครับ เขาเรียกว่า วิจัยสถาบัน คือ ทำในงานเจ้าของ พิสูจน์ว่าเราทำงานนี้แล้ว Zero Mistake/Zero Defect/Zero Complain อะไรทำนองนั้นครับ 

ลองดูครับท่านอื่นๆจะช่วย "ลปรร" ก็จะดีครับ

เรียน...ท่านอาจารย์ค่ะ

ดีใจมากค่ะที่ได้อ่าน blog ของอาจารย์ ได้ทำ R2R + ลงวารสารของ สวรส. และที่สำคัญได้รับรางวัล R2R ดีเด่นระดับทุติยภูมิ ครั้งที่ 1 และ 3 แต่ไม่ได้รับการพิจารณาให้ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ทำ R2R ได้เลื่อนตำแหน่ง ...มันน่าน้อยใจมากๆๆๆเลยค่ะ

เพราะที่นี่เขาพิจารณาให้เฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าฝ่ายเท่านั้น...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท