ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

weekly meeting KM


weekly meeting ของ สคส. เป็นเทคนิควิธีการดำเนินงานที่ดี เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม

วันนี้   ผมมีโอกาสได้เข้าร่วม weekly meeting กับทีมงาน สคส. โดยมีท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช เป็นหัวเรือใหญ่ ท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด  และนอกจากนั้นยังมีภาคีเครือข่ายของ สคส.อีก 2 เครือข่าย คือ อาจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย และครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์ พร้อมศิษย์บูรณาการศาสตร์ อีก 3 ท่าน ณ ห้องประชุม 2 สกว. ชั้น 14 ตึก SM TOWER

การประชุมที่ชื่นมื่น  การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมที่ชื่นมื่น เหมือนกับทุกๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพราะเป็นการประชุม Style KM เริ่มจากที่ท่านอาจารย์หมอได้กล่าวต้อนรับ ผู้ที่มาร่วมการประชุม แล้วท่านก็ได้ส่งต่อมาที่ผมเพื่อเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Social Intelligence (ความฉลาดทางสังคม) ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับ การศึกษาด้านสมอง และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง สมอง กับ วิทยาศาสตร์ ทีได้ไปอ่านและตีความมาให้กับสมาชิกฟังเพื่อจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จิตวิทยากับการบำบัด เป็นเรื่องแรกที่ผมได้นำเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตนั้นDaniel Goleman ได้กล่าวว่ามีอยู่ 2 แนวทางคือการรักษาโดยการให้คำปรึกษาโดยนักจิตบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ และการรักษาทางชีววิทยาตามแนวทางของ Carl Marci นักจิตแพทย์ แห่ง Harvard Medical School ในเทคนิคที่เรียกว่า “logarithm for empathy,” “ลอกการิทึ่ม” เป็นเทคนิคที่สามารถที่จะเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ และหลังจากนั้นผมก็ได้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือที่ดีในการทำงาน เวลากับความรู้สึก การยิ้มที่มีควมสุข ดังที่ผมได้ขึ้น Blog ไปแล้วเมื่อสองสามวันที่แล้ว

อารมณ์บ้าคลั่งของฝูงชนฝูงชน (THE  MADNESS  OF  CROWDS) เป็นเรื่องเล่าที่ผมได้พยายามที่จะสื่อสารต่อประชุมให้เข้าใจเป็นเรื่องต่อมาครับ ซึ่ง Daniel Goleman ได้กล่าวถึง Elias  Canetti   เขาได้กล่าวถึงกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า  ซุปเปอร์ฮูลิแกน  (Superhooligan) ”  พวกนี้จะรวมกลุ่มกันเชียร์ฟุตบอล  และชอบก่อความไม่สงบ  ชกต่อยกันโดยที่ไม่เคยมีเรื่องมีราวกันมาก่อน  และจะเลือกสถานที่ในฟุตบอลรายการศึกยูโรเปี้ยน  ซึ่งฝูงชนกลุ่มนี้จะเข้ามาก่อนเวลาแข่งขัน เพื่อดื่มเบียร์, เหล้าของมึนเมา  เพื่อย้อมใจ และก็จะร้องเพลงเชียร์ประจำทีมของตนเองอย่างดัง ๆ  และซ้ำแล้วซ้ำอีก

Elias  Canetti  มีความสนใจจึงได้ทำการศึกษาเรื่อง  ฝูงชนและพลังฝูงชน   ซึ่งเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า  เมื่อใดก็ตามที่มีการรวมตัวกันของคนหลาย ๆ  คนแต่ละคนนั้นก็จะมีอารมณ์รุนแรง , โมโห  ของแต่ละคนอยู่แล้ว  เมื่อมารวมตัวกันก็ทำให้เกิดอารมณ์คล้อยตามกัน  ซึ่งฝูงชนจะมีความคิดเห็นคล้อยตามกัน  ซึ่งใช้เวลาสมองสั่งการตัดสินในเพียงเสี้ยววินาที  ในกลุ่มชนที่คล้อยตามผู้อื่นนั้นเมื่อใจเย็นลงแล้ว  พวกเขาก็สามารถบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้  เช่นเดียวกับนักแสดง นักดนตรีที่สามารถสร้างให้เกิดอารมณ์ร่วมได้  ดังนั้น ในการที่เราจะตัดสินใจทำอะไรก็ต้องชั่งใจให้ดีนะครับ

อย่างไรก็ตาม ในการสอดประสานกันระหว่าง  ความฉลาด  อารมณ์ เสน่ห์  ความเอาจริงเอาจัง จะสามารถสร้างความรู้สึกที่ดี อันจะ ส่งผลทำให้เกิดอารมณ์ที่มั่นคง และสัมพันธภาพที่ดีแก่ผู้ ใกล้ชิด  ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงานและในสังคม ครับผม.......

สำหรับท่านต่อไปว่าอย่างไรติดตามพรุ่งนี้นะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

 

หมายเลขบันทึก: 68444เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ครับจะรอออออออออออออออออออออ
  • ดีจังเลยครับที่อยู่ประชุมที่สคส ลืมไปครูบาก็อยู่ด้วย
  • ผมจะไปชายแดน คงอดอ่านบันทึกอาจารย์
  • กลับมาจะรีบมาอ่านครับ

  ไม่เข้าใจ

และสงสัยว่าไปชายแดน

ทำไมอดอ่านข้อคิดเห็น อ.แสวง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท