เทรนรองเท้าผู้ป่วย ที่ธาตุพนม


สิ่งที่ทำได้ทันทีเมื่อเห็นรองเท้าผู้ป่วยก็คือ แนะนำให้ใส่รองเท้าที่นุ่มขนาดเหมาะสม

นึกถึงคำบอกเล่าจากทีม เทพธารินทร์เมื่อไปร่วมกิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน ที่บอกว่าสิ่งที่ง่ายที่สุดในการดูแลเท้าผู้ป่วยก็คือ แนะนำรองเท้าที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย ผมและทีมที่ธาตุพนมอีกหลายๆคนได้สังเกตทั้งเท้าและรองเท้าของผู้ป่วยที่ใส่มาแล้ว อย่างที่เคยเล่าไว้เลยครับ ยังไม่เห็นผู้ป่วยใส่รองเท้าแบบสวม หรือใส่ถุงเท้าเลย ก็เลยยังไม่เห็นปัญหารองเท้ากัด รองเท้าบีบ รองเท้าหัวแหลม รองเท้าส้นสูงส้นตึก อย่างที่แฟชั่นเมืองกรุง เทรนรองเท้าของที่นี่ก็เลยเป็นอย่างที่เห็นครับ(อินเทรนที่ธาตุพนม) อย่างที่ว่าดีก็เป็นแบบหนังสาน หนักสุดก็คงเป็นแบบคีบล่ะครับ แต่เดี่ยวนี้เราใส่ใจเท้ามากขึ้นครับ เลยทำสิ่งที่ทำได้ทันทีเมื่อเห็นรองเท้าผู้ป่วยก็คือ แนะนำให้ใส่รองเท้าที่นุ่มขนาดเหมาะสม อาจใหญ่กว่าเท้าเล็กน้อย(อ.สมเกียรติ บอกว่าเป็นกันชนได้ด้วย) ไม่ควรเล็กจนรัดเท้าแน่น หลีกเลี่ยงเลี่ยงรองเท้าคีบ แต่ยังไม่กล้าบอกให้ไปซื้อรองเท้าใหม่มาใช้ครับ ค่อยๆบอกดีกว่าเพราะเงินที่ซื่อรองเท้าบางครั้งใช้เป็นค่ารถมาโรงพยาบาลได้อีกหลายครั้ง เลยเอาเป็นว่า รองเท้าคู่ต่อไป ค่อยว่ากันใหม่ละกัน

เห็นรองเท้าผู้ป่วยแล้ว ช่วยชี้แนะได้นะครับ ว่าทำอย่างได้บ้าง

ผู้เล่าเรื่อง ภก.เอนก ทนงหาญ

 

แบบนี้เป็นแบบที่ผู้ชายฮิตใช้กันครับ

ของคุณป้าท่านนี้ เก๋หน่อยตรงที่กลัวหลุดตอนเดิน เลยใช้หนังยางรัดไว้

 

 

 คู่นี้เจ้าของเป็นคุณป้าที่เท้าผิดรูปแล้ว แรงกดเลยทำให้ป็นอย่างที่เห็น

 

 

ส่วนคุณลุง เจ้าของเท้านี้ มีแผลที่เท้าแล้ว จากการเดินเตะไม้

 

 

คุณป้าเจ้าของรองเท้าภาพที่2 (ยางรัด) กลับมาอีกครั้งกับรองเท้าคู่ใหม่

แต่ยังคงสีนำเงิน(สงสัยชอบ) แต่คู่ใหญ่ขึ้นและใช้ยางในจักรยานรัดส้นเท้ากันหลุด

(หมายเหตุ......แต่เท้าที่ใส่เป็นของนักกายภาพบำบัดของเรานะครับ)

คำสำคัญ (Tags): #thatpanom#dm#foot#care#storytelling
หมายเลขบันทึก: 6844เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2005 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คุณเอนกนำของจริงมาเสนอ ดิฉันจะติดต่อทีมของอาจารย์สมเกียรติ มาให้ข้อแนะนำในบล็อกค่ะ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

ขอขอบคุณอาจารย์ที่เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมมีรูปประกอบอย่างดี อ่านแล้วได้ความรู้ที่นำไปใช้จริงได้ (practical points)

ดิฉันได้มีโอกาสพบกับคุณอเนกอีกครั้งในตลาดนัดความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานครั้งที่ 2 คุณอเนกนำรองเท้าที่ได้ลองไปทำที่โรงพยาบาลมาให้เห็นว่าของจริงเป็นอย่างไร ดิฉันดีใจจริงๆค่ะที่เห็นความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะให้ผู้ป่วยเลิกใช้รองเท้าแตะคีบ เปลี่ยนมาเป็นรองเท้ารัดส้น คุณอเนกเล่าให้ฟังว่าการที่เราจะให้ผู้ป่วยซื้อหรือตัดรองเท้าใหม่เลยนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากสำหรับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาของค่าใช้จ่ายและการยอมรับลักษณะรองเท้าที่แตกต่างจากที่เคยใส่ จึงเริ่มที่จะทดลองจากการใช้รองเท้าของผู้ป่วยเองที่มีอยู่แล้วแต่นำมาทำเป็นรองเท้ารัดส้นโดยประยุกต์จากยางในรถจักรยานแทนไปก่อน ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากๆค่ะแต่อย่าลืมย้ำกับผู้ป่วยถึงวิธีใส่รองเท้าที่ถูกต้องเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยนะคะ
ขอบคุณคุณยอดขวัญครับที่ให้ข้อเสนอแนะที่ดีมากๆ ทั้งจากการได้คุยกันในงาน และที่เพิ่มเติมในบล็อก

         ผมมีความคิดคล้ายคุณยอดขวัญครับ ในเรื่องยางในรถจักรยาน เพราะ มีความยืดหยุ่น หาได้ง่ายในท้องถิ่นและทนทานมากๆ ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ง่าย เพียงนิ้วเกี่ยว ติดตรงที่มันดูไม่ค่อยสวยเท่านั้นเอง

         หากเป็นไปได้ติดให้คนไข้ทุกรายก็น่าจะดีครับ

        เผอิญผมได้ไปอ่านงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่น่าแปลกใจมาก เป็นของคนไข้ leprosyที่มี neuropathic feet ในเอธิโอเปีย โดยให้คนไข้ใช้ระหว่าง รองเท้าแตะที่หล่อจากเท้าผู้ป่วย มีสายรัดส้นอย่างดีกับ รองเท้าผ้าใบถูกๆที่ไม่มีอะไรพิเศษ ให้คนไข้ใช้ประมาณ 1 ปี ผลการศึกษาพบว่าอย่างหลัง มีประสิทธิภาพดีกว่า คนไข้มีแผลน้อยกว่า ก็น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะลองศึกษาครับ

        รองเท้าผ้าใบถูกๆราคา 200 บาท ค่ารถมาทำแผล 2 อาทิตย์ก็เกินแล้วครับ ต้องชี้ให้คนไข้เห็น คนไทยเราไม่ค่อยสนใจกับเรื่องการ ป้องกัน ชอบรักษา ชอบกินยา ซึ่งแพงกว่ามาก

  

 

รองเท้าแบบหนีบ( เกิบคีบ ) ไม่ค่อยดีครับ เพราะคนไข้ที่Intrincsic muscle weakness ในเบาหวาน จะไม่มีแรงหนีบ แต่คนไข้จะ compensated โดยการใช้จิก ( action of flexor hallicis longus) แทนซึ่งเป็นการเพิ่มภาวะ Claws of Big toe มากขึ้น นานๆ ไปอาจทำให้ ข้อต่อแข็งในภาวะจิก งอ ซึ่งจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหนังแข็งและแผลบริเวณดังกล่าวถึง 12 เท่าฮะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท