โครงการฟื้นฟูและพัฒนาองค์ความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ


การศึกษาทาง พฤกษศาสตร์พื้นบ้านถึง องค์ความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับพืชให้สีของชาวกะเหรี่ยงก่อนหน้านี้ พบว่า ความรู้ที่มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณนั้น บางกรณียังขาดความชัดเจนอย่างเพียงพอที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติ อีกทั้งองค์ความรู้และทรัพยากรพืชให้สีก็กำลังเสื่อมหายไป ด้วยเหตุผลว่า องค์ความรู้และทรัพยากรพืชเหล่านี้ขาดการสืบทอดและไม่ได้ถูกใช้งานอย่างต่อ เนื่อง กล่าวคือ ไม่สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจของชุมชนในปัจจุบันนั่นเอง วัตถุประสงค์ของโครงการได้แก่ 1) ศึกษาทดลองเพื่อทดสอบคุณภาพและความคงทนของสีย้อมจากพืชซึ่งรวบรวมจากงาน วิจัยครั้งก่อน 2) นำความรู้ดั้งเดิมที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไปพัฒนาต่อยอดสร้างกิจกรรมการผลิต เป็นอาชีพเสริมนอกภาคเกษตรให้กลุ่มสตรีกะเหรี่ยง 3) ส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการจัดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรชีวภาพของท้องถิ่น ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบชาวบ้าน (สตรีชาวกะเหรี่ยง 15 คน) มี ส่วนร่วม โดยมุ่งสร้างกระบวนการให้ทรัพยากรบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการแสวงหาความ รู้พร้อมกับคณะนักวิจัยอย่างเต็มที่ รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานด้วยการประสานความร่วมมือกับทรัพยากรบุคคล และหน่วยงานชำนาญการจากภายนอก โครงการนี้นับเป็นกิจกรรมนำร่องในการตรวจสอบและพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการจัดการ ทรัพยากรชีวภาพของชุมชน และคาดหวังว่างานวิจัยนี้จะส่งผลถึงการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ชาวบ้าน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น รวมทั้งแนวทาจัดการทรัพยากรชีวภาพโดยชุมชนด้วย

คณะผู้วิจัย – ระวีวรรณ ศรีทอง และ อัจลา รุ่งวงษ์
หมายเลขบันทึก: 68341เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท