การจัดการความรู้เพื่อการวิจัย(KMR)


การจัดการความรู้เพื่อการวิจัย(KMR)
       
การจัดการความรู้เพื่อการวิจัย (Knowledge Management for Research) คืออะไร
                สิ่งที่คนทำงานอยู่ทุกวันเป็นการวิจัย เป็นการจัดการการทำงานของตนให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ ดังนั้นกระบวนการทำงานที่เป็นงานประจำ(Routine work) ต้องเจออุปสรรค เจอปัญหาที่มีให้แก้ทุกวัน นั้นคือเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการทำงานเข้าเกี่ยวข้องแล้ว แต่พวกเรามักจะมองข้ามกระบวนการแก้ปัญหานั้น แต่ถ้ามองในทางกลับกัน ทุกครั้งในการทำงานจนจบกระบวนการแต่ละครั้ง เขียนแผนภูมิแสดงการทำงานและการแก้ปัญหาไว้ทุกครั้ง พวกเราจะเกิดกระบวนทัศน์ในการทำงานทันทีและสิ่งที่เข้ามาในตัวเราคือ ระบบการทำงาน ระบบการวิธีดำเนินการทำงาน(วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการนั้นเอง) การแก้ปัญหาจะออกแนวการวิจัยเชิงปฏิบัติการระบบทันที การทำงานพวกก็จะแก้ปัญหาที่เป็นเชิงระบบ กล่าวคือ มีเหตุมีผล มีวิธีดำเนินการแก้ปัญหา ได้ผลที่ถูกต้องชัดเจน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกเมื่อเกิดปัญหาที่เหมือนเดิม หรือใกล้เคียง หรือเกิดปัญหาใหม่ เราสามารถประยุกต์วิธีการแก้ปัญหาไปใช้ได้ รวมทั้งจะเกิดกระบวนการวิจัยในที่ทำงานได้ในที่สุด สิ่งที่ตามที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น คือ การจัดการความรู้(knowledge Management ) ในองค์กรพร้อมกับการวิจัยในองค์กร
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาของการทำงานประจำ (Routine work) ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโดยใช้กระบวนการวิจัยทุกครั้ง การแก้ไขปัญหาอาจใช้วิธีการหลายอย่างดังนี้
                        1.  แก้ไขด้วยการบริหารสั่งการไม่ต้องมาทำวิจัยก่อน  
·                       2.  แก้ไขด้วยบางส่วนของกระบวนการวิจัย เช่นการสืบค้น (Literature review) เพื่อหาวิธีการหรือแนวทางที่ดีมาพัฒนางานประจำของหน่วยงาน
·                       3.  แก้ไขด้วยการวิจัยเต็มรูปแบบ ใช้ในกรณียังไม่มีหลักฐานยืนยัน ต้องการเผยแพร่งานประจำที่ดี
การจัดการเพื่อรองรับ Routine to research
1.       สร้างทีมที่มีความรู้ด้านการวิจัย
2.       จัดการอบรมการวิจัยโดยใช้ปัญหาจากงานประจำ
3.       จัดหาที่ปรึกษา
4.       จัดหาทุนสนับสนุน
5.       จัดหาเวทีแสดงผลงาน
6.       จัดการให้สามารถเผยแพร่ผลงาน
                ดังนั้นการจัดการความรู้เพื่อการวิจัย (knowledge Management for  Research) เป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวเลย  ต้องปรับวิธีคิดโดยกระบวนการวิจัย  ใส่ใจในการพัฒนาความรู้ จัดระบบความรู้ที่ผ่านตัวเราทั้งสายตา มือ สมอง สองขาที่ก้าวเดินและการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จการจัดการความรู้เพื่อการวิจัยในองค์กร
       แล้วการจัดการความรู้เพื่อการวิจัย จะต้องประกอบด้วยบุคลากรกี่คนถึงประสบความสำเร็จ
ทองสง่า ผ่องแผ้ว 
20 ธ.ค. 2549
หมายเลขบันทึก: 68319เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จาก Concept ที่เล่ามาน่าจะเรียกว่าเป็น R2R(Routine to Research) มากกว่า ตัวอย่างเรื่องนี้ดูที่ km ของ ศิริราชพยาบาล เขาทำ R2R กันเพียบ

  • หลักการ "การแก้ปัญหาการทำงาน เป็น การวิจัย" แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ใช่ครับ เพราะ การวิจัยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอน แต่ "การแก้ปัญหาการทำงานบางเรื่อง" อาจมีวิธีแก้ปัญหาได้หลายๆวิธี
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท