ลปรร. "องค์การแห่งการเรียนรู้"


สิ่งที่อยากได้จากการนำมาขึ้น blog ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรีบนรู้ในเรื่อง "เป็นไปได้ไหมว่าหากปัจจเจกบุคคลในองค์การเป็นผู้ใฝ่รู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในที่สุดองค์การนั้นจะเป็น "องค์การแห่งการเรียนรู้"

    เมื่อคีนนี้นอนไม่หลับเพราะจิตตกตามหุ้น กลัวจะเกิดวิกฤติเหมือนปี 40 เลยมานั่งอ่าน blog อ่านไปอันไหนตรงจริตก็เข้าไปตอบ มีอันหนึ่งน่าสนใจตอบแล้วก็อยากนำมาขึ้น blog เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะอยากได้คำชี้แนะจากเพื่อนๆ สคส. เป็น blog ของอ.แสวงเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ กับบุคคลากรและบุคคลแห่งการเรียนรู้http://gotoknow.org/blog/sawaengkku/68284 ซึ่งผมเองได้ตอบไปว่า

อาจารย์ครับ  

ผมว่าเนื้อในของ KM ที่แท้จริงก็คือกระบวนการล้างใจ ให้คนเปิดใจ

  • พร้อมที่จะรับรู้ รับฟัง
  • ยินดีที่จะแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
  • รู้จักการให้และการรับความรู้ หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
   เป็นการยกระดับจิตใจ ให้คนคิดดี มีทัศนคติที่ดี ส่งผลถึงพฤติกรรม เมื่อทำ KM บ่อย ๆ มีการถักทอสายใยของเครือข่ายมากขึ้นระบาดไปทั่วทั้งองค์การ LO ก็อาจจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่จะไปตรงกับแนวคิดหรือทฤษฎีของท่านใด ไม่ว่าจะเป็น
  • "The Fifth Discipline" ของ Peter M. Senge
  • "The Learning Company" ของ Pedler, Burgoyne และ Boydell
  • "Five main activists" ของ Garvin
  • "The System-Linked Organization Model" ของ Marquardt

   ก็ขึ้นอยู่กับสมมุติของแต่ละบุคคล หรือองค์การ แต่ประเด็นสำคัญก็คือทำอย่างไร คนถึงจะมีจิตใจใฝ่รู้ , มีการค้นคว้าแสวงหาความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ อันนี้คือการแก้โจทย์ใต้ภูเขาน้ำแข็ง หากโจทย์นี้แก้ได้ ในที่สุด LO ก็จะเกิดกับองค์การนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็น LO ทีไม่ตรงกับแนวคิดข้างต้น แต่หากทุกคน ขอย้ำนะครับว่าทุกคน ในองค์การมีจิตใจใฝ่รู้ , มีการค้นคว้าแสวงหาความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ องค์การนั้นก็น่าจะได้ชื่อว่า "องค์การแห่งการเรียนรู้" ซึ่งอาจจะมีลักษณะตรงกับ โมเดล "ป่นปลาทู" ของอาจารย์ก็ได้  

   ดังนั้นจากประเด็นของอาจารย์ในเรื่องของผู้นำองค์การนั้น ก็จะเป็นเพียงแค่ผู้มีส่วนส่งเสริม หรือขัดขวาง หรือทำลาย ขึ้นอยู่กับว่ามีภาวะผู้นำมากน้อยเพียงใด แต่ผู้นำในบริบทของไทยส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยใด้ "ล้างใจ"  LO จึงเกิดยาก (โดยเฉพาะองค์การที่ติดระบบเจ้าขุนมูลนาย) เอะอะก็ยึดอำนาจ แต่พอยึดมาแล้วก็ทำไม่เป็น เพราะไม่มี KM ไม่มี LO ในใจ ก็ไม่รู้จะโทษใคร ภูมิสังคมเราเป็นแบบนี้ (ในที่สุดก็ต้องโทษธรรมชาติและโชคชะตา) ระบบการศึกษาของเราสอนให้เชื่อฟังครู ตอบข้อสอบก็ต้องตรงกับสิ่งที่ครูได้เรียนรู้มาตอบต่างจากนั้นตก ครูก็ต้องสอนตามที่เขาสั่งมาไม่เช่นนั้นก็ตก(งาน) เหมือนกัน

   ก็เลยอยากจะขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ในฐานะที่เป็นนักวิชาการและนักการศึกษา ใดยการอำนวยโอกาสให้เด็กได้ "ล้างใจ" กันบ่อย ๆ และในที่สุดเราก็จะสามารถตามล่าฝันในเรื่องของ "สังคมอุดมปัญญา" หรือ "สังคมแห่งการเรียนรู้" ให้กลายเป็นจริง

   สิ่งที่อยากได้จากการนำมาขึ้น blog ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรีบนรู้ในเรื่อง "เป็นไปได้ไหมว่าหากปัจจเจกบุคคลในองค์การเป็นผู้ใฝ่รู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในที่สุดองค์การนั้นจะเป็น "องค์การแห่งการเรียนรู้"

คำสำคัญ (Tags): #kminternship#hrdnetwork
หมายเลขบันทึก: 68289เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 06:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอเพิ่มด้วยว่า ให้ปัจเจกทุกคนลดความเป็นตัวกู ของกู อัตตาที่สูงทั้งหลาย ทำตัวให้เป็นแก้วที่มีน้ำไม่ต็มและคอยรับนำใหม่ตลอดเวลา ก็จะอาจจะทำให้กระบวนการเปิดใจส่งผลให้ใจเปิดได้คะ
  • สำหรับต้นฉบับขอภายในอาทิตย์หน้าก่อนปีใหม่คะพี่

ใช้เห้นด้วยองค์กรใด ๆ ก็ต้องประกอบด้วยทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย คล้อตามหรือคัดค้าน ซึ่งสิ่งจำเป็นขององค์กรผมคิดว่าการเปิดใจและรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ๆ บ้าง สิ่งนี้คือสิ่งจำเป็น และอีกอย่าง มันก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กรด้วย เช้นตำรวจ หรือ ทหาร ก็เป็นสิ่งที่อยาก เพราะเรารับคำสั่งในลักษณะท๊อป ดาวน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท