ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ข้อได้เปรียบของใบหน้าที่มีความสุข


วันนี้คุณยิ้มหรือยังครับ ถ้าหากยังไม่ยิ้มจงยิ้มให้กับตัวเองเถอะครับ เพราะการยิ้มเป็นการการสร้างมิตรภาพที่ดี

ผมได้รับมอบหมายให้อ่าน หนังสือ Social Intelligence ซึ่งเขียนโดย Daniel Goleman  แล้วให้นำเสนอใน Weekly  Meeting  ของ สคส. ในวันที่ 20 ธันวาคม 2549  และมีออยู่ตอนหนึ่งที่ผมได้รับผิดชอบคือ THE  HAPPY  FACE  ADVANTAGE (ข้อได้เปรียบของใบหน้าที่มีความสุข) ผมจึงใคร่ขอนำเสนอเพื่ออจะได้เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องชาว GotoKnow.  อย่างไรก็ตามการแปลในครั้งนี้อาจจะไม่สละสลวยเท่าที่ควร เนื่องจาก ยังด้อยด้วยประสบการณ์  และหากท่านใดที่จะกรุณาชี้แนะก็จะเป็นพระคุณยิ่งครับ  

เมื่อฉันได้พบ  Paul Ekman เป็นครั้งแรกในราวปี  1980  เขาเพิ่งจะใช้เวลาราว  1  ปี  ในการจ้องมองดูกระจก  เพื่อเรียนรู้การควบคุมกล้ามแต่ละส่วนจาก  200  ส่วนของใบหน้า  นี่ถือเป็นการนำร่องผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชั้นหนึ่ง เขาได้ประยุกต์ใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ  กระตุ้นกล้ามเนื้อบนใบหน้าบางส่วนที่ไม่สามารถควบคุมได้  มีครั้งหนึ่งที่เขาควบคุมการเคลื่อนไหวของเขาได้ด้วยตัวเอง  เขาสามารถวางแผนตัวแน่นอน  ในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ  ว่ามันมีความแตกต่างอย่างไรในแต่ละอารมณ์  และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 

เอกค์แมน  ได้กล่าวถึงการยิ้ม  18  ชนิด  ทุกชนิดใช้กล้ามเนื้อในการขยับเวลายิ้มถึง  15  มัด  ความซับซ้อนของการยิ้มแทนการแสดงความรู้สึกที่ไม่มีความสุข  เช่นเดียวกันกับการแยะยิ้มอย่างไม่สมหวัง  ซึ่งปรากฏความรู้สึกไม่มีความเบิกบาน  รอยยิ้มแห่งความอำมหิตแสดงให้เห็นว่า  บุคคลนั้นกำลังโกรธและหมายถึงอย่างนั้นจริง ๆ  และมีรอยยิ้มอย่างอวดรู้ซึ่งเป็นเครื่องหมายของชาลี  แชปปลิ้น  ซึ่งเป็นการใช้กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ของคนไม่สามารถเคลื่อนไหวในการยิ้มอย่างจงใจ  ซึ่งเอกค์แมนพูดถึงมันว่า  ยิ้มแห่งการยิ้ม  น่นอนว่ามีการยิ้มที่แท้จริงด้วยความรู้สึกสนุกสนานหรือยิ้มด้วยความขบขัน  รอยยิ้มเหล่านี้เป็นรอยยิ้มซึ่งเรียกกำลังใจให้พลังกลับคืนมา  กิริยานั้นส่งสัญญาณให้เซลล์ในสมองสั่งการให้ร่างกายทำงานทันที  อีกทั้งยังทำให้เรายิ้มอย่างรวดเร็วและเป็นยิ้มของเราเอง  ขณะที่ชาวธิเบต กล่าวถึงการยิ้มว่า   เมื่อคุณยิ้มให้กับชีวิต  ครึ่งหนึ่งของยิ้มปรากฏที่ใบหน้า  เป็นของคุณ               อีกครึ่งหนึ่งสำหรับคนอื่น ๆ   

การยิ้มเป็นการกระตุ้นการแสดงอารมณ์ทางสีหน้าทั้งมวล  สมองของมนุษย์ชอบใบหน้าที่มีความสุขมากกว่า  มันจะจำความรู้สึกนี้ได้ง่ายและรวดเร็วมากกว่าการแสดงออกด้านลบอื่น ๆ  ที่เราทราบกันคือ  ใบหน้าที่เปี่ยมยิ้มย่อมได้เปรียบ  นักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเซลล์สมองแนะนำว่า  สมองมีระบบสำหรับความรู้สึกด้านบวกซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำกิจกรรมใด ๆ  สร้างสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนพบสิ่งดี ๆ  มากกว่าอารมณ์ที่เป็นลบ ( อารมณ์เสีย )  และทำให้พบสิ่งดี ๆ  ในชีวิตมากกว่า 

นั่นอาจกล่าวได้ว่าธรรมชาติย่อมต้องการสรรค์สร้างความสัมพันธ์ดี ๆ  ( คิดเชิงบวก ) แม้ว่ามีอารมณ์โกรธอยู่ในมวลมนุษย์ก็ตาม  เราไม่ได้ดีเลิศมาตั้งแต่เกิด แม้ว่าเราจะอยู่ท่ามกลางคนแปลกหน้า  หรืออยู่ในช่วงเวลาแห่งความสุข  แม้เราจะดูโง่เขลา  การคิดไม่ดี  พูดไม่ดี อาจส่งผลถึงผู้อื่นในด้านจิตใจ  พยายามปรับพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัด  คนแปลกหน้าเหล่านั้นล้วนกำหนดเรื่องราวต่าง ๆ  เปรียบดังเกมง่ายๆ  ที่เล่นต่อกัน  ระหว่างที่เล่นเกมนั้นมีคนหนึ่งต้องพูดผ่านเก้าอี้ขณะที่วิ่งตรงไปยังอีกคนหนึ่ง   มีผ้าปิดตาไว้ ปาลูกโป่งไปข้างหลัง  และคนที่สี่คนแปลกหน้าคนที่ล้มลง  จะถูกหัวเราะเยาะจากเพื่อน ๆ ที่อยู่รอบข้าง

แล้ววันนี้คุณยิ้มหรือยังครับ  ถ้าหากยังไม่ยิ้มจงยิ้มให้กับตัวเองเถอะครับ เพราะการยิ้มเป็นการการสร้างมิตรภาพที่ดี และมีมาแต่บรรพบุรุษของพวกเราชาวไทยจนกระทั่งได้รับการยกย่องทั่วโลกว่าเป็น สยามเมืองยิ้มและมีคนเขาบอกว่าการยิ้มนอกจากจะได้มีกัลยานมิตรที่ดีแล้วยังทำให้อายุยืนด้วยนะครับ  

ขอบคุณครับ 

อุทัย   อันพิมพ์   

หมายเลขบันทึก: 68241เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2006 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การยิ้มต้องมาจากใจครับ ไม่ใช่แค่ดึงมุมปากถอยหลังเฉยๆนะครับ เมื่อยแย่เลย

เรื่องนี้อยู่ผิดบล็อกครับ

เวลานำเสนอวันนี้ให้ยิ้มด้วยนะครับ ยิ้มสู้ 555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท