วิธีการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ(มิสเตอร์เดอ)


ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นคนนำ(คล้ายทีมงานวิจัย) ท่านจะฝึกจะสอนเทคนิคต่างๆให้แก่ศึกษานิเทศก์
       ดร.พิทักษ์  นิลนพคุณ  ศึกษานิเทศก์ที่มีความเชี่ยวฃาญด้านการนิเทศการเรียนการสอนภาษาอังกฤษคนหนึ่ง  เล่าให้ที่ประชุมฟังเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ในการประชุมพิจารณาโครงสร้างการบริหารของ ศน. ที่โรงแรมเอสดีอเวนิว ที่ กพร.สพฐ.จัด
       ดร.พิทักษ์เล่าถึงการทำงานของมิสเตอร์เดอผู้เชี่ยวชาญการสอนภาษาอังกฤษจากประเทศสหราชอาณาจักร  ที่กระทรวงฯจ้างให้มาพัฒนาครูภาษาอังกฤษ   ราว พ.ศ.2520 เศษๆ
      ในช่วงนั้นสำนักงานฝึกอบรมครูของหน่วยศึกษานิเทศก์ ซึ่งมีศึกษานิเทศก์เป็นบุคคลากรหลัก  ตั้งอยู่ในโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ดร.พิทักษ์ เล่าว่า ผู้เชี่ยวชาญ(มิสเตอร์เดอ) เขาจะมีห้องส่วนตัวที่เป็นบรรยากาศอิสระในการทำงานทางวิชาการ  วันๆจะนั่งคิด นั่งเขียน นั่งค้นคว้านวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษ  แล้วจะเชิญศึกษานิเทศก์ภาษาอังกฤษเข้าไปสอนงาน(coaching) แล้ววางแผนทำงานร่วมกันเป็นทีม  โดยผู้เชี่ยวชาญจะเป็นคนนำ(คล้ายทีมงานวิจัย) ท่านจะฝึกจะสอนเทคนิคต่างๆให้แก่ศึกษานิเทศก์  ซึ่งดูท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆที่เราศรัทธา เราต่างได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ  ทำงานกับท่านอย่างสนุก มีความสุข เห็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
      ผลงานที่เกิดขึ้นตอนนั้นมีมากมาย   เราทำสื่อการสอนภาษาอังกฤษให้แก่ครูทั่วประเทศ และสร้างเครือข่ายพัฒนาอย่างเป็นระบบ  นั่นคือการตั้งศูนย์อีริค ซึ่งสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้
       ดร.พิทักษ์บอกว่าตนเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญขึ้นมาเพราะมีผู้เชี่ยวชาญคอยเป็นพี่เลี้ยงให้  โดยท่านจะทำงานอย่างผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ไม่ต้องมาทำงานเป็นนักประสานงานเหมือน ศน.ปัจจุบัน จนทำให้อ่อนแอทางวิชาการ
       ดร.พิทักษ์เสนอแนะว่า ถ้าจะให้ศึกษานิเทศก์ได้รับการยอมรับจากโรงเรียน ฝ่ายบริหารต้องให้อิสระในการคิดค้นทางวิชาการ  ให้เขามีองค์กรในการบริหารจัดการด้านการนิเทศ ไม่ใช่ถูกสั่งการจากผู้บริหาร และไม่ใช่ให้ผู้บริหารเป็นนักวิชาการเสียเองแล้วสั่งให้ ศน.ทำตามแนวทางของตนเอง อย่างไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
       ประการสำคัญในการสร้างให้ศึกษานิเทศก์เป็นผู้เชี่ยวชาญต้องมีเส้นทางวิชาชีพที่ชัดเจน ไม่ใช่กำหนดแบบที่ ก.ค.ศ.กำหนดให้มีวิทยฐานะแต่ไม่สนใจการปฏิบัติงานจริงตามวิทยฐานะ และการประเมินก็ไม่ชัดเจน ทุกวันนี้ไม่ว่าใครจะมีความเชี่ยวชาญขนาดไหนก็ทำงานหารเฉลี่ยเหมือนกันหมด คำว่าเชี่ยวชาญในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงวิทยฐานะสูงอย่างเดียวแต่หมายถึงผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถสูงด้วย  โดยมีการคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นหัวหน้าทีมในการให้คำปรึกษา  สอนงาน  นำทำ ให้น้องๆศึกษานิเทศก์ได้ฝึกฝนพัฒนาการทำงานไปเป็นเรื่องๆตามความเชี่ยวชาญ  เช่น  ตามกลุ่มสาระ  เทคนิคการบริหาร ฯลฯ  อย่างเคารพในความเป็นอาวุโส  ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ จนวันหนึ่งเขาก็จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญได้อย่างภาคภูมิใจ
หมายเลขบันทึก: 68104เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2006 07:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท