E22PAB
ว่าที่ร.ต. วีระพงษ์ สิโนรักษ์

นายวีระพงษ์ สิโนรักษ์ (ครั้งที่49)


ครั้งที่ 49

     วันนี้มาถึงที่หน่วยฝึกงานเวลา 06.30น.  เพื่อเตรียมตัวออกไปถ่ายทำงานนอกสถานที่  ณ ศูนย์วิจัยพันธุ์พืช จังหวัดปทุมธานี  โดยได้มีการเตรียมอุปกรณ์และประชุมวางแผนงานไว้ตั้งแต่เมื่อวานนี้  ซึ่งกำหนดการออกเดินทางเวลา  07.30 น.  และได้เดินทางไปถึงที่ศูนย์วิจัยตอนเวลาประมาณ 09.00 น.  และไปติดต่อขอพบเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ  (เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้เข้าไปติดต่อ  จึงไม่ทราบชื่อ)  ซึ่งเป็นนักวิชาการทางการเกษตร  จากนั้นก็พาทีมงานเข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและเก็บสต็อกภาพ  ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

     ทีมงานมั้งหมดของ สสวท.มีทั้งหมด 5 คน  คือ  คุณทิพย์วรรณ  สุดปฐม  นักวิชาการของสาขาวิทยาศาสตร์  ระดับประถมศึกษา,    คุณวิจิตร  ทั่งทอง  (อาจารย์พี่เลี้ยง)  หัวหน้าทีมถ่ายทำ(ทำหน้าที่บันทึกภาพเคลื่อนไหว),  คุณศิริพล  วุ่นพันธ์  เจ้าหน้าที่เทคนิค  (ทำหน้าที่ผู้ช่วยช่างภาพ),  คุณกัญญารัตน์  เพชรตะกั่ว  เจ้าหน้าที่เทคนิค  (ทำหน้าที่บันทึกภาพนิ่ง),  และผมนายวีระพงษ์  สิโนรักษ์  ทำหน้าที่สังเกตการณ์ทำงานและช่วยหยิบจับสิ่งของต่างๆบ้างแล้วแต่โอกาส

     และจากการสังเกตการณ์ทำงานทั้งหมดแล้ว  เนื่องจากทีมงานที่นี่ไม่ได้เป็นทีมงานเฉพาะเหมือนกับสถานีโทรทัศน์หรือบริษัทบันทึกเทปโทรทัศน์ทั่ว ๆไป  จึงทำให้ตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้มาทำในแต่ละคนนั้น  ยังแสดงประสิทธิภาพออกมาได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร  เพราะแต่ละคนนั้นมีมุมมองและความถนัดแตกต่างกันออกไป  ถึงแม้จะมีความรู้ความเข้าใจในระบบงานหรืออุปกรณ์มากเท่าใดก็ตาม  ทักษะความเชี่ยวยชาญก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เสมอไป  ดังนั้นการทำงานจึงไม่ได้ยึดติดกับระบบมากเท่าใดนัก  ทั้งนี้เป็นผลส่งมาจากระบบของหน่วยงานที่จัดสรรคนมาเพียวเท่านี้  ทำให้การทำงานต้องมีการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งกันบ้างในบางโอกาส  ยกตัวอย่าง  พี่กัญญารัตน์  เพชรตะกั่ว  เดิมทีเป็นเจ้าหน้าที่ในห้องสำเนาเทป  พี่ศิริพล  วุ่นพันธ์  เดิมเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านบันทึกเสียง  เป็นต้น  แต่ข้อดีของการที่มีบุคคลกรน้อยก็คือทำให้เราได้เรียนรู้งานที่หลากหลายมากขึ้น(หากเราเป็นคนที่ใฝ่รู้)

     การถ่ายทำในวันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่สนุกสนานมากครับ  เพราะได้ออกนอกสถานที่  เก็บสต็อกภาพเกี่ยวกับชีวิตพืชและสัตว์  เพื่อนำมาแทรกในรายการโทรทัศน์ต่างๆของทางสาขาวิทยาศาสตร์  ประจำปีงบประมาณ 2550  ส่วนการถ่ายทำวันนี้ใช้กล้อง Sony DVCAM  Format ใช้เทป DV 64 ในการบันทึกเทป 

      และจะเห็นได้อย่างชัดเจนกับทีมงานถ่ายทำชุดนี้นั่นก็คือความพยายามที่จะบันทึกภาพให้ดีที่สุด  โดยจะสังเกตได้จากการพิถีพิถันในการเลือกมุมภาพในแต่ละมุม  แต่ข้อเสียก็ยังเหมือนเดิมครับ(แต่เป็นข้อสำคัญที่สุดในกองถ่ายฯ)  นั้นก็คือการทำความเข้าใจกับลูกทีมทุกคนหรือการชี้แจงงานให้ทุกคนในกองได้รับทราบเพื่อที่จะ  ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างราบรื่นตลอดการถ่ายทำ  เช่นการชี้แจงงานทั้งโจทย์และเนื้อหารวมถึงลักษณะงานเป็นต้น  เพื่อการทำงานที่ออกมาในลักษณะที่ตอบโจทย์ได้ตรงประเด็นที่สุด

     และนี่ก็เป็นความรู้สึกข้อคิดเห็น  และประสบการณ์ต่างๆที่ผมจะได้รับ  ในวันพรุ่งนี้มีตารางการถ่ายทำที่  ม.เกษตรกำแพงแสน  จ.นครปฐม  เพื่อเก็บสต็อกภาพเกี่ยวกับการผสมเทียมของวัว

คำสำคัญ (Tags): #ครั้งที่49
หมายเลขบันทึก: 68102เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2006 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท