Quasi Experiment


ผมจะเขียน Experimental Paradigm ซ้ำจากบล็อกก่อนอีกครั้งหนึ่งโดยผมจะเพิ่ม  G1 (Group 1 ) ดังนี้

                              G1         X        O1

ในบล็อกก่อน ผมได้นิยาม "การทดลอง" ว่า "การทดลองหมายถึง การที่ผู้วิจัยมีอิสระที่จะจัดกระทำกับ X ได้อย่างน้อย 1 ตัวแปร"  

คราวนี้ผมจะขอเพิ่มเติมว่า  ถ้าในการทดลองตามคำนิยามดังกล่าว  ผู้วิจัย  "เลือกกลุมทดลองมาโดยไม่ได้สุ่ม"  เช่นเลือกเด็ก ป. ๔ มาทั้งชั้นมาเป็นกลุ่มทดลอง (G1)  แล้วให้  X  จากนั้นจึงวัด O1  แล้ว  การทดลองนั้นเราเรียกว่า  Quasi  Experimental  Research

ถ้าถามว่า  Quasi  Experiment  นี้ ดีหรือไม่ ? คำตอบก็คือ มีทั้งดี  และไม่ดี 

ที่ดีก็คือ  สะดวก  ทำได้ง่าย  เหมาะสำหรับครูทำเล่นๆในชั้นเรียน เพื่อประโยชน์ด้านการเรียนการสอนของตัวเอง  ที่เรียกว่า  Action Research    หรือบางทีแม้แต่ในโครงการวิจัยใหญ่ๆก็มีการทำกัน 

ที่ไม่ดีก็คือ  ผลการทดลองจะมี Errors มาก  ทำให้เราลงความเห็นได้ไม่สนิทใจว่า  O1 เป็นผลของ  X  100 % ,  มันอาจจะเกิดจากผลของ  X  เพียง  20 %  นอกนั้นอีก 80 %  เป็นผลของ Error Variables ที่เราไม่ต้องการ ก็ได้   ทำให้ค่าของ Internal Validity  ของการวิจัยเสียไป

คำสำคัญ (Tags): #quasi#experiment
หมายเลขบันทึก: 68018เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท