E22PAB
ว่าที่ร.ต. วีระพงษ์ สิโนรักษ์

นายวีระพงษ์ สิโนรักษ์ (ครั้งที่ 48)


ครั้งที่ 48

     วันนี้มีบันทึกเทปของสาขาวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนดาราคาม  โดยเป็นการทดลองใช้แผนการสอนของทางสาขาฯ  ซึ้งทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2  และ 6/2  ระดับชั้นละ 1 ช.ม.  โดยมีทีมงานไปด้วยกันทั้งหมด 3 คน  คือมีผม  กับนางสาวดวงพร  โหงทอง  นศ. ม.บูรพา(ซึ่งเป็นผู้หญิง) และพี่เลี้ยงอีก 1 คน  คือพี่จิโรภาส  โชติฉัตรชัย (รุ่นพี่เทคโนฯรุ่น 11)  ตลอดการถ่ายทำส่วนใหญ่ก็จะเป็นการตั้งกล้องบนขาตั้ง  ซึ่งจะบันทึกเทปยาวไปตลอดเพราะทางสาขาที่มาสอนในคาบนั้นต้องการที่จะนำกลับไปดูข้อบกพร่องของผู้สอนเพื่อไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับแผนการเรียนต่อไป

     แต่การถ่ายทำนั้นจะสังเกตได้ 1 สิ่งนั้นก็คือการทำงานที่ต้องมีเด็กเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความอดทนและการจัดการที่ดีพอสมควร  ถ้าเป็นเด็กโตหน่อยก็ดีไปพอพูดกันรู้เรื่องหรือยังพอที่จะควบคุมได้  แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กละก็จะลำบากสักเล็กน้อย  เพราะการถ่ายทำในลักษณะนี้จะมีรูปแบบคล้ายกับรายการสดตรงที่ตลอดการสอนจะทำการบันทึกเทปตลอดไม่มีการ "เทค"  หรือถ่ายซ้ำใหม่ในเหตุการณ์เดิม  จะต่างกันก็แค่ภาพที่ได้จากการถ่ายทำการสอนนั้น  ไม่ได้นำไปออกอากาศซะเดี๋ยวนั้น  นั้นก็หมายความว่าภาพที่ได้ไม่ได้มีการเผยแพร่ทันทีแค่บันทึกลงเทปเท่านั้น  แต่การบันทึกก็ต้องระวังเพราะไม่ว่ากรณีใดๆจะไม่มีการบันทึกใหม่  หรือเทคกลางครัน

     การถ่ายทำในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการนอกสถานที่ครับถึงแม้เราจะถ่ายในร่มก็ตาม  เพราะคำว่านอกสถานที่นั้นไม่ได้หมายความว่ากลางแจ้งอย่างที่หลายคนเข้าใจ  แต่คำว่านอกสถานที่นั้นหมายความว่า  การยกกองถ่ายออกไปถ่ายทำนอกสตูดิโอหลัก  หรือนอกสถานที่ทำการหลักนั้นเองครับ  และการถ่ายทำในลักษณะนี้ผมเองก็ชอบเอามากๆด้วย  เพราะว่าได้เปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำ  หรือ Location
ไปเรื่อย ๆ  ทำให้ไม่น่าเบื่อครับ  และยังช่วยฝึกให้เราเป็นคนที่มีความรอบคอบมากขึ้น  โดยเฉพาะในเรื่องของการเตรียมอุปกรณ์ก่อนออกกองฯ  เพราะถ้าเราออกไปนอกสถานที่ไปแล้วแต่ลืมเทป  หรืออะไรสักอย่างที่สำคัญต่อการถ่ายทำนั้นก็หมายความว่าการถ่ายทำครั้งนั้นอาจพังลงได้  ถ้าเป็นของที่หาได้จากร้านค้าทั่วๆไปก็ดีครับ  แต่ถ้าลืมแบตเตอรี่  หรือไมค์สัมภาษณ์นี่ละก็  แย่แน่นอน

     และในย่อหน้าแรกที่วงเล็บคำว่าผู้หญิงหลังนศ.ฝึกงานม.บูรพา  ก็เพราะว่าต้องการที่จะเน้นถึงการทำงานที่ต้องการความยืดหยุ่นหรือความคล่องตัว  ในที่นี้หมายถึงการทำงานร่วมกับบุคคลที่เป็นผู้หญิงเพราะการถ่ายทำครั้งนี้ผู้สอนซึ่งเป็นนักวิชาการมาจากสาขาวิทยาศาสตร์นั้นเป็นผู้หญิง  ดังนั้นการทำงานที่มีการถึงเนื้อถึงตัวย่อมสะดวกกว่าหากเรามีทีมงานที่เป็นผู้หญิง  เช่นการติดไมค์โครโฟนแบบเหนบ  รวมไปถึงการซับเหงื่อบนฝบหน้าระหว่างรอการบันทึกเทป  เป็นต้น

     และนี่ก็เป็นประสบการณ์ทั้งหมดตลอดการฝึกงานในวันนี้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ครั้งที่48
หมายเลขบันทึก: 67998เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การกล่าวถึงบุคคลที่ 3 ด้วยการใช้ชื่อ นามสกุลที่ถูกต้อง แสดงว่าเราให้เกียรติบุคคลนั้น  เพราะฝึกงานมาด้วยกันพักใหญ่แล้ว แต่ปรากกว่าคุณยังไม่รู้จักชื่อ แสดงว่าคุณไม่เห็นว่าเขาสำคัญ ใช่หรือไม่คะ?

ขอบคุณครับอาจารย์  สำหรับคำแนะนำ  และผมต้องขออภัย  ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะแสดงว่าผมนั้นไม่ให้ความสำคัญต่อบุคคลที่กล่าวถึง  และยอมรับว่าเพราะความเคยชินและความสนิทสนมจึงทำให้ไม่ทันนึกถึงข้อนี้  ผมจะนำข้อแนะนำนี้ไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท