มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 1 (2)


เพราะสังคมของเราตีคุณค่าของผลงานวิชาการต่ำ และยังไม่มีความสามารถในการจำแนกแยกแยะ ระหว่างผลงานที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สาธารณะสูง ออกจากผลงานคุณภาพต่ำไร้ประโยชน์สาธารณะ

         < เมนูหลัก >

         ตอน 1 (2)

         ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม

         ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม มีมากมายหลายด้าน แต่ในที่นี้เราจะเน้นที่ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้มหาวิทยาลัยอ่อนแอ และทำให้ระบบการวิจัยของประเทศอ่อนแอ

         โครงสร้างที่เป็นปัญหาในที่นี้คือ โครงสร้างค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม คนที่สมองดี การศึกษาดี ความสมารถสูง หากใช้ความสามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ในภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นสูงมาก

         ในขณะที่ คนที่มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน ใช้ความสามารถผลิตผลงานเชิงวิชาการซึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะ กลับได้รับเงินเดือน และค่าตอบแทนต่ำกว่ากรณีแรกอย่างมากมาย เพราะสังคมของเราตีคุณค่าของผลงานวิชาการต่ำ และยังไม่มีความสามารถในการจำแนกแยกแยะ ระหว่างผลงานที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สาธารณะสูง ออกจากผลงานคุณภาพต่ำไร้ประโยชน์สาธารณะ

         ดังนั้นจึงให้คุณค่าต่อผลงานวิชาการรวม ๆ กันไป ทำให้ผู้มีความสามารถและมีผลงานคุณภาพดี เกิดความท้อถอย หมดแรงบันดาลใจที่จะทำงานสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอันเป็นประโยชน์สาธารณะ เกิดภาวะสมองไหล หรือมิฉะนั้นก็สมองฝ่อ คือ กลายเป็นคนหมดแรงบันดาลใจ

         โครงสร้างค่าตอบแทนที่ขาดสมดุลย์นำไปสู่ความไม่สมดุลย์ของการกระจายมันสมองของชาติ คนที่สมองดีเยี่ยมไม่นิยมเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัย ซึ่งเป็นงานที่ต้องการสมองชั้นเลิศ

         โครงสร้างค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมในสังคม นำไปสู่โครงสร้างการกระจายมันสมอง ของชาติที่ไม่เหมาะสม ก่อปัญหาความความอ่อนแอในระบบการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นระบบที่สำคัญยิ่งต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ และขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนภายในประเทศ

         การจะแก้ปัญหาของระบบการวิจัยและพัฒนาอย่างได้ผลจริงจัง จึงต้องเริ่มที่ปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องเริ่มที่การเพิ่มค่าตอบแทนต่อนักวิจัย และใช้เป็นเครื่องมือดึงดูดเยาวชน ที่สมองชั้นเลิศเข้ามาเป็นนักวิจัย

         บทความพิเศษ ตอน 1 (2) ได้จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉ.2781 (103) 2 พ.ค.39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 6796เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2005 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท