ชาวลีซูปลูกป่า...ความประทับใจบนดอยสูง


ผมรู้สึกว่า งานที่เหนื่อยที่สุดในวันสองวันนี้ ...ผมรู้สึกมีพลัง หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

เช้าวันสดใส บนหมู่บ้านลีซูดอยสูงในอำเภอปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เป็นวันที่พวกเรานัดชาวบ้านลีซูปลูกป่าสมุนไพร เพื่ออนุรักษ์ เป็นส่วนหนึ่งตามโครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการความรู้ด้านสุขภาพลีซู </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">งานนี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาวลีซู หมู่บ้านกึ้ดสามสิบ ที่พวกเราและชาวบ้านลีซูได้ร่วมกันปลูกป่า จำนวน ๑๕ ไร่ บนดอยสูงด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน หลังจากได้วางแผนการดำเนินงานมาระยะหนึ่ง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างจิตสำนึกให้ชุมชน และเยาวชนลีซูรักษาป่า หวงแหนธรรมชาติ และมีป่าสมุนไพรลีซูที่หายากนำมารวมไว้ในป่าชุมชนของพวกเขา เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมื่อไม่กี่วันก่อน …ในเช้าที่หนาวเหน็บ อะซาผะ ปลุกผมตื่นขึ้นมาจิบน้ำชาอุ่นๆ พร้อมก่อกองไฟผิงคลายหนาวในบ้านที่สร้างเป็นกระต๊อบเล็กๆ โดยใช้ไม้ใผ่และหลังคามุงด้วยหญ้าคา เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของพี่น้องชาวไทยภูเขาที่อยู่แอบอิงกับธรรมชาติ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในเช้าตรู่เสียงประกาศข่าวจากผู้ใหญ่บ้านประกาศเป็นภาษาลีซูให้ชาวบ้าน เตรียมกล้าสมุนไพรครัวเรือนละต้น หรือตามแต่มี เพื่อนำไปปลูกในป่าชุมชนของหมู่เฮา…แปลเป็นภาษาไทยให้ผมฟังแบบคำต่อคำ ผมฟังคำแปลแล้ว น้ำชาเมี่ยงที่ผมจิบเช้านี้ กลิ่นรสละมุนเหลือเกิน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คำว่า ป่าของหมู่เฮา  ในเช้าวันนี้ ผมรู้สึกเป็นสุขใจ ที่ได้ยินคำนี้ จิตสำนึก ความรัก ความหวงแหนชุมชน เป็นสิ่งที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาโดยง่าย หากการปลูกป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์สมุนไพรลีซูในครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นจุดประกายสิ่งดีๆที่จะเกิดขึ้นต่อไป…ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเดินออกไปในหมู่บ้านช่วงเช้า สวนทางกับแม่เฒ่าอะหมี่มะ แม่เฒ่าเป็นผู้เฒ่าหญิงอายุเยอะแต่ยังแข็งแรงและอารมณ์ดี เธอทักทายผมเป็นประจำพร้อมกับยิ้มเห็นฟันดำๆ ในก๋วย(ตระกร้าไม้ไผ่สาน) ข้างหลังแม่เฒ่า ผมเห็นกล้าไม้เล็กๆ สองสามต้น ที่รากพอกด้วยดินอย่างดี ผมคิดในใจว่า คงเป็นกล้าสมุนไพรที่แม่เฒ่าเตรียมนำมาปลูกในวันพรุ่งนี้แน่ๆ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แม่เฒ่าอะหมี่มะ กับสมุนไพรหายาก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมลองถามแม่เฒ่าว่า </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ข้างหลังแม่เฒ่าคือต้นอะไร? นำมาทำไม?”</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แม่เฒ่าหยุดเดินพร้อมบอกผมว่า </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เป็นกล้าสมุนไพรลีซู ที่หายาก เอามาปลูกที่ข้างบนนู้น…น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แกบอกผมด้วยสำเนียงพูดไทยไม่ชัดพร้อมชี้นิ้วไปที่พื้นที่ป่าสมุนไพรที่เตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว แม่เฒ่าเป็น แนซึซือซุ หมอยาสมุนไพรลีซูที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดีช่วงผมทำวิทยานิพนธ์บนดอยนานมาแล้ว </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หนุ่มสาวลีซู...สนุกสนานวันปลูกป่าสมุนไพรลีซู</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เหตุการณ์เล็กๆสองสามเหตุการณ์ก่อนที่จะมี การปลูกป่าสมุนไพรลีซูในครั้งนี้ ทำให้ผมมีความสุขยิ่งนัก และนึกถึงวันที่ปลูกจริงๆ จะเป็นอย่างไรนะ?</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อะซาผะบอกผมว่า สาวๆหนุ่มๆ เตรียมตัวเต้นแสดงความยินดี ที่ป่าชุมชนด้วย คุณครูฝากข่าวมาบอกอีกว่าจะนำเด็กๆมาร่วมปลูกป่าและเรียนรู้ทั้งหมดโรงเรียน ผมนึกถึงจำนวนนักเรียนกว่า ๒๐๐ คน งานปลูกป่าครั้งนี้คงคับคั่งไปด้วยผู้คน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ได้รับแจ้งแจ้ง พ.ท.ปิยวุฒิ  โลสุยะ ว่าจะนำรถทหารพร้อมกล้าไม้สมุนไพรที่ทางป่าไม้ อนุเคราะห์ให้ชาวบ้านนำมาปลูกเพิ่มเติม ได้แก่ มะขามป้อม ไพล และพืชสมุนไพรอีกจำนวนหนึ่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในวันปลูกป่าสมุนไพร ชาวบ้านและนักเรียนก็มาพร้อมกันยังป่าชุมชนที่เตรียมพื้นที่ไว้เรียบร้อยแล้ว หนุ่มสาวก็ช่วยกันปลูก หยอกล้อกันอย่างน่ารัก ชาวบ้านและผู้เฒ่าต่างก็นำต้นสมุนไพรมาปลูกตามจุดที่ได้กำหนดไว้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หนุ่มสาวลีซู...หยอกล้อกันระหว่างปลูกป่า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจากเสร็จงานปลูกป่าพวกเราก็พร้อมใจกันเต้นรำแสดงความยินดี เสียงฟู่ลู่ และแคนน้ำเต้าดังก้องป่า พร้อมกับเสียงหัวเราะ การเต้นรำที่สนุกสนานของชาวบ้าน ภาพของผู้คนกว่า ๔๐๐ คน ที่ร่วมกิจกรรมในวันนี้ ผมเห็นความรัก ผมเห็นความตั้งใจของชาวบ้านลีซู ในการร่วมกิจกรรมเพื่อชุมชนของพวกเขา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภาพมุมสูงจากป่าชุมชนของเรา...เห็นหมู่บ้านอยู่ข้างล่าง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ทำให้ผมรู้สึกว่า งานที่เหนื่อยที่สุดในวันสองวันนี้ …ผมรู้สึกมีพลัง หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเป็นความประทับใจจากดอยสูง…ปางมะผ้า </p><hr>

บันทึกประสบการณ์ วิจัยเพื่อท้องถิ่น บนดอยสูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามโครงการวิจัย การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นชาวลีซู บ้านกึ้ดสามสิบ อ.ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน  

</font><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 67890เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)
  • เป็นโครงการวิจัยที่น่าสนใจ และคงจะมีประโยชน์ต่อชาวเขาโดยตรง
  • ยกนิ้วให้กับเจ้าของโครงการลักษณะนี้
  • จบโครงการแล้วจะเป็นสมาชิกหมู่บ้านไปด้วยเลยหรือเปล่า

สวัสดีตอนเช้าค่ะ

ตื่นมาหาสมุนไพรกันแต่เช้าเลยนะคะคุณเอก

^____^

อาจารย์หมอสมบูรณ์ 

เป็นภาพยืนยันว่า หัวหน้าโครงการ หลังจากเสร็จงานแล้วเกือบตัดสินใจเป็นสมาชิกในหมู่บ้านครับ

สาวๆลีซู มีเชื้อจีนครับ น่าตา ผิวพรรณจะคล้ายจีน สรุปแล้ว สาวลีซูสวยครับ!!!

คุณแนน IS

ไม่ยักจะรู้ว่า ตามผมมาเก็บสมุนไพรเหมือนกัน

จริงๆผมมีบันทึกที่ผมไปเก็บสมุนไพรกับผู้เฒ่าชาวลีซู นะครับ

สนุกและได้ความรู้ TK จากพ่อเฒ่าชาวลีซูมากมายครับ

ไปเก็บสมุนไพรกับพ่อเฒ่าลีซู...กิจกรรมเก็บข้อมูลงานวิจัย

ดูทุกคนขมักเขม้นกับการปลูกต้นไม้มากนะคะ มีใครปลูกต้นรักไว้สักกอในโครงการด้วยไหมคะ(แวะมาแซวค่ะ)

^__^

อาจารย์จันทรัตน์ มาแซวหนุ่มบนดอยตั้งแต่เช้าเลยครับ

ต้นรักผมปลูกไว้หลายต้นครับ ป่านนี้คงเหี่ยวเฉาแล้วครับ ไม่มีใครดูแลต้นไม้ของผมเลยครับอาจารย์!!!

 

มิได้ปลูกแต่ต้นไม้ละครับ

เป็นการปลูกความผูกพันกันบนดอยเลย

เป็นกำลังใจให้กับชุมชนชาวบ้านด้วยครับ 

ใช่แล้วครับ คุณ ตาหยู

สิ่งที่เราได้และทำให้ใจเราอิ่มเอิบคือ บรรยากาศของความรักที่เราถ่ายเทออกจากตนเอง ไปสู่ธรรมชาติ อย่างใกล้ชิด

ผมอยากให้ ตาหยู ไปร่วมในบรรยากาศในวันนั้นด้วยครับ

ปลูกป่า ปลูกใจ ไททั้งผอง

เป็นพี่ เป็นน้อง ปองใจ

ขุดปลูก รดน้ำ รดใจ

ต้นใคร ต้นรัก ปักปลูก(เอย)

  • นอกจากสอนให้ใช้ยาสมุนไพรแล้ว
  • สอนให้ทานอาหารให้ครบ ห้าหมู่ ด้วยหรือเปล่า
  • อยากทราบรายละเอียด เรื่อง ห้าหมู่ ให้ถามคุณกฤษณา
  • เยี่ยมเลยครับน้องเอก ท่าทางทุกคนตั้งใจมาก
  • คุณหมอสมบูรณ์จะย้ายไปภาคเหนือก็ภาพนี้ละครับ

คุณออต

น่าจะสนุกสนาน ยินดี กับงานรับปริญญาใน มข. อยู่นะครับ

บรรยากาศแบบนี้เป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความชื่นชมนะครับ ปีหนึ่งมีหนเดียว

ขอบคุณกวี...ไม่ยักจะรู้ว่าคุณออตก็เขียนกวีได้ดีนะครับ

อาจารย์หมอ สมบูรณ์

นอกจากจะเรียนรู้กันเรื่องสมุนไพรแล้ว อาหาร ๕ หมู่เราก็สอนครับอาจารย์ แต่ ระยะห่างของแต่ละหมู่ไกลกันเหลือเกิน ชาวบ้านบอกกับผมว่ากว่าจะกินครบแค่ ๒ หมู่ก็เดินไกลแล้วครับ (เอ๊ะ...ใช่แบบนี้หรือเปล่า) ต้องถามพี่ติ๋ว แล้วครับ

อาจารย์ขจิต

บรรยากาศในวันปลูกป่า เป็นบรรยากาศที่ผมจดจำไว้ไม่ลืมเลยครับ..สนุกสนานและอิ่มเอมความสุข

ส่วนรูปเป็นการเต้นรำหลังเสร็จงานครับ สาวๆแต่งตัวชุดชนเผ่า ผมถูกชาวบ้านจับให้ใส่ชุดชนเผ่าด้วย เลยเท่ เลยครับ

ไม่ได้เข้าเยี่ยม blog ของพี่เอกนานเลย ยังก็ยังไม่นานพอที่จะลืมหรอกน่า ... หุหุหุ เข้ามาทีไรยังคงมีเรื่องราวดีๆ บทความน่าอ่าน ให้ได้รู้กันประจำ ว่างๆ ก็เข้าไปเยี่ยม blog ของผมบ้างนะ เพิ่งจะเปิดใหม่ (อันเก่าจำชื่อจำรหัสมะได้แล้ว แบบว่าไม่ได้เข้านาน เสียดายข้อความจัง)

http://supanat.bloggang.com

น้องหมูมอมแมม

มาอีกแล้ว หมูจอมซนแต่น่ารัก

ก็พี่อุตส่าห์แอด Blog ผมให้เป็นเวปในดวงใจคน สกว.แล้ว ทำไมไม่คลิ๊กมาเยี่ยมบ้างนะ

ลองดูที่ Favorites ดูนะครับผม

ผมว่าน้องหมู มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ CBR ว่างๆก็เปิด Blog ใน G2K บ้างนะครับ

เพื่อประโยชน์โดยทั่วหน้ากัน

ขอบคุณครับน้องหมูมอมแมม

 

  • เห็นชาวเขาแล้วน่ารักมากเลยค่ะ..คุณเอกพูดคุยกับเขารู้เรื่องหรือคะ
  • อ.สมบูรณ์บอกให้ดิฉันถามเรื่องอาหาร 5 หมู่แล้วหายไปไหนล่ะ...ดิฉันละนึกถึงหมู่ทหารไปโน่นเลยค่ะ..
คุณเอก..ไหนว่าหนาวมากไงคะ..ทำไมพี่ไม่เห็นเขาใส่เสื้อแขนยาวเลย

เห็นภาพร่วมมือ ร่วมแรง เห็นพลัง

...กิจกรรมก่อเกิดความสามัคคี....ประทับใจมาก ...ชอบชุดพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ถามอาจารย์หน่อยนะค่ะ...ผืนดินที่ร่วมกันปลูกป่านี้ เป็นที่ที่ถูกทำลายต้นไม้ หรือว่าเพื่อเพิ่มต้นไม้ หรือสมุนไพรที่ยังไม่มีค่ะ???

 

ขอบคุณค่ะ

 

 

พี่ติ๋ว

ผมให้ Comment ที่อาจารย์หมอสมบูรณ์ครับ(ข้างบน) ครับ ลองดูนะครับ

  ส่วนภาษาสื่อสารก็ใช้ภาษาไทย(ผมใช้กับชาวบ้าน) แต่ผมค่อนข้างพูดได้บ้าง ครับ

ภาษาลีซูพูดยากหน่อย แต่ภาษาความรักนี่เป็นภาษาเดียวกัน เราสื่อกันด้วยดวงตา และหัวใจครับ :)

 

 

คุณ Chah

ชุดชนเผ่าสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์มากครับ ลีซูถือว่าเป็น "ราชินีแห่งขุนเขา" ครับ

พื้นที่ ๑๕ ไร่ เป็นไร่หมุนเวียนเดิมของชุมชน ที่ถูกกันไว้เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนครับผม

ตอบ พี่กฤษณา อีกครั้ง

พี่น้องลีซู ทำงานออกแรง ทำงานกลางแดด หากสวมเสื้อกันหนาวก็อึดอัด ประกอบกับเหงื่อออกด้วยครับ

แต่บรรยากาศทั่วไปหนาวครับ

 

ชุมชนนึง..เขาอยู่กันกี่คนคะ..แล้วเวลามีปัญหาเค้าดูแลและแก้ปัญหากันยังไง
  • คุณเอก ต้นรักเขาต้องปลูกกัน สองคนครับ ยิ่งคุณเอกงานยุ่งด้วยแล้ว ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ก็ให้อีกคนช่วยดูแลให้ไงครับ
  • อ่านบันทึกนี้แล้วชื่นใจครับ นอกจากได้สมุนไพรแล้วใช้ในอนาคตแล้ว ยังปลูกความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วยจริงๆ ทั้งลีซู-ลีซู และ ลีซู-ไทย แถมด้วย ไทย-ไทย
  • นานๆ จะได้เห็นคุณกฤษณา พูดจาเป็นทางการนะ

สวัสดีครับพี่กฤษณา

และมีคนแซวว่า นานๆจะเห็นพี่กฤษณาพูดอย่างเป็นทางการ นะครับ

เอาเป็นทางการ ดังนี้

ชุมชนส่วนใหญ่ที่นี่ก็เป็นหมู่บ้านขนาดกลางครับ ระยะห่างระหว่างหมู่บ้านก็ใกล้ไกล แล้วแต่ภูมิศาสตร์ เพราะลีซูในอดีตปลูกฝิ่น จึงต้องเลือกทำเลที่อยู่บนดอยสูง อากาศเย็น ห่างจากทางการที่คอยตัดทำลายไร่ฝิ่นของพวกเขา

ชุมชนที่ผมทำงานวิจัย เป็นชุมชนขนาดกลาง ประมาณ เกือบ ๒๐๐ หลังคาเรือน มีประชากรพันกว่าชีวิตครับ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ๙๘ เปอร์เซนต์ มีจีน และไทใหญ่บ้างเล็กน้อย

การจัดการชุมชน มีผู้นำทางการและผู้นำธรรมชาติ นับถือผู้อวุโส เชื่อเรื่องผี ดังนั้นจารีตต่างๆ ถูกโยงกับความเชื่อ และความศรัทธากับผีครับ

ผมเคยเขียนเรื่อง "ผีกับลีซู" ไว้ในบทความไหนสักแห่ง วันหลังจะนำมาแลกเปลี่ยนครับ

พี่ไมโตคอนเดรีย

เรื่องจริง สำหรับการปลูกต้นรัก ต้องใส่ใจรดน้ำพรวนดินทั้งสองคน เวลาคุณภาพแบบนี้สำคัญ เรื่องแซวที่สะท้อนความจริงของพี่กานต์

สิ่งที่เราได้อีกอย่างนอกจากที่พี่เขียนใน Commentคือ  เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของพวกเขา จากพื้นที่เรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ

งานวิจัยเราพัฒนาสู่โรงเรียนในที่สุดครับ เป็นหลักสูตรท้องถิ่นลีซูครับผม

น่าสนใจมากเลยครับ อิจจาคุณจตุพรได้อยู่ที่อากาศดีตลอดเลย :>

PS วันนั้นดูรายการแล้วครับ ขอบคุณที่บอกครับ

 Aj Kae  ครับ

ในช่วงเวลา ๑๐ กว่านาที ที่รายการได้ถ่ายทอด ความเป็นจีนยูนนาน ออกมา จริงๆแล้ว เรามีสิ่งที่ดีๆเยอะครับ เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งเอง หากอาจารย์มีโอกาส มาเที่ยวเมืองปายครับ จะเป็นผู้นำทาง (ไกด์) ให้ครับ

เพราะเกิดและอยู่กับพื้นที่แบบนี้ครับ เมื่อก่อน(วัยเด็ก)คิดว่า บ้านเราช่างลำบากจริงๆ แต่มาถึงวันนี้ก็คิดว่าโชคดีที่เราได้อยู่ในพื้นที่แบบนี้

อยากรักษาสมดุลธรรมชาติดีๆนานๆครับ

ให้กำลังใจเรื่องเรียนนะครับอาจารย์

ขอบคุณ อ.จตุพร สำหรับกำลังใจครับ เดี๋ยวนี้ปายดังมากเลยครับ อยากไปเที่ยวเหมือนกันแต่ในใจก็กลัวว่าถ้าดังมาก ๆ แล้วมันจะไม่เหมือนเดิม ความหวังอยู่ที่อ.จตุพรที่รักษาสิ่งดี ๆ ไว้ครับ :>

 Aj Kae  ครับ

เป็นสิ่งที่เราพยายามทำสิ่งดีๆให้สมดุลที่เมืองปาย ผมเชื่ออย่างหนึ่งเรื่องบทเรียนที่เมืองท่องเที่ยวอื่นๆที่ เข้าข่ายล่มสลาย

ในภาวะที่การท่องเที่ยวรุนแรง ผมดีใจที่ คนเมืองปาย และ ผู้ประกอบการได้รวมตัวกัน ด้วยการร่วมกัน คิด ร่วมกันหาแนวทางการดูแลเมืองให้สวยงาม แบบนี้ตลอดไป

โชคดีที่ยังมีการรวมตัวกันได้ครับ...ผมยังพอมองเห็นสิ่งดีๆที่เกิด

ปายเกิดไม่เหมือนที่อื่นครับ

ปายเกิดจาก ศิลปะ ธรรมชาติ และ มิตรภาพ ดังนั้นวิถีที่ปายผมคิดว่าแตกต่างจากที่อื่น

ความหวัง...เหรอครับ ความหวัง ในการพัฒนาเมืองปาย อยู่ที่คนปายทุกคนครับ

ผมก็เป็นคนหนึ่งครับอาจารย์ Kae

  • เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่ามากกว่าจะได้เรียกชื่อว่าโครงการวิจัย
  • เป็นสิ่งที่นักวิชาการไทยควรจะได้รู้ ได้เห็น และควรจะนำเป็นตัวอย่างของการทำงานกับชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
  • มีความสุขทุกครั้งที่ได้เห็นงานวิจัย (แท้) แบบมีอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ทำโดยลูกหลานไทยและเพื่อชาวไทยครับ
  • ขอร่วมส่งพลังและแรงใจให้กับทุก ๆ ท่านที่มีส่วนร่วมอยู่ในโครงการนี้

ขอบคุณครับ อาจารย์ปภังกร

โครงการวิจัย เพื่อการพัฒนา เป็นการรวมใจคนทั้งหมด เพื่อคิดสิ่งดีๆ เพื่อชุมชน

หากงานพัฒนาใดก็ตามสามารถ รวมใจ เกี่ยวใจ คนเข้าด้วยกัน  ผมว่าประสบความสำเร็จ

งานวิชาการก็เดินเคียงคู่กับชุมชนไปครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่มาร่วมให้กำลังใจ

ได้ดูรายการ "มันแปลกดีนะ" ประทับใจและนึกภาพได้ตั้งแต่น้องเอกเล่า + เห็นภาพจากทีวียิ่งทำให้ใจอยากไปปะหน้าน้องเอกแห๋ม...คาดหวังว่าจะเห็นน้องเอกออก ทีวี จั๊กกะหน่อย...มองจนตาแทบเหล่ก็มองไม่เห็น..เอ๊...วันนั้นน้องเอกหลบไปไหนทำไมไม่เข้ากล้องฮึ? พี่เล็กสงกะสัย

 พี่เล็ก

วันนั้นผมก็อยู่ด้านหลังครับ ประสานงานทั่วไป วิ่งไปวิ่งมาครับ เหนื่อยมากครับในวันนั้น

ดูภาพที่ปรากฏในบันทึกนี้พลางๆก่อนนะครับผม

เหมือนกันครับถ่ายวันเดียวกันครับพี่เล็ก

 

ชอบภาพและคำหลายคำที่ดูมีชีวิตของคุณมาก  ผมหลงใหลการเดินทางและไม่ยักกะได้เดินทาง  ชอบ, ข้อเขียนให้สไตล์นี้มาก  และอยากเขียนแบบนี้ แต่ก็อยู่ระหว่างการเรียนรู้ และไม่รู้ว่าที่ตนเองเขียนนั้นเป็นอะไร ใช่ KM หรือเปล่า ...

    แต่ก็มั่นใจว่าในอีกไม่ช้า...คงดีขึ้น และล่องเล่นอยู่ในเครือข่าย KM อย่างไม่ขวยเขิน

    มีความสุขกับการไล่ล่าความฝันมาก ๆ นะครับ

 

ขอบคุณครับคุณแผ่นดิน

ผมเพิ่งไปเยี่ยม บ่อน้ำและกองไฟของคุณมาครับ ผมก็ชื่นชอบแบบนั้นเช่นกัน เป็นแบบของผมด้วยสิครับ

อย่าไปคิดมากเรื่อง KM ผมเคยรู้สึกแบบนั้น แต่มีพี่ Blogger หลายๆท่าน บอกว่า งานเขียนแบบนี้สอดแทรกทั้งความรู้ และชีวิต นั่นคือ กำลังใจที่เป็นยาใจสำหรับการเดินทางของชีวิต

มั่นใจเถอะครับ...KM ก็คือทุกอย่างที่คุณเขียนลงไป เป็นเรื่องราวของงาน เป็นเรื่องราวของวิธีคิด ทั้งหมดเป็น TK เฉพาะบุคคล ที่มีวิธีการถ่ายทอดที่แตกต่างกัน

ผมชื่มชม และชอบบันทึกของคุณแผ่นดินเช่นกัน ผมขอให้กำลังใจครับ

  • ธรรมชาติมากๆ เลยค่ะ
  • อยากไปช่วยปลูกป่ามั่งจังเลยค่ะ
  • เวลานั่งรถผ่านเขาหัวโล้น แล้วสะท้อนใจทุกที ทำมัยเค้าไม่ปลูกป่านะ?  แต่เราเองก็ไม่เคยมีโอกาสได้ไปช่วยเลย.....
  • อยากไปเยี่ยมเมืองปายบ้างค่ะ .....
  • หนาวๆ อย่างนี้ ดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ

เรียน อาจารย์ paew

ครับสำหรับธรรมชาติที่นี่ ยังสมบูรณ์และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านยังอิงแอบธรรมชาติอยู่ครับ

มีโอกาสดีๆ อาจารย์ว่างๆเรียนเชิญอาจารย์มาเที่ยวเมืองปาย ครับ

รักษาสุขภาพด้วยครับอาจารย์ paew

สวัสดีครับ คุณหมอเอก ผมได้อ่านบทความและเห็นภาพแล้วคิดถึงบ้านขึ้นมาทันที ผมเองไม่ใด้กัลบมา 1 ปีแล้ว ก็จะหาเวลากลับบ้านอยู่เหมือนกัน ขอบคุณ คุณหมอแทนพี่น้องหมู่บ้านกึ้ดสามสิบทุกคนที่ใด้ทำสิ่งดี ให้กับหมู่บ้านมาโดยตลอด

น้องพงษ์/ // อยู่ไหนครับตอนนี้ ติดต่อผมผ่านทางอีเมล ได้เลยครับ

หลังจากเหตุการณ์รุนเเรงเกิดขึ้นกับครอบครัวพี่ยอดชาย ผมก็สะเทือนใจมากครับ ยังทำใจไม่ได้เท่าไหร่นะครับ

ยังไง น้องพงษ์ ติดต่อผมมาทางอีเมลได้เลยครับ

พี่เอก

Dear Nai

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดีที่นำเสนอให้สังคมได้รับรู้ ในมุมหนึ่ง ของชุนเผ่าลีซู

เป็นสาวลีซูเช่นค่ะ ตอนนี้อยู่ไต้หวัน หากฟ้าปราณี คงจะมีโอกาส ได้รู้จักกันนะค่ะ

Thanks.

May

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท