@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

เวทีเสวนา พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2549


First Public Hearing for Computer Crime Bill
คอมพิวเตอร์ เกี่ยวพันกับมนุษย์เราจนยากจะหลีกเลี่ยงได้ และเมื่อมนุษย์ต่างใช้เทคโนโลยีทำลายล้างกัน กฏหมายจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้งาน และเป็นการป้อมปรามการละเมิดแบบต่างๆ ที่มนุษย์ทำขึ้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจกฏหมายฉบับนี้ อย่าพลาดงานเสวนานี้นะคะ ถ้าสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเพื่อสำรองที่นั่ง (ถ้าไม่มั่นใจว่าจะไปได้ อย่าจองที่นั่งเล่นๆ นะคะ เพราะมีผลต่อการจัดจำนวนอาหารค่ะ) ได้ที่ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย โทร./แฟ๊กซ์. 02-251-3090 หรือโทรสอบถามได้ที่ 08-1402-2150
 

การเสวนารับฟังความคิดเห็น

หัวข้อ ร่วมวิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....
จัดโดย

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

ร่วมกับ

ชมรมความมั่นคงปลอดภัยของ Critical Infrastructure

ชมรมจริยธรรมบนพัฒนาการของ ว & ท (สื่ออิเล็กทรอนิกส์)

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย 

สมาคมผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม

สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย

สมาคมผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต

 

วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549

 

เวลา 8.30-16.30 น.

โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ


เนื่องด้วยร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....         ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น จำนวน 25 คน โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) เป็นประธานคณะกรรมมาธิการวิสามัญ เพื่อให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ในรายละเอียด ก่อนเสนอกลับไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบ เพื่อให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปนั้น 
           อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับข้างต้น จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่มีความสำคัญยิ่งต่อสังคมไทย และจะมีผลใช้บังคับไปอีกยาวนาน หากแต่สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ในหลายมาตราก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แม้ส่วนใหญ่เสียงที่ได้รับฟังนั้นจะเห็นด้วยกับหลักการของร่างกฎหมาย หรือเห็นด้วยกับความจำเป็นที่ต้องมีการบังคับใช้

           ข้อวิพากษ์วิจารณ์หรือข้อห่วงกังวลที่ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันนั้น ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปในเรื่องความชัดเจนในการกำหนดฐานความผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในร่างมาตราที่อาจส่งผลกระทบต่อการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี, ผลกระทบหรือภาระที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ให้บริการ, ความมากน้อยหรือเหมาะสมในการกำหนดบทลงโทษ, การให้อำนาจหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่อย่างมากมายเสียจนอาจเป็นที่มา ของการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและอาจสุ่มเสี่ยงต่อการรุกล้ำสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน, การเตรียมความพร้อมของพนักงานเจ้าหน้าที่ และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งความทันสมัยของร่างกฎหมายให้สามารถรับมือ กับการกระทำความผิดโดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าการกระทำความผิดที่ผ่านๆ มา

           อย่างไรก็ตาม ข้อคิดเห็นที่เกิดขึ้นนั้นอาจอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจร่างกฎหมายเป็นอย่างดี และอาจด้วยความไม่เข้าใจหรือไม่ทราบที่มาที่ไปของร่างกฎหมาย และอาจยังมีประเด็นปลีกย่อยอีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องรับฟังให้ครบถ้วนด้วยความรอบคอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวม และนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... เพื่อให้ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีความสมบูรณ์ที่สุด ก่อนจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปในอนาคต

 

วัตถุประสงค์

 

          1. เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานร่วมกันเกี่ยวกับเจตนารมณ์ และนัยสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....

          2. เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อสังเกต ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะร่วมกันจากทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

          3. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้สมบูรณ์ต่อไป

 

ผู้ร่วมงาน

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประมาณ 150 คน จากสาขาต่างๆ ดังนี้

  • คณะกรรมมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา                       ประมาณ 20 คน
  • สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย                                           ประมาณ 50 คน
  • ชมรมความมั่นคงปลอดภัยของ Critical Infrastructure     ประมาณ 10 คน
  • ชมรมจริยธรรมบนพัฒนาการของ ว & ท (สื่ออิเล็กทรอนิกส์)  ประมาณ 10 คน
  • มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  • ผู้ให้บริการ ISP สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย   ประมาณ 10 คน
  • สมาคมผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม                         ประมาณ 10 คน
  • สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย           ประมาณ 10 คน
  • สมาคมผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต                             ประมาณ 10 คน
  •  ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการ ผู้พิพากษา            ประมาณ 10 คน
  • และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการ และสภาทนายความ
  • นักข่าวสายไอที สายอาชญากรรม และสายสภานิติบัญญัติแห่งชาติ     ประมาณ 10 คน        

  

สถานที่จัดงาน

        วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2549 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ เวลา 8.30 -16.30 น.

 

(ร่าง)

กำหนดการเสวนารับฟังความคิดเห็น

หัวข้อ ร่วมวิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ....

 

วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549

เวลา 8.30 -16.30 น.

 

โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ

 

8.30  9.00 น.          ลงทะเบียน

9.00 10.00 น.         นำเสนอที่มาของ คำนิยาม & ฐานความผิด  โดย
                              ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล

                              รองประธานคณะกรรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... คนที่ 2

10.00 10.45 น.        นำเสนอการวิพากษ์ โดย

  • ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
    รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ คนที่ 2
  •  รศ.ดร.ทวีเกียรติ  มีนะกนิษฐ
    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายสราวุธ เบญจกุล
    รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
  • พ.ต.อ.ญาณพล  ยั่งยืน
    สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
  • นายพิชัย  พืชมงคล
    บริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน)
  • นายวันฉัตร  ผดุงรัตน์
    pantip.com และ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
  • นายสมา  โกมลสิงห์ บรรณาธิการรายการถอดรหัส  และรายการย้อนรอย สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
  • ดำเนินการวิพากษ์ โดย นายปรเมศวร์ มินศิริ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

10.45 11.00 น.        พักรับประทานอาหารว่าง

11.00 12.00 น.        การเสวนารับฟังความคิดเห็น (ต่อ)

12.00 13.00 น.        พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 16.30 น.        นำเสนอการวิพากษ์ เขาว่า..อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ล้นฟ้า จริงหรือไม่ โดย

  • นายพรเพชร  วิชิตชลชัย
    ประธานศาลอุทธรณ์
  • รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์
    คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายชวลิต  อัตถศาสตร์
    อุปนายกฝ่ายวิชาการสภาทนายความ
    คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • นายอัครวัฒน์  เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    รักษาการกรรมการร่างกฎหมายประจำ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • พ.ต.ท.นิเวศน์  อาภาวศิน
    รองผู้กำกับการงานอำนวยการศูนย์ตรวจสอบ และวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • นางมรกต  กุลธรรมโยธิน
    นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
  • นางภูมิจิต ศิวะวงศ์ประเสริฐ
    อุปนายกและเหรัญญิกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
  • ดำเนินการวิพากษ์ โดย นายภาวุธ  พงษ์วิทยภาณุ
    สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

 

 

ร่วมตั้งคำถาม ให้ข้อสังเกต ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ตลอดวันโดยผู้เข้าร่วมงาน

 

หมายเหตุ  รายนามวิทยากรอยู่ในระหว่างการติดต่อทาบทาม อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 67881เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เชิญร่วมการเสวนารับฟังความคิดเห็น หัวข้อ
"ร่วมวิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...."
จัดโดย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับหลายๆหน่วยงาน
วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549 เวลา 8.30-16.30 น.
โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ
เนื่องด้วยขณะนี้บุคลากรประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องบางท่านมีความคิดที่ผิดแผกไปจากบุคคลอื่นเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลลงในตัวบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า Handy Drive หรือ Thump Drive โดยการนำข้อมูลทุกอย่างทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นเก็บลงไป ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่และงบประมาณ

ดังนั้น จึงขอความกรุณาบุคลากรประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องทุกท่าน เพื่อให้เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาตรงจุดนี้ จึงขอแจ้งให้บุคลากรประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องทราบว่า Handy Drive หรือ Thump Drive เป็นตัวเคลื่อนย้ายข้อมูลไม่ใช่เป็นตัวบันทึกข้อมูลหรือหากต้องการบันทึกข้อมูลสามารถสำรองไว้ได้ใน Handy Drive หรือ Thump Drive หากข้อมูลนั้นมีขนาดไม่ใหญ่หรือไม่เยอะจนเกินไป แต่หากข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่หรือเยอะจนเกินไปให้ใช้แผ่น CD แทนการบันทึกด้วย Handy Drive หรือ Thump Drive

ขอบคุณครับ
คำสั่งข้างต้นจาก หัวหน้างานเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่ตั้งขึ้นโดยผู้บริหารจากความเห็นดังกล่าว ค่อยข้างเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เอื้อต่อการใช้งานตามความเหมาะสมเพราะผู้สั่ง ปกตินั่งทำงานอยู่แต่ในสำนักงานที่มีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย การWrite CD/DVDจึงเป็นเรื่องง่ายๆแต่ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเคลื่อนย้ายสถานที่ปฏิบัติงานอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่โรงแรมหรูจนถึงหมู่บ้านในชนบทที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย บ่อยครั้งที่เราจะเจอ มีคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีเครื่อง Write งานในแผ่นCD ที่เราพกพาไปปรากฏว่า CD แตกเพราะการเคลื่อนย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อ Handy Drive ข้อมูลเต็ม แต่ข้อมูลที่มีอยู่ก็ไม่สามารถเก็บไว้ที่สำนักงานได้ต้องพกพาติดตัวไปในพื้นที่ที่ไปปฏิบัติงานเพราะงานมักจะเจอสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นการมีข้อมูล ฐานข้อมูลไว้กับตัวจึงเป็นการรอบคอบที่สุดจึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยความที่เราเป็นผู้น้อย ไม่มีอำนาจในการซื้อ Handy Drive  file ที่จะเก็บก็ใหญ่เกินกว่าที่จะเก็บไว้ในดิสเก็ต ในขณะที่งานเร่งด่วน (เราในฐานะผู้ปฏิบัติ ที่เงินเดือนแทบไม่พอในแต่ละเดือน ) จึงจำเป็นต้องอนุมัติ เงินส่วนตัว เพราะเป็นงบประมาณแหล่งเดียวที่เรามีอำนาจอนุมัติ ซื้อ Handy Drive เพื่อมาใช้งานของรัฐ หากเกิดขึ้นไม่บ่อยเราก็พอขอยืมเงินจากผู้มีอุปการคุณมาเสียสละให้หลวงได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ลูกเราคงอดข้าวนั่งกินแกลบกันแน่          จึงอยากขอความเห็นจากผู้มีความรู้ด้านนี้ ช่วยให้ความเห็น และเหตุผลของการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ ทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า  Handy Drive ด้วย เพื่อให้เจ้านายเราเข้าใจและปรับเปลี่ยนคำสั่งให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในการทำงานด้วยเถิดก่อนที่เราจะต้องควักกระเป๋า ซี้อ Handy Drive อันต่อไป ถ้าข้อมูลใดไม่จำเป็นต้องใช้ เราจะเอาติดตัวไปทำไมให้หนัก ซึ่งโดยปกติเราจะ back up ข้อมูลใน Handy Drive ไว้ใน CD เสมอ / ขอบคุณล่วงหน้าค่ะสำหรับทุกท่านที่กรุณาอ่าน และให้ความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท