โครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ (C-Cement)


มุ่งพัฒนาคนเชิงพฤติกรรม มุ่งปรับกระบวนทัศน์ของคน และนำความรู้ที่ได้มาปรับช้กับชีวิตประจำวันทั้งชีวิตส่วนตัว และการทำงาน

      ผมได้เขียนพาดพิงถึงโครงการส่งเสริมทักษะ (C-Cement) มาแล้วหลายครั้งทำให้หลายท่านสงสัยว่า โครงการเป็นอย่างไร  เรียนอะไรบ้างในโครงการ ก็ขอเล่าคร่าวๆก็แล้วกันนะครับ เพราะถ้าลงรายละเอียดคงเล่ากันยาวแน่ครับ...    

     โครงการ C-Cement เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กับพนักงาน โดยใช้หลักการ

  • Constructionism ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติจริงสิ่งที่เป็นจริงในโลกภายนอกและเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ค่อย ๆ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไปเป็นลำดับจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดเอง นำเอาความคิดและผลงานของตนเองมาวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นอย่างเปิดเผยและจริงใจ สามารถทวนสอบการคิดว่าถูกต้องแล้วมากน้อยเพียงใด สิ่งที่สร้างขึ้นมาจะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิด เป็นวงจรที่ต่อเนื่องไปไม่มีที่สิ้นสุดโดยมีครูที่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างดี เอาใจใส่ผู้เรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด คอยสนับสนุน ต่อยอดความคิด และสามารถเรียนรู้กับผู้เรียนได้
  • Learning Organization มุ่งพัฒนาพนักงานให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต   ให้คนในองค์กรเป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ เพื่อที่จะพัฒนาตนเองได้อยู่เสมอ และทันเหตุการณ์

 ระยะเวลาของโครงการ ต่อรุ่น ระหว่าง 6 – 7 สัปดาห์ ซึ่งแต่ละรุ่นมีพนักงานเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 40 – 45 คน โดยที่พนักงานไม่ต้องทำงาน บุคคลที่เกี่ยวข้องในโครงการ...·  

     Sponsor หรือคุณเอื้อ ซึ่งได้แก่คณะจัดการหรือ ผู้บริหาร

·    Facilitator หรือคุณอำนวย ซึ่งเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวก และจัดกระบวนการ สร้างเวทีสำหรับการเรียนรู้ ฯลฯ           

·    Learner หรือคุณกิจ คือพนักงานที่ร่วมโครงการแต่ละรุ่นเรียนอะไรบ้าง???....ในโครงการมีการจัดการเรียนเป็น Camp ซึ่งประกอบด้วย Camp ต่างๆดังนี้·       

 Camp Portfolio การตั้งเป้าหมายของตนเองที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร รวมถึงการพัฒนาตนเองผ่าน กิจกรรมต่าง

Camp Micro world  ฝึกวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน  การสร้างจินตนาการ ไปจนถึงการนำจินตนาการสู่การปฏิบัติจริง· 

Camp Lego  ฝึกการเรียนรู้เป็นทีมของผู้เรียนฝึกการคิดอย่างเป็นภาพรวม /เป็นระบบ  ฝึกการทำงานเป็นทีม·     

EQ Camp   ฝึกให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกสติและรู้จักตัว เอง · 

Game Simulation ฝึกการเรียนการบริหารจัดการผ่าน Game ,ฝึกการวางแผนงานทางธุรกิจ·       

 Project based Learning ฝึกการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่าน PBL, ฝึกการเรียนรู้เป็นทีม(Team Learning) , เน้นทั้ง Process และ Product 

      ในระหว่างโครงการก็จะมีการจัดกิจกรรมเสริม ต่างๆ เช่น การเรียนรู้เรื่อง LO Concept จากท่าน ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) ,เรียนรู้จากการดูหนัง ,เรียนรู้จากบทเพลง เรียนรู้จากการดูงาน เช่นดูงานที่พิพิธภัณฑ์ ดูงานที่มหาชีวาลัยอีสาน ของท่านครูบาสุทธินันท์  ดูงานที่โรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี ดูงานที่ชุมชนแพรกหนามแดง จ.สมุทรสงคราม  และที่โรงเรียนสัตยไส  ของ  ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  

อาจมีคำถามว่าแล้ว โครงการนี้หวังอะไร หวังผลทางธุรกิจกรือเปล่า ??? 

    ตอบได้ว่าโครงการนี้มุ่งพัฒนาคนเชิงพฤติกรรม มุ่งปรับกระบวนทัศน์ของคน และนำความรู้ที่ได้มาปรับช้กับชีวิตประจำวันทั้งชีวิตส่วนตัว และการทำงาน มุ่งที่จะให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขกับการทำงาน... 

 แล้ว 6 สัปดาห์สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้หมดเลยหรือ???? 

    ก็คงไม่ถึงกับเปลี่ยนเป็นคนละคนเลยหรอกครับ แต่เขาก็ได้ซึบซับแนวคิด ซึ่งเมื่อเจอสถานการณ์หรือโจทย์ แล้วเขาสามารถประยุกต์ใช้ได้บ้างก็เพียงพอแล้ว  คงต้องใช้เวลา ส่วนคุณอำนวยก็สร้างเวทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานได้ทำจนเกิดเป็นนิสัย และกลายเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ในที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับว่า กระบวนการนี้ต้องใช้เวลา ครับ ....แต่ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พนักงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้งในหน่วยงานเดียวกัน และระหว่างหน่วยงาน , มีการคิดโครงการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตส่วนตัว บริหารครอบครัวตนเอง ให้มีความสุข มากขึ้น ..บ่อยครั้งที่ได้ยิน แม่บ้านของพนักงาน พูดถึงว่าเมื่อสามีเขาผ่านโครงการนี้ไปแล้ว พูดคุยกันเข้าใจมากขึ้น  เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าแต่ก่อน. .บางคนก็บอกเหมือนได้สามีใหม่.. อะไรทำนองนั้นครับ 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาพนักงาน
หมายเลขบันทึก: 67873เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณคุณภูคามากเลยค่ะ ที่ถ่ายทอดให้ฟัง ได้รับทราบทั้งแนวคิดและวิธีการ 
  • ขอบคุณ Gotoknow ที่ทำให้เรามีโอกาสได้เรียนรู้ภาคเอกชนอย่างเปิดใจ

ยืนยันเป็นส่วนตัวว่า  เป็นเทคนิคที่น่าเรียนรู้มากๆครับ  

โดยเฉพาะท่านที่ต้องการรูปแบบใหม่ของการพัฒนาคน   พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของคนครับ

แต่หากไปเรียนรู้แค่เทคนิคอย่างเดียว  ก็จะกลับไปเหมือนเดิม  ต้องระวัง   สิ่งหนึ่งที่ต้องเก็บเกี่ยว  เรียนรู้ให้ได้ด้วย  คือ เบื้องหลังการทำงานของทีม "คุณอำนวย" (กลาง)   ซึ่งเยี่ยมมากครับ

ถ้าไม่อย่างนั้น  เดี๋ยวจะได้ไปแค่  "เทคนิค"  ที่ไร้ลีลาท่วงท่วงของความมีชีวิตชีวา

 

เยี่ยมครับ จะเก็บไปใช้

ขอบคุณหลายเด้อ

ขอบคุณทุกท่านครับ..

  • รศ.พญ. ปารมี ทองสุกใส  ด้วยความยินดีครับที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ ถึงแม้จะต่างสายอาชีพ ครับ
  • พีธวัช ครับ ถูกต้องแล้วคร๊าบ มีเทคนิคอย่างเดียวไปไม่รอดแน่ครับพี่ ต้องมีอาชีวะ มาร่วมด้วยนะครับ จะได้มีชวิตชีวา แบบว่าเพิ่มสีสัน และบรรยากาศ ให้น่าเรียนรู้มากขึ้นด้วยครับ...
  • คุณออต ครับได้เลย...ยินดีอย่างยิ่งครับ แต่อย่าลืม ตามที่พี่ธวัช แนะนำนะครับ

แวะมาเยี่ยมครับ

เพิ่งได้เข้าร่วมเต็มๆ เสียทีเมื่อ ก.ค. 49 หลังจากโฉบไปมาอยู่นาน ที่เอาไปใช้จริงๆ คือการเลี้ยงลูก เอาแนว Constructionism ไปใช้ครับ ยั่วเข้าไว้ให้เขาอยากเรียนรู้ หาอะไรใหม่ๆ ให้เขาทำ พาไปเที่ยวเยอะๆ

Camp ที่ชอบที่สุดคือ EQ ครับ การได้พบผู้รู้อย่าง ดร.วรภัทร์ นำไปฝึกในวัดป่าธรรมอุทยาน ถือเป็น Key Success อย่างหนึ่งครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท