จริยธรรมทางธุรกิจ ช่วยผู้บริโภคได้จริงหรือ


ผู้บริโภค

 

      
            อาทิตย์สุดสัปดาห์ ครั้งที่ 4 อรรถวุฒิ 

            ภายใต้ศตวรรษที่ 21 ผู้ประกอบการ ( Entrepreneurship ) มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง ทุกบริษัททุกองค์กรต่างมุ่งหวังผลกำไรสูงสุด ( Maximize Profit ) เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ภายใต้สภาวการณ์ เช่นนี้จึงทำให้บุคคลที่เสียผลประโยชน์มากที่สุดก็คือ ผู้บริโภค ( Consumer ) และ ผู้บริโภคอาจได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือ บริการที่ไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ถึงกระนั้นก็อาจที่จะได้รับการชวนเชื่อ หรือ หลอกลวงจากโฆษณาที่เป็นเท็จเกินความจริง แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ หากบริษัทใดก็ตามที่มีความมุ่งหวังทางด้านกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว ก็อาจที่จะประสบกับความล้มเหลวในอนาคตก็เป็นไปได้ 

            ในโลกธุรกิจสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจไปรอดและก่อเกิดความภักดีต่อสินค้า ( Brand Royalty ) หรือ ภาพลักษณ์ที่ดี ( Good image ) คือ การที่บริษัทนั้นมีจริยธรรมทางธุรกิจ ( Business ethics ) การมี จริยธรรมทางธุรกิจ มิได้ส่งผลต่อองค์กรธุรกิจเพียงเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลไปถึงการสร้างสังคมคุณธรรม ( Social moral ) และ ยังทำให้ผู้บริโภค ได้รับสิ่งที่ดีมีคุณค่าต่อตัวผู้บริโภคอย่างแท้จริง 
            จริยธรรม ( Ethics ) คุณธรรม ( Moral ) คืออะไร จริยธรรม คือ การกระทำใดที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องมีความดีงามควรปฏิบัติ และ การกระทำใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ส่วน คุณธรรม คือ สภาพคุณงามความดี เป็นความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่ ซึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม และ ส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมกระทำความดี และ สร้างคุณประโยชน์แก่สังคม และ จริยธรรมธุรกิจ ( Business ethics ) คือ มาตรฐานการกระทำที่ผู้บริหารควรปฏิบัติในทางธุรกิจ 
            สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม ( Ethics ) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย ( Law ) อยู่หลายประการ คือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุมจากสังคม ( Social sanction ) ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และ กฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน ( Norms ) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและ กฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดี 
            ประเด็นต่อมา จริยธรรมธุรกิจนั้นมีความสำคัญต่อสังคม และ ผู้บริโภคอย่างไร ความสำคัญคงอยู่ในแง่ที่ว่าหาก บริษัทหรือองค์กรใดมีจริยธรรมทางธุรกิจ บริษัทนั้นย่อมได้รับผลตอบรับ ( Feedback ) เป็นไปในทางที่ดี 
            จริยธรรมธุรกิจ จะเป็นดั่งแรงจูงใจที่ทำให้องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น โดย สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรธุรกิจจะได้รับตอบแทนคือ ความเชื่อถือ ( Credit ) ความทุ่มเท ( Devotion ) ภาพลักษณ์ที่ดี ( Good image ) และก่อเกิดความภักดีต่อสินค้าและบริการ ( Brand Royalty )

                             

                               

            ประเด็นต่อมา คือ ขอบเขตความรับผิดชอบ ขององค์กรธุรกิจ นั้นจะต้องรับผิดชอบต่อสังคม และ ผู้บริโภค หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Stakeholder ) มากหรือกว้างแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญคือ ความรับผิดชอบต่อลูกค้า หรือ ผู้บริโภค ( Consumer ) รับผิดชอบในขอบเขตเท่าไหร่แค่ไหนอย่างไร สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1. สิทธิความปลอดภัย ( Right to safety ) ตรงนี้หมายความว่า ผู้บริโภค ต้องได้ความปลอดภัยจากสินค้าและบริการ ที่ผู้ประกอบการจำหน่ายให้ 2. สิทธิที่จะรู้ ( Right to know ) ผู้บริโภคควรที่จะได้รับรู้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ 3. สิทธิที่จะบอกกล่าว ( Right to be heard ) เป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะแนะนำช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกิจการและผู้บริโภคดำเนินไปทั้งสองทาง กิจการต้องมีความรับผิดชอบที่จะสร้างกลไกเพื่อแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์เกี่ยวกับสินค้าและบริการจากลูกค้า 4. สิทธิที่จะได้รับการศึกษา ( Right to education ) ความรับผิดชอบของกิจการที่ให้ผู้บริโภคเข้าสู่โปรแกรมการศึกษาเกี่ยวกับสินค้าและบริการตลอดจนใช้วิธีที่เหมาะสม ซึ่งเป้าหมายคือ ผู้บริโภคได้รับขอมูลอย่างเพียงพอ 5. สิทธิในการเลือก ( Right to choice ) เป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีจำหน่ายอยู่ 
            สิ่งสำคัญประเด็นต่อมา ในเรื่องของขอบเขตความรับผิดชอบ ของ องค์กรธุรกิจ คือ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ( Environment ) ในปัจจุบันเรื่องสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นข้อพิจารณา อีกประการหนึ่งของผู้บริโภค ต่อ การเลือกสินค้านั้น ดังนั้นองค์กรธุรกิจ จึงสมควรที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ อีกประการหนึ่งคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม ( Broader society ) คือ เมื่อผู้ประกอบการได้กำไรจากการประกอบการก็ควรคือ ผลกำไรบางส่วนตอบแทนคืนสังคมบ้าง 
            การที่บริษัทหรือองค์กรธุรกิจใดมีจริยธรรมทางธุรกิจ สิ่งที่จะได้รับตอบแทน ( Feedback ) คงมีค่ามากกว่ากำไรที่สูงสุด( Maximize Profit ) แต่จะได้ความภักดีต่อสินค้าและบริการ จากผู้บริโภค และที่สำคัญที่สุด คนที่ได้กำไรจากการที่ บริษัทมีจริยธรรมทางธุรกิจ คือ ผู้บริโภค นั่นเอง

                             

                               

            หากผู้ประกอบการหรือองค์กรธุรกิจ มิได้การสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ บริษัทนั้นอาจจะพบกับความล้มเหลว หรือ ขาดทุน ( loss ) เพราะไม่สามารถตอบแทนสิ่งที่มีคุณค่าที่พอเพียงให้กับผู้บริโภค และ ในอนาคตบริษัทแต่ละบริษัทจะมีการแข่งขัน ด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ( Business ethics ) และ บรรษัทภิบาล ( Corporate governance ) มากขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จริงผู้เขียนคงเปรมปรีดาเป็นอย่างมาก เพราะกำไรสูงสุดจะตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างแท้จริง คือ การที่ผู้บริโภค ได้บริโภค ได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ถึงกระนั้นแล้ว บริษัทใดก็ตามที่ขาดจริยธรรมทางธุรกิจ ก็คงต้องถูกดาบจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ. ) ลงโทษ อย่างแน่แท้ 

             เอกสารอ้างอิง 
            1.สุภาพร พิศาลบุตร , จริยธรรมธุรกิจ : Business Ethics , กรุงเทพ ฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต,2544 
            2.อำนาจ ธีระวนิช , การจัดการธุรกิจขนาดย่อม , กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,2544

หมายเลขบันทึก: 67827เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แน่นนะ เอกปิ้น

เชอะ ๆ

เชิดใส่

ข้อมูลน่าสนใจ

ข้อความนี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท