เปลี่ยนจาก Training เป็น Learn together


เพื่อเรียนรู้ Learn together

   เริ่มเกิดว้าวุ่นในความคิดกับกระบวนการที่จะต้องทำไปใช้ในอีก 2 วันข้างหน้าอีกแล้ว เพราะได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรอบรมบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งภาพเดิมมันยังติดอยู่กับการยืนหน้าห้องอบรม แล้วบรรยาย สาธิตให้ดู ผู้เข้าอบรมปฏิบัติตามไปพร้อมๆ กัน มันเป็นรูปแบบที่ชินตา ทั้ง วิทยากร ผู้เข้ารับการอบรม ผลที่เกิดก็คือ คนที่เข้าอบรมที่ค่อนข้างจะมีพื้นฐานมามากแล้ว ก็ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นเท่าไร คนที่พื้นฐานไม่ค่อยดี ก็ตามไม่ทัน ผ่านกาอบรมไปไม่นานก็ลืม ระบบนี้มันน่าจะเลิกได้แล้ว แต่ก็ยังทำกันอยู่ ตัวเราเองก็เหมือนกัน ทั้งๆที่รู้ว่า มันไม่ค่อยได้ผล แต่บางครั้งด้วยความจำกัดในหลายเรื่อง ก็ต้องทำ เพราะความเคยชินทั้งผู้เป็วิทยากรและผู้เข้าอบรม
    ผู้เข้าอบรมก็จะชินกับการมานั่งฟังวิทยากรบอก มานั่งทำตามที่วิทยากร สาธิตให้ดู ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ก็เหมือนกับไมได้เข้าอบรม ถ้าการอบรมไม่เป็นไปตามนี้ อ่านหนังสือเอาเองที่บ้านดีกว่า
   วิทยากร ก็เคยชินกับความคิดว่า ฉันเป็นผู้รู้ ผู้เข้าอบรมเป็นผู้ไม่รู้ วิทยากรเป็นผู้ให้ ผู้เข้รับการอบรมเป็นผู้รับ
    ทำอย่างไรกระบวนการอบรมที่เคยทำมา จึงจะเปลี่ยนเป็นกระบวนการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันระหว่างเพื่อนๆ และระหว่างผู้ที่เข้าเรียกว่า ผู้เข้าอบรมกับวิทยากร ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้พยายามเปลี่ยนแนวความคิดของผู้ที่ตั้งใจจะเข้ามารับความรู้มาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการดังนี้
   1 ทุกคนมีความคาดหวัง มีความจำเป็น มีความต้องการ ก่อนที่จะมาเข้าอบรม คงจะต้องมาคุยกันก่อนว่า แต่ละคนมีความต้องการอะไร มีใครบ้างที่ มีความต้องการเหมือนกัน ใครบ้างที่แตกต่างจากเพื่อน เมื่อทราบส่วนนี้แล้ว จะได้เริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ถูกต้องว่า ใครมีอะไรตรงไหน ใครขาดอะไร
    2 จัดกระบวนการร่วมกันในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างเรื่องที่มีผู้รู้ และเรื่องที่มีผู้ต้องการรู้  ว่ามีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างไร
    3 เรียนรู้ด้วยกัน แต่ละคนมีทั้งเอาสิ่งที่ตนเองรู้ไปให้ และรับสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้
    4 ผู้อำนวยความสะดวก ต้องคิดหนักหน่อยว่า จะทำอย่างไร ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งการเรียนรู้ และกระบวนการที่เหมาะสม พร้อมทั้งการดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า กิจกรรมจะสิ้นสุดลงแล้ว

    ท่านใดมีรูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT หรือด้านคอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจ ช่วยแนะนำกันบ้างครับ

หมายเลขบันทึก: 67775เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วิธีการที่ผมใช้มา 2-3 ปีได้ผลเป็นที่น่าพอใจ(ของผม) คือ

1.เปลี่ยนวิธีคิดจากบรรยากาศแบบอบรม/สัมมนาทั่วไป เป็นกิจกรรมการติวทำนองเดียวกับสมัยเป็นนักศึกษาที่มาช่วยกันติวตอนก่อนสอบ ผู้มีประสบการณ์ขี้เกียจเรียนหนังสือ จะรับทราบถึงบรรยากาศว่าหากไม่ช่วยกันติว มีหวังสอบตกทีมแน่ เกิดอารมณ์เป้าหมายร่วมชัดเจน จะมีติวเตอร์แทนวิทยากร และระหว่างดำเนินการกิจกรรม อาจมีเพิ่มเติมสดๆได้อีกจากสมาชิกที่มาเข้ากิจกรรมการติวด้วยกัน

2.นำเสนอความรู้แบบย้อนศร นำเสนอผลขึ้นก่อนจึงค่อยเสนอเหตุ วิธีนี้ทำให้ลดความเบื่อหน่ายของสมาชิก เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการให้ทำได้ทำเป็นเร็วๆ ส่วนกระบวนการที่ถูกต้องค่อยมาว่ากันทีหลัง

3.นำเสนอความรู้จากบันทึกบนเวบของผมเอง  ทำให้สมาชิกสามารถติดตามข้อมูลและติดต่อผมได้ตลอดเวลา ตัวอย่างเวบไซต์ของผมคือ http://rd.cc.psu.ac.th

ข้อเสียคือ ไม่ถูกใจผู้รับผิดชอบหลักสูตรอบรม เพราะขาดความเป็นแบบแผน  

ข้อดึคือ ถูกใจสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม เพราะเป็นการยิงตรงเป้าเลย และเป็นบรรยากาศของแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

--วิภัทร 

ขอบคุณอาจารย์ วิภทร มาครับ ที่ให้คำแนะนำ ผมเลยตามเข้าไปใน website ของอาจารย์ด้วยครับ ได้ความรู้ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท