หลวงพระบางเมืองแห่งวัด และวัฒนธรรม


การทำบุญ 9 วัด อาจต้องเหนื่อยในการเดินทาง แต่ที่นี้ "หลวงพระบาง" ไม่ยากเลย เพระวัดในเมืองนั้นมีจำนวนมาก และอยู่ใกล้กัน

กลับจากตลาดเช้า เราตกลงว่าจะย้ายเฮือนพักมาที่เลวะดี ที่พักดีราคาถูกบนถนนจูมฆ้อง เป็นห้องพัดลม  (โทร.856-71: 254-434) ค่าที่พักคืนละ 270 บาท สะอาดดี เยื้องไปหน่อยเป็นเฮือนมรดกเชียงม่วนแล้วเราก็เช่ารถจักรยานคนละคันสำหรับใช้พาหนะในการเดินทาง วันละ 40บาท/คัน และก่อนออกทัวร์วัด ก็มีอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ถนนคนละเลนกัน ทำให้ตกใจเล็กน้อยและต้องเสียค่าทำขวัญให้กับฝ่ายลาวประมาณ 500 บาท เป็นค่ามอเตอร์ไซด์ชำรุด เมื่อไม่มีอะไรมาก ก็ออกเดินทางกัน

ขอแนะนำการไปกราบพระที่วัดนั้น นักท่องเที่ยวควรถอดหมวก แต่งกายสุภาพทั้งเสื้อและกางเกง สำรวมวาจา ไม่ตะโกนโหวกเหวกหรือส่งเสียงดัง การถ่ายภาพกับภิกษุควรขออนุญาตก่อน (เพื่อรักษาความมีวัฒนธรรมระหว่างพี่น้องไทย-ลาว)

เอ้า ไปเที่ยวกันเถอะ

เริ่มด้วยไปจุดขายเมืองหลวงพระบาง ที่วัดเชียงทอง ซึ่งแถวนั้นมีวัดมากมาย ได้แก่ วัดหนอง วัดแสน วัดคิรี แต่ด้วยพลังงานของสองขา และเวลาที่เสียไปกับการชื่นชมในศิลปที่วัดเชียงทอง ทำใหเราได้กราบพระที่วัดเชียงทองวัดเดียว วัดเชียงทองงดงามด้วยศิลปะล้านนาและประวัติความเป็นมา สำหรับภาพประดับกระจกที่ด้านหลังโบสถ์นั้นเป็นเอกลักษณํมาก แต่เห็นว่าโรงแรมแถวภาคเหนือของไทยจำลอง (เลียนแบบ) มาใช้ตกแต่งโรงแรม แต่อย่างไร เอกลักษณ์ต้นฉบับก็คือเอกลักษณ์นะ สำหรับจุดนี้ถ่ายรูปให้สมบูรณ์สวยงามให้ได้ดังที่นำเสนอใน guide book ได้ยากมาก

เกือบ 10 โมง เราปั่นจักรยานไปตามถนนสักกะลิน ตัดไปถนนกิ่งกิดสะลาดเลียบแม่น้ำโขง ต่อกับแม่น้ำคาน ชักเหนื่อยแล้วสิ เลยแวะกินกาแฟที่ร้าน ศาลากาแฟ ซึ่งมีทั้งส่วนเป็น cafe และข้ามถนนมานั่งริมแม่น้ำ บรรยากาศสบายๆ เราเลือกริมดขงแล้วกัน ระหว่างจิบกาแฟก้นั่งมองจัรยานที่ปั่นมาด้วยความภาคภูมิใจว่า...เราทำได้...บริเวณเลียบแม่น้ำนั้นมีหลายร้านให้เลือก บรรยากาศและการตกแต่งก็ใช้ได้ทีเดียว แถวนั้นมีวัดหลายวัด เช่น กลุ่มวัดป่าฝาง วัดถ้ำพูสี ซึ่งตรงนี้มีทางขึ้นพูสีอีกทางด้วยนะ

หายเหนื่อยแล้ว จากการพิจารณาแผนที่ เราจะเลือกไปวัดอาฮามกับวัดวิชุน เพื่อที่จะได้มีเวลาเหลือไปกินก๋วยเตี๋ยวเป็ด ซึ่งแนะนำไว้ในหนังสือที่ว่าอร่อยที่สุด (แต่ไปหาแล้วเค้าว่าเปิดขายตอนเย็น...อยู่แถวๆ สี่แยกคอกวัวหน่ะ..เลยไม่ได้กิน...แป่ว-ตกลงได้ข้าวเปียกเป็นอาหารกลางวันแทนจ้า)

ตกลงเราจะไปแค่ 2 วัด แล้วโปรแกรมตอนบ่ายค่อยว่ากัน

เอ้าปั่นไปเลย (แฮ่กๆๆๆ)

สำหรับความงดงามทางวัฒนธรรมที่เห็นนั้น คือการแต่งกายไปวัด ผู้หญิงจะสวมซิ่นและห่มสไบ พุทธบูชานอกจากจะเป็นธูปเทียนแล้วยังมีกระทงดอกไม้ที่ทำจากดอกไม้พื้นบ้าน เย็บด้วยใบตอง ดอกจำปา (หรือดอกลั่นทม)  ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย และบางทีก็มีดอกผึ้ง ที่ทำจากแผ่นขี้ผึ้ง นำมาคลึงใส่ถ้วย ดัดแปลงออกมาเป็นดอกไม้ ประดับบนต้นกล้วย หลังจากถวายพระแล้ว สามารถนำไปหลอมใหม่ให้เป็นเทียนต่อไปได้ ราคาจำหน่าย กระทงดอกไม้กระทางละ 20 บาท ดอกผึ้ง 30-50 บาท ปล. เงินไทยรับแต่แบ็งค์ แต่เงินเหรียญไม่รับนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 67753เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท