ผู้ประสานงานวิจัยมือใหม่ : (1) แนะนำ “ABC เหนือล่าง สกว.”


เพียงแค่กระบวนการพัฒนาชุดโครงการที่เรียกว่า Upstream Management ที่ลงมือทำกันไปบ้างแล้วที่พิษณุโลกและสุโขทัย ก็ส่งสัญญาณดี ๆ หลายอย่าง ถึงขั้น “ปฏิวัติการบริหารและสนับสนุนการวิจัยในเขตภาคเหนือตอนล่าง” กันเลยทีเดียว

         ผมกำลังจะแนะนำ “โครงการสำนักประสานงานการวิจัยและพัฒนา เฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)” ให้ได้รู้จักกันครับ

         ชื่อยาวหน่อย เป็นแนวคิดใหม่ล่าสุดของ สกว. ในการสนับสนุนการวิจัย

         ชื่อภาษาอังกฤษคือ Area-Based Collaborative Research and Development Lower Northern Area Program” ซึ่งยาวพอ ๆ กับชื่อภาษาไทยเลย

         ผมขอเรียกสั้น ๆ ว่า “ABC เหนือล่าง สกว.” ครับ เพื่อสะดวกในการอ้างถึงและจดจำ

         ความจริงภาคเหนือตอนล่างมีด้วยกันทั้งหมด 9 จังหวัด แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

         กลุ่มที่ 1 มี 5 จังหวัด คือ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์

         กลุ่มที่ 2 มี 4 จังหวัด คือ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี

         แต่ สกว. ได้ผนวก ลำปาง เข้ามาด้วยอีกหนึ่งจังหวัด ดังนั้น “ABC เหนือล่าง สกว.” จึงครอบคลุมพื้นที่รวมทั้งหมด 10 จังหวัด

         สกว. ได้มอบให้ท่านอาจารย์พีรเดช (รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ) รอง ผอ.สกว. มาช่วยเป็นพี่เลี้ยง

         นอกจากนี้ สกว.ยังได้กรุณามอบทุนให้ผม (ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มน.) กับท่านอาจารย์เสมอ (ผศ.ดร.เสมอ ถาน้อย ผู้อำนวยการสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา มน.) เป็น “ผู้ประสานงานวิจัย” เพื่อปฏิบัติงานตามโครงการดังกล่าว

         แม้ว่าในสัญญาการให้ทุนจะเริ่มจาก 1 ธ.ค.49 จนถึง 30 พ.ย.50 (1 ปี) แต่แนวความคิดดังกล่าว ท่านอาจารย์พีรเดช ได้เกริ่นกับเราล่วงหน้านานแล้ว และได้ร่วมลงมือทดลองทำกันก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก

         เพียงแค่กระบวนการพัฒนาชุดโครงการที่เรียกว่า Upstream Management ที่ลงมือทำกันไปบ้างแล้วที่พิษณุโลกและสุโขทัย ก็ส่งสัญญาณดี ๆ หลายอย่าง ถึงขั้น “ปฏิวัติการบริหารและสนับสนุนการวิจัยในเขตภาคเหนือตอนล่าง” กันเลยทีเดียว

         ที่เรียกว่าถึงขั้น “ปฏิวัติ” เป็นอย่างไรนั้น ผมจะเล่าในบันทึกต่อ ๆ ไปครับ และตั้งใจจะบันทึกถ่ายทอดประสบการณ์นี้ ออกมาเป็นระยะ ๆ เพื่อ ลปรร. กันในวงกว้าง จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการบริหารงานวิจัยตามแนวคิดใหม่ของ สกว. ครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 67751เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณมากครับอาจารย์สำหรับข่าวดี
  • อยากทราบในภาคอื่นๆบ้างครับ
  • เช่นภาคกลาง นครปฐม กาญจนบุรี
  • ขอบคุณมากครับ
เท่าที่ผมทราบ มีการแบ่งหน้าที่กันใน สกว. ให้ไปทำทำนองนี้ทั่วทุกภูมิภาค โดยที่ในปีแรกนี้ สกว. ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 20-30 จังหวัด (area) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค รายละเอียดผมขอศึกษาเพิ่มเติมและจะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นระยะ ๆ ครับ

ขอบคุณรองวิบูลย์ครับที่มาบอกเล่าเรื่องดีๆ ให้รับทราบกันครับ

ดูๆ หลักการ แนวคิด ABC เหมือนกันครับ แต่ต่างบริบทกันครับ ผมสรุปรวมไว้ที่

ปี 2550 มมส. จะเดินเรื่อง KM อย่างไร ? #2

ขอบคุณท่านรองฯ (ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร) มากครับ
วิชิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท