เรื่องเล่าดีๆ จากวงสนทนา ISO : หน่วยพันธุศาสตร์ ไม่ขาดการพัฒนา


เก็บเรื่องดีๆ  จากวงสนทนา ISO 15189  ไว้ตั้งนาน  (ตั้งแต่วันที่ 6 ธค)   เพิ่งได้ฤกษ์งามยามดี  มาเล่าสู่กันฟัง    เป็นเรื่องของ   เคล็ด (ไม่) ลับในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  เล่าเรื่องโดย หน่วยพันธุศาสตร์ อ. ปลื้มจิต   ได้สรุป  ไว้ในนี้แล้วค่ะ    ส่วนที่จะเล่าในบันทึกถือเป็นอีกมุมมองหนึ่งของ....ข้าพเจ้าเอง

เคล็ดทั้งลับและไม่ลับ    ของหน่วยพันธุศาสตร์  มีดังนี้

1.  มีการฝึกฝน

หน่วยพันธุศาสตร์   เป็นหน่วยงานที่มีงานพิเศษ   ไม่เหมือนใคร     ฉะนั้นเวลารับพนักงานใหม่ (สาขาที่เกี่ยวข้อง   เช่นวิทยาศาสตร์  เทคนิคการแพทย์)    จึงต้องมีการ training กันใหม่หมด   ถือว่าทุกคนเริ่มจากศูนย์เท่ากัน

เริ่มจากสอนงานและมอบหมายงานให้รับผิดชอบเป็นส่วนๆ ไป    จากนั้นก็เวียนกันไปฝึกในส่วนอื่นๆ    จนชำนาญ  ถือว่า  งานที่เป็นพื้นฐาน   ทุกคนต้องเก่งและรู้เท่ากัน     ส่วนจะวางตัวใครให้ "เก่งพิเศษ"   ด้านไหน   ต้องมาดูกันอีกที

2. มีการทดสอบ

หลังจากฝึกฝนกันจนได้ที่    จะมีการสอบ competency  ทุกปี   ต้องผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้   ใครไม่ผ่านข้อไหน    ก็ต้องไปทบทวนกันใหม่ล่ะ

3.  มีคนตามดู

มีคนดูแลอยู่สามคน  คือ อ.สินิจธร   ในฐานะหัวหน้าหน่วย  คุณสมแข -พี่ใหญ่ผู้มากประสบการณ์     คุณจริยา-พี่รอง   ผู้ที่เข้ากับน้องๆ  ได้ดี  เพราะวัยใกล้กัน     จะเห็นว่าหน่วยนี้โชคดีที่มีผู้ดูแลและให้คำปรึกษาหลายระดับ  (เลือกได้ตามสถานการณ์)   ส่วนน้องๆ  ที่พี่ๆ ต้องดูแลมีระดับเดียว   เพิ่งมาทำงานได้ไม่เกิน 5 ปี    และนี่เป็นสิ่งที่  อ.สินิจธร  บอกว่า   เพราะวัยของผู้ดูแลและผู้ถูกดูแล  ต่างกันหลายปี   เลยทำให้การดู   ง่ายยิ่งขึ้น

4. คุยกันบ่อยๆ

ถึงแม้จะมีคนดูแล    แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ลักษณะสั่งการแบบ  top down  อย่างเดียว     มีการประชุมกันทุกเช้าวันพุธ (หรือวันใกล้เคียง   ถ้าจำเป็นต้องเลื่อน)    เป็นการประชุมเพื่อตามงาน    แจ้งเรื่องข้อตกลงต่างๆ    มีอะไรจะปรึกษาหารือ    ก็พูดกันตรงนี้ซะ

ถ้าใครไม่พูดล่ะ    ถือว่าสละสิทธิ์     แต่พี่ๆ  ผู้ดูแลจะไม่วางเฉย    ถ้าเห็นว่ามีปัญหาจริง   จะเข้าไปตาม "เจาะใจ"   เป็นรายๆ ไป

5. จัดกิจกรรมเสริม  

เช่น journal club   ให้เวียนกันนำเรื่องราวน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง  ซึ่ง    ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยากๆ      อาจเป็นเรื่องของงานที่ทำอยู่  case ที่น่าสนใจ  product ใหม่ๆ   ส่วนใครที่อ่าน paper ภาษาอังกฤษ  แล้วไม่ชำนาญ   ก็จะมีพี่เลี้ยงให้อ่านคู่กันไป   

นอกจาก journal club    แล้วก็มี  PathoOTOP  ที่ทุกคนต้องมีงานนำเสนอ   ไม่ปีนี้  ก็ปีหน้า  ปีโน้น  ต่อไปเรื่อยๆ 

6. มีบทลงโทษ   มีแรงจูงใจ และรางวัลล่อใจ

บทลงโทษคือ    ค่าปรับ  เป็นเงิน  (ครั้งละกี่บาท...แหล่งข่าวไม่ได้ระบุ)   หากใครทำผิดพลาด   หรือทำไม่ได้ตามข้อตกลงที่วางไว้   จ่ายมาซะดีๆ   เงินที่ได้    ไม่ได้เอาไปไหนหรอก   เก็บเอามาเลี้ยงอาหารอร่อยๆ  เรียกว่าวนๆ  กลับมาอยู่ในกระเพาะของตัวเองนั่นแหละ   ใครที่ถูกปรับแล้วปรับอีก    ก็เป็นหน้าที่ของผู้ดูแล  ที่ต้องตามไปดูว่า "ทำไม"

 มีแรงจูงใจ    คือเลี้ยงข้าวเที่ยง  ทุกครั้งที่มี journal club   มันเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่  ทำให้เข้าร่วมพูด  ร่วมฟัง  อย่างเป็นสุข

รางวัลล่อใจ    คือ promotion  อันนี้แน่นอนว่า   ถ้าใครมีผลงานดี   ย่อมได้ดี    อาจได้สองขั้นเป็นการตอบแทน  (ทำดีย่อมได้ดี)

รางวัลล่อใจ   อีกอย่าง เช่น   หัวหน้าหน่วยสัญญาแล้วว่า   ถ้าทีมของพันธุศาสตร์   ได้รับรางวัลใน PathoOTOP ล่ะก็   จะจัดเลี้ยงพิเศษ  ซึ่งจะเป็นอะไร   ต้องรอชม (ไม่ใช่ข้าวห่อแน่นอน)  

จะเห็นว่า   หน่วยงานนี้ใช้กลยุทธ์หลายอย่าง   ที่น่าจะนำไป "ปรับใช้"  กับหน่วยงานอื่นๆ  ได้     ที่สังเกตเห็นคือ  หน่วยนี้ทานข้าวด้วยกันบ่อย   ทานไปคุยไปได้สาระพอประมาณ     สงสัยจะถือคติที่ว่า "ทานข้าวหม้อเดียวกัน   แล้ว...ทำให้รักกันมากขึ้น"    

หมายเลขบันทึก: 67621เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นหน่วยงานที่มีการบริหารที่เป็นระบบดีมาก ขอบคุณคุณ nidnoi มาก ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ด้วย

ที่หน่วยมีกันกี่คนคะ คุณนิดหน่อย  เคล็ด (ไม่) ลับในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  ขอลอกเลียนแบบไปใช้นะคะ

สรุปได้ดีมากเลยค่ะ  อ่านๆ แล้วงงว่าเอ๊ะ! หน่วยเราหรือนี่ ทำไมมีระบบงานที่ดีอย่างนี้  สงสัยต้องหันกลับมามองหน่วยใหม่อีกครั้งแล้ว  ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อเขียนค่ะ  ไม่มีอะไรให้เม้น(ภาษาวัยรุ่น) เลย  สมกับที่เป็นคุณลิขิตมือโปร

"มุมมองหนึ่งของ....ข้าพเจ้าเอง" นี่ ไม่เอามาบอกไม่ได้แล้วจริงๆนะคะ เยี่ยมจริงๆ เห็นด้วยกับท่าน ผู้เฒ่า genetics มากกว่า 100% อีกค่ะ (เป็นไปได้ไหมเนี่ย)

มารับคำชมทุกชนิดค่ะ    มีอีกก็รับได้อีกค่ะ   เพราะเตรียมถุงก๊อบแก๊บไว้หลายใบ

พี่ ผู้เฒ่า genetics  คะ    ที่หนูเขียนมาทั้งหมดนั่นน่ะ   จดจากที่ฟังมาจากห้องประชุมวันนั้นนะคะ   (มีโพย...ยืนยันได้ค่ะ)   เพียงแต่นำคำพูดมาแต่งตัวเล็กน้อยแต่พองาม (ตามสไตล์ nidnoi)    อันที่จริง   ยังมีอีกหลาย "ดี"   ที่ตกๆ หล่นๆ ไป เล่าไม่หมด 

(ต้องฟังเอง  จึงจะรู้)

คุณเมตตาคะ

หน่วยพันธุศาสตร์  มีทั้งหมด  11 คน
เป็นอาจารย์แพทย์  3 ท่าน

น้องๆ  (ผู้ที่ถูกดูแล )  มี 5 คน  ค่ะ

  • ชอบรางวัลล่อใจ
  • ไม่มีอะไรให้เม้น(ภาษาวัยรุ่น)ของใครบางท่านครับ
  • คึกคักจังเลยครับ
อ่านแล้วเห็นภาพของหน่วยงานเลยครับ น่าสนุกนะครับ คงเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยความสุขครับ ....สังเกตได้จากรูปของผู้เขียน กำลัง "กิน"อย่างมีความสุขเชียวครับ ..เล่นเอาคนอ่าน..อ่านไป หิวไป..ครับผม
  • มายิ้มๆคุณภูคา
  • เธอไม่ค่อยคุยครับ ทานอย่างเดี่ยว
  • ขุนขยับกับหมด
  • เข้ามาแซวนะคะ
  • รูปคนนิดหน่อยกับอาหาร เป็นของคู่กันนะคะ
  • น่ารัก เป็นธรรมชาติดีค่ะ
  • ผมก็คิดยังงั้นครับอาจารย์ขจิต
  • นี่ยังดีนะครับที่เป็นชามก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นจานส้มตำแล้วก็น่าจะได้อารมณ์มากกว่านี้นะครับ...
โถ...สองหนุ่มกับหนึ่งสาว
มาแซวเรา
ที่เห็นถือตะเกียบอยู่น่ะ    ไม่ใช่ก๋วยเตี๋ยวนะคะ
มันคือ   ข้าวเปล่า  ครับท่าน
กินข้าวเปล่า  กะ น้ำชา  ที่หมู่บ้านจีนยูนนาน  สันติชลเมืองปาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท