งานวิจัยความยั่งยืนกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา(2)


งานศึกษาของสงขลามีความเที่ยงตรงค่อนข้างมาก

ในประเด็นทางออก
เมื่ออาจารย์ได้แบบจำลองจากข้อมูลจริงเท่าที่มีแล้ว อาจารย์ได้ทดลองปรับเปลี่ยนตัวแปรสำคัญบางตัว ซึ่งมีผลต่อการไหลเข้าออกของเงินกองทุนเพื่อทดสอบดูว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
ตัวแปรเงินไหลออกที่สำคัญคือ
จำนวนเงินและช่วงเวลาการจ่ายสวัสดิการการตาย ช่วงเวลาและจำนวนเงินสวัสดิการบำนาญ
สำหรับเงินไหลเข้าคือ จำนวนเงินสัจจะลดรายจ่ายในแต่ละวัน เป็นต้น

ผมเห็นว่า งานศึกษาของสงขลามีความเที่ยงตรงค่อนข้างมาก คือ สามารถพยากรณ์การไหลเข้าออกทางการเงินได้ค่อนข้างเม่นยำ เพื่อตอบคำถามความยั่งยืนทางการเงิน ซึ่งตอบได้ว่า
ณ เวลาใด(อย่างช้าที่สุด - มีแต่เร็วกว่า ไม่ช้ากว่านี้แล้ว)ที่สถานะภาพทางการเงินของกลุ่มเริ่มไม่มั่นคง (ถ้าดำเนินไปตามระเบียบที่กำหนดไว้)
ที่จริงก็เป็นแบบจำลองของบริษัทประกันภัยที่ออกมาหลายรูปแบบให้ลูกค้าได้เลือกนั่นเอง แต่ของบริษัทน่าจะวางอยู่บนฐานของระเบียบที่กำหนดให้บริษัทมีผลกำไรปีละเท่าไร แล้วค่อยหาอัตราการเรียกเก็บเงินของลูกค้า บริษัทจึงเจริญยั่งยืนนานมาโดยตลอด(เป็นส่วนใหญ่)

นี่คือพลังของคณิตศาสตร์ที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน ซึ่งมนุษย์พยายามนำมาใช้อธิบายธรรมชาติที่มีตัวแปรซับซ้อน และก็อธิบายได้ถูกต้องมากด้วย โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น รู้ว่าดาวหางจะกลับมาเมื่อไร ? เมื่อใช้ข้อมูลหลายๆปียืนยันจนสามารถถอดออกมาเป็นสมการทางคณิตศาสตร์
แต่เมื่อนำมาใช้กับสังคมยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะแนวคิดของโพสมอเดอร์นที่ให้ความสำคัญเรื่องคุณค่าหรือการให้ความหมายของคน เช่น ความสุขจะวัดกันอย่างไร
เพราะถึงที่สุดแล้วมันอยู่ที่ใจของแต่ละคน

หมายเลขบันทึก: 67603เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท