KM มศว.


KM มศว.

         ศูนย์บริการวิชาการ มศว. (อ. ศิริยุภา) ติดต่อขอให้ผมไปบรรยายนำ "วิสัยทัศน์ผู้บริหารกับการจัดการความรู้"  เป็นเวลา 3 ชม.  ในการประชุมปฏิบัติการเรื่อง "การจัดการความรู้สู่การสร้างพลังร่วม"  วันที่ 10 - 11 ม.ค.49 ที่กาญจนบุรี   ผมอยากไปให้บริการนี้มาก   แต่ไปไม่ได้  ติด KM สัญจรที่ สคส. เราจัดไปดูกิจกรรม KM ที่ จ.พิจิตร 9 - 11 ม.ค.49   ซึ่งเรากำหนดไว้นานแล้ว   อ. ศิริยุภาขอให้ช่วยแนะนำวิทยากร

         ผมอ่านเอกสารของโครงการจัดการประชุม   เห็นว่ามีวัตถุประสงค์ "ให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดในการบริหารองค์กรยุคใหม่กับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารด้วยกัน   เพื่อแสวงหาแนวทางกระตุ้นให้เกิดพลังร่วมในการบิหารงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมกัน   โดยใช้วิธีการจัดการความรู้และการสร้างวินัยสำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ"     โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ  ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยจำนวน 30 คน   ประกอบด้วย อธิการบดี  รองอธิการบดี   คณบดี/ผู้อำนวยการสถาบัน/สำนักผู้ช่วยอธิการบดี  หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี

โดยกำหนดการมีเพียง 5 sessions ใน 2 วันได้แก่
     1. บรรยายนำ : วิสัยทัศน์ผู้บริหารกับการจัดการความรู้
     2. วินัยสำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Fifth Discipline) สู่การสร้างพลังร่วม   เดาว่าเป็นการบรรยาย
     3. ประชุมปฏิบัติการ : การจัดการความรู้สู่พลังร่วม
     4. ระดมความคิด  การสร้างพลังร่วม : จากห้องประชุมสู่การปฏิบัติ
     5. สรุปผลการประชุม

         ผมมีความเห็นว่าน่าจะใชัเวลา 2 วันนี้ทำความเข้าใจ KM & LO ภาคปฏิบัติ   อันจะนำไปสู่ "การสร้างพลังร่วม" ตามที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องการ   ดังนั้นควรใช้เวลา 1.5 วันทำ workshop   เพื่อสัมผัสบรรยากาศและเรื่องราวของผลงานที่น่าภาคภูมิใจของ มศว.เอง   จากการเล่าเรื่อง (storytelling) ที่ผู้เข้าร่วมประชุมเตรียมมา   ภายใต้บรรยากาศเชิงบวก   เชิงชื่นชมยินดี (dialogue,  positive thinking,  deep listening)

แล้วสกัด Knowledge Assets 2 ชั้น
     - ชั้น KM
     - ชั้น KA เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของ มศว.

         แล้วในช่วงบ่ายของวันที่ 2 ร่วมกันทำ AAR

         ผมรับรองว่าจะได้ผลลัพธ์ที่จะนำไปสู่ "การสร้างพลังร่วม" ในการทำงานจริง ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

         โดยต้องมีการเตรียมการณ์ของการประชุมเป็นอย่างดี   ยอมเสียเวลาในการเตรียม   ถ้าทาง มศว. เลื่อนวันให้ตรงกับวันที่ผมว่าง   ผมจะมาเป็นวิทยากรให้เอง   แต่ถึงจะยืนยันกำหนดเดิมผมก็ยินดีร่วมประชุมเพื่อให้คำแนะนำในการเตรียมการณ์   โดยผู้ร่วมประชุมน่าจะได้แก่
     - ท่านอธิการบดี ศ. ดร. วิรุณ  ตั้งเจริญ
     - รศ. ดร. นิกร  วัฒนพนม
     - ศ. นพ. วุฒิชัย  ธนพงศธร  ผอ.รพ. มหาวิทยาลัย มศว.
     - อ. ศิริยุภา

         สำหรับวิทยากรที่ผมคิดว่าเหมาะสม   น่าจะได้แก่ทีมใดทีมหนึ่งใน 2 ทีมนี้
     1. ทีม มน. นำโดย ผศ. ดร. วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคุณภาพ   และ รศ. มาลินี  ธนารุณ  คณบดีคณะสหเวชศาสตร์  
     2. ทีม มข.  นำโดย รศ. นพ. จิตเจริญ  ไชยาคำ  ผอ. ศูนย์บริการวิชาการ  และ รศ. ดร. ประจักษ์  พัวเพิ่มพูลศิริ   คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์

วิจารณ์  พานิช
 10 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 6752เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2005 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบเรียน ท่านอาจารย์ หมอวิจารณ์ ที่เคารพ

  ขอบพระคุณครับที่ท่านอาจารย์แนะนำทีมนเรศวร และ ขอนแก่นครับ ผมเรียนท่าน อ.ดร.วิบูลย์ เมื่อตอนประชุมครบรอบ ๕ ปี สมศ เนื่องจากท่านได้รับทาบทามไปแล้ว (แต่ มข ไม่ได้รับเชิญครับ)

 ประเด็นที่ผมเรียนท่านอาจารย์ ดร.วิบูลย์ ผมเสนอว่า ทั้ง มน และ มข ( หากทาง มศว ให้ไป) น่าจะไปด้วยกันเป็นภาคี โดยที่ มน.เป็นกรณีศึกษา ที่บูรณาการ QA และ งานวิจัย ส่วนของ มข จะเป็นกรณีที่ทำทั้ง มหาวิทยาลัย และ มีประสบการณ์ที่ทำให้หน่วยงานที่หลากหลายครับ

 ส่วน WS ไม่มีปัญหาครับทาง มข ทำได้แน่นอนครับ และ เราจะบอกกับทุกที่ที่เราไปทำให้ ว่าเป็น "ศิษย์ สายตรง ของ อาจารย์ หมอ วิจารณ์ และ อ.ดร.ประพนธ์" มาตลอดครับ ซึ่งเราก็บอกว่าที่เราทำกันเป็นแนวทางที่เครือข่าย UKM ที่อาจารย์หมอวิจารณ์ และ อาจารย์หมออภิชาติ ได้ริเริ่มครับ

จิตเจริญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท